13 กันยายน 2550

อยากเป็นที่หนึ่ง ไทยต้องเร่งสร้างทีม ลดบทบาทตัวบุคคล


ปัญหาในวงการวิจัยของไทยที่คอยบอนไซประเทศมาหลายสิบปีเรื่องหนึ่งก็คือ วัฒนธรรมการทำงานแบบ "ข้ามาคนเดียว" ของนักวิจัยไทย ที่ชอบเล่นบท superman ทำงานคนเดียว ที่เหลือเป็นนักศึกษา แต่ในระยะ 2-3 ปีมานี้ ภายหลังจากมีการรายงานถึงความอ่อนแอของงานวิจัยไทยที่เกิดจากการชอบทำงานคนเดียว ซึ่งจัดทำโดย สกอ. ร่วมกับ สกว. หน่วยงานให้ทุนต่างๆ ก็เริ่มเน้นการให้ทุนแบบรวมกลุ่มมากขึ้น ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) เริ่มการจัดตั้ง Center of Excellence หรือ COE ตามมหาวิทยาลัยหลักทั่วประเทศตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยมุ่งสร้างทีมที่มีเอกลักษณ์ NECTEC - The Best of NSTDA ก็เริ่มจัดตั้ง COE บ้างแล้วในปีนี้ สกอ. มีทุนสร้าง Research Group ที่เน้นทีมมากกว่าตัวบุคคล แม้แต่ สกว. ซึ่งมีประเพณีการให้ทุนที่เน้นตัวบุคคลมาแต่ไหนแต่ไร แต่ได้ยินมาว่า ทุนทางด้านนาโนเทคโนโลยีของ สกว. จะ upgrade ขึ้นไปชูทีมเวอร์ค มากกว่าตัวบุคคล อย่างที่เคยทำ


ในโลกของงานวิจัยสมัยใหม่ เหลือที่ว่างให้ศิลปินเดี่ยวน้อยลงทุกที nanothailand ชอบคำพูดของผู้ใหญ่ท่านหนึ่งมาก ท่านเป็นอธิการบดี ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ท่านกล่าวว่า "สมัยนี้ถ้ายังทำงานวิจัยคนเดียว เป็นศิลปินเดี่ยว ก็ต้องไปยืนเล่นตามชานชาลารถไฟเท่านั้น" หากมองออกไปข้างนอก เอาใกล้ๆตัวก่อน สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม เขารวมกันเป็นทีมทั้งนั้น ยิ่งออกไปไต้หวัน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และ อเมริกา กระแสการจัดตั้ง Center of Excellence ที่ทำกันมาหลายปีก็ยังแรงอยู่ ทุนเมกะโปรเจคต์ของยุโรปที่เรียกว่า FP7 บอกเลยว่าไม่ต้อนรับข้ามาคนเดียว


(ภาพซ้ายมือ - แม้แต่ในวงการดนตรี ก็ยังต้องมากันเป็นทีม ในภาพเป็นศิลปินวงโซนยอชิแด ที่อาศัยความเป็นทีม สร้างความโด่งดังไปทั่วเอเชีย ศิลปินในเกาหลีอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Super Junior ที่มีอยู่ 10 คน KARA ที่มีอยู่ 4 คน Wonder Girls ที่มี 5 คน ล้วนแสดงให้เห็นว่า หากประเทศไทยยังเน้นบุคคลเดี่ยวๆ อยู่ ตายแน่ๆ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น