07 กันยายน 2557

เมื่อหุ่นยนต์แย่งงานมนุษย์ - The Rise of Robot



ในปี ค.ศ. 2013 เรามีการใช้งานหุ่นยนต์เพื่อทำงานแทนมนุษย์จำนวน 1.2 ล้านตำแหน่ง แต่ในปี ค.ศ. 2025 แต่ในปี ค.ศ. 2025 เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา หุ่นยนต์จะมาแทนที่มนุษย์ 50% ของงานทั้งหมด โดยจะเข้าแทนตำแหน่งงานในอุตสาหกรรมรถยนต์ 13 ล้านตำแหน่ง การผลิต 22 ล้านตำแหน่ง และ อาหาร 9 ล้านตำแหน่ง

แน่นอน เราจะได้เห็นตำแหน่งงานใหม่ๆ ของมนุษย์เพิ่มขึ้น เช่น นักออกแบบหุ่นยนต์ วิศวกรหุ่นยนต์ แผนกซ่อมบำรุงหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ งานทางด้านเซ็นเซอร์ และ ซอฟต์แวร์หุ่นยนต์

วันนี้ ... เราได้เตรียมตัว หรือ มีความพร้อมแค่ไหน กับการเปลี่ยนแปลงนี้ครับ

Credit : Pictures from
- Focus.com
http://www.futuristspeaker.com/wp-content/uploads/Robot-Jobs-1.jpg
http://www.theguardian.com/commentisfree/commentisfree+business/manufacturing-sector

02 กันยายน 2557

เครื่องชิมต้มยำกุ้ง - Electronic Nose



ต้มยำกุ้งเป็นอาหารไทยที่ต่างชาติรู้จักมากที่สุด จนเอาไปตั้งเป็นชื่อของวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อ ปี ค.ศ. 2540 ในภัตตาคารอาหารไทยทั่วโลก ต้องมีต้มยำกุ้งในเมนูทุกร้าน ซึ่งรสชาติและสีสันก็จะมีความแตกต่างกันไปตามวัตถุดิบและสูตรของแต่ละร้าน

ซึ่งไอ้เจ้าความแตกต่างของแต่ละร้านนี่หล่ะครับที่น่าเป็นห่วง ไม่เหมือนกินแม็คโดนัลด์ที่มันเหมือนกันทุกที่ ดังนั้น ต้มยำกุ้งก็น่าจะมีสูตรกลาง หรือ ตำหรับกลางที่เป็นมาตรฐาน เพราะมันสำคัญมากในเรื่องของความเป็นแบรนด์ ที่ต้องคงและรักษาเอกลักษณ์ของรสชาติแท้ๆ เอาไว้ (ซึ่งตัวผมเองก็ไม่รู้เหมือนกันว่า รสชาติแท้ๆ มันเป็นอย่างไร) โดยการทำตามสูตรของแต่ละร้าน ก็อาจเบี่ยงเบนไปจากสูตรกลางได้ แต่ไม่ควรจะไปไกลจนกู่ไม่กลับ

ด้วยความร่วมมือกับบริษัทโมบิลิส ออโตมาต้า และสถาบันนวัตกรรมแห่งชาติ ทางหน่วยวิจัยของผมจึงได้พัฒนาเครื่องตรวจกลิ่นต้มยำกุ้งขึ้นมา ซึ่งมีลักษณะเป็นจมูกอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำ และจำแนกรายละเอียดของกลิ่นได้ โดยเครื่องนี้จะช่วยในการควบคุณภาพของต้มยำกุ้งที่จะส่งออกขายไปทั่วโลก และในร้านอาหารไทยทั่วโลก ให้มีต้มยำกุ้งรสชาติที่มีมาตรฐาน และรักษาเอกลักษณ์ของไทย

เจ้าเครื่องดมกลิ่น Electronic Nose นี้จะตรวจวัดโมเลกุลกลิ่นที่ออกมาจากต้มยำกุ้ง ทำให้รู้ว่ามีกลิ่นอะไร เท่าไหร่ และช่วยบอกว่าสูตรนี้ใช้ได้หรือไม่ เพราะกลิ่นของอาหาร เป็นตัวบอกความอร่อยครับ .... ส่วนในแง่รสชาติ เปรี้ยว หวาน เค็ม นั้น ทางทีมวิจัยอีกทีมหนึ่งที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จะเป็นคนทำครับ

Credit - Picture from Center of Nanotechnology, Faculty of Science, Mahidol University