01 กันยายน 2550

นาโนโยธา (Nano Construction)


นับตั้งแต่เริ่มมีการตื่นตัวทางด้านนาโนเทคโนโลยีในปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา ศาสตร์ระดับนาโนได้เริ่มเข้าไปเกี่ยวข้องกับการวิจัยหรือความสนใจของผู้คนที่อยู่ในวงการต่างๆ ตั้งแต่ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เภสัชศาสตร์ การแพทย์ เกษตร วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเคมี ไปจนถึง สาขาของสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ แต่มีศาสตร์แขนงหนึ่งซึ่งไม่ค่อยมีใครคิดว่านาโนเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเทคโนโลยีจิ๋วจะเข้าไปเกี่ยวข้องได้ ทำให้ช่วงแรกๆ ผู้คนในสาขานี้ค่อนข้างเฉยๆ ต่อการเข้ามาของนาโนเทคโนโลยี จนระยะหลังๆ นี้เริ่มมีการตื่นตัวอย่างมาก และทำทีว่านาโนเทคโนโลยีคือคลื่นลูกใหม่ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวงการนี้ขนานใหญ่เลยทีเดียว ศาสตร์ที่ว่านั้นคือ วิศวกรรมโยธา หรือ งานด้านการก่อสร้างนั่นเอง

ในประเทศสหรัฐอเมริกามีความตื่นตัวสูงมาก ที่จะนำนาโนเทคโนโลยีไปใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เช่นเดียวกับ EU นั้นอุตสาหกรรมก่อสร้างมีขนาดใหญ่คิดเป็น 10% ของ GDP เลย โดยมีแรงงานที่เกี่ยวข้องถึง 25 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ใน SME ทำให้ EU ให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก เยอรมันเริ่มมีการให้ทุนวิจัย ในการนำนาโนเทคโนโลยีมาใช้สำหรับวิศวกรรมก่อสร้างอย่างจริงจังเมื่อปี 2549 นี้เอง นาโนเทคโนโลยีสามารถนำไปใช้พัฒนาวัสดุก่อสร้างให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง สถาปัตยกรรมที่ความสวยงามคงทนขึ้น เช่น คอนกรีตผสมอนุภาคนาโน เหล็กเนื้อเกรนนาโน ไม้ผสมนาโนคอมโพสิต กระจกเคลือบอนุภาคนาโน พลาสติกผสมนาโนเคลย์

.... นาโนโยธา เป็นศาสตร์แขนงใหม่ที่กำลังมาแรงและเป็นสิ่งที่ประเทศไทยควรจะรีบครอบครอง เมื่อคำนึงว่าเรามีอุตสาหกรรมผลิตวัสดุก่อสร้างหลายๆอย่าง เป็นของเราเอง ทั้งปูนซีเมนต์ กระจก พลาสติก และไม้ ขาดแต่เพียงเหล็กกล้าเท่านั้น แล้วพวกเรามีเหตุผลอะไรหรือ …. ที่จะทำให้ลังเล ไม่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีนี้ ???
(ภาพซ้ายมือ - วิศวกรตัวน้อยกำลังก่อสร้างรังของมัน เจ้านกแก้วเหล่านี้ รู้จักเทคโนโลยีก่อสร้างก่อนมนุษย์เสียอีก)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น