นักวิจัยไทยตกเป็นจำเลยสังคมมานานแล้ว เรื่องที่ทำงานวิจัยแล้วมักจะไปจบที่หิ้ง จริงๆก็จะไปโทษนักวิจัยอย่างเดียวไม่ได้ ยิ่งงานวิชาการในมหาวิทยาลัย เป้าหมายหลักคือการผลิตคน และสร้างองค์ความรู้ให้แข็งแกร่ง ดังนั้นผลงานในลักษณะของที่ขึ้นหิ้ง จึงเป็นดัชนีชี้วัดหลัก อีกอย่างหนึ่งก็คือ ในอดีตที่ผ่านมา กลไกที่จะเชื่อมโยงงานบนหิ้งเหล่านั้น ออกไปสู่ห้าง ไปสู่ผู้ใช้ แทบจะไม่มีเลย
แต่นั่นก็เป็นเรื่องของอดีต เพราะปัจจุบันหน่วยงานให้ทุนของไทยหลายๆ หน่วยงานได้มีโครงการ หรือ กลไก ต่อท่องานวิจัยเหล่านั้นให้ออกไปสู่ผู้ใช้ และ ภาคอุตสาหกรรม เช่น สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ สกอ. มี University Business Incubator หรือ UBI ในมหาวิทยาลัยหลักและรองทั่วประเทศกว่า 35 มหาวิทยาลัยแล้ว โดยมุ่งเป้าไปที่การสร้างและบ่มเพาะวิสาหกิจจัดตั้งใหม่ ที่เรียกว่า Start-Up Company นอกจากนั้น สกอ. ยังสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยใหญ่ 10 แห่ง จัดตั้ง Technology Licensing Office หรือ TLO เพื่อทำหน้าที่ผลักดันให้คณาจารย์จดสิทธิบัตรมากขึ้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. โดยฝ่ายวิชาการ ซึ่งเล่นงานพื้นฐานเพื่อผลิต paper มาตลอดเวลากว่า 10 ปี ตอนนี้มีของบนหิ้งมากมาย ก็เริ่มขยับตัว คัดเลือกของในหิ้งไปสู่ห้าง โดยในปี 2550 นี้ได้ร่วมกับ สสว. แห่งกระทรวงอุตสาหกรรม ทำโครงการวิจัยพื้นฐานเพื่ออุตสาหกรรม โครงการนี้จะช่วยผลักดันให้นักวิจัยพื้นฐานที่มีประวัติการทำวิจัยพื้นฐานเข้มแข็ง ได้ร่วมทำงานกับภาคอุตสาหกรรม เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ หรือ แก้ปัญหาให้แก่ภาคอุตสาหกรรม โดยใช้นวัตกรรมกับองค์ความรู้ที่สะสมมา เป็นการระบายของจากหิ้งไปสู่ห้างที่ชาญฉลาด อีกหน่วยงานที่ทำเรื่องนี้มานาน และประสบความสำเร็จสูงก็คือ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NIA ที่เน้นงานวิจัยที่เกือบจะเสร็จ และมี potential สูงให้ไปสู่อุตสาหกรรม โดย NIA จะให้ทุนไปที่อุตสาหกรรมโดยตรง
จริงๆ แล้ว ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่ต่างประเทศชอบใช้มาก แต่ยังไม่มีทำกันในบ้านเราก็คือ Technology Incubator ซึ่งในสหรัฐฯ มักจะตั้งชื่อให้เก๋ไก๋ว่า Center for Emerging Technologies โดยหน่วยงานประเภทนี้จะเน้นการสร้างบริษัทไฮเทค หรือ มีนวัตกรรมสูงขึ้นมา ซึ่งน่าจะเหมาะกับนาโนเทคโนโลยี วันหลัง nanothailand จะนำเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟังครับ
(ภาพซ้ายมือ - หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ชูธงการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการท้องถิ่น ให้เข้มแข็ง โดยอาศัยทรัพยากรของมหาวิทยาลัย)
แต่นั่นก็เป็นเรื่องของอดีต เพราะปัจจุบันหน่วยงานให้ทุนของไทยหลายๆ หน่วยงานได้มีโครงการ หรือ กลไก ต่อท่องานวิจัยเหล่านั้นให้ออกไปสู่ผู้ใช้ และ ภาคอุตสาหกรรม เช่น สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ สกอ. มี University Business Incubator หรือ UBI ในมหาวิทยาลัยหลักและรองทั่วประเทศกว่า 35 มหาวิทยาลัยแล้ว โดยมุ่งเป้าไปที่การสร้างและบ่มเพาะวิสาหกิจจัดตั้งใหม่ ที่เรียกว่า Start-Up Company นอกจากนั้น สกอ. ยังสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยใหญ่ 10 แห่ง จัดตั้ง Technology Licensing Office หรือ TLO เพื่อทำหน้าที่ผลักดันให้คณาจารย์จดสิทธิบัตรมากขึ้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. โดยฝ่ายวิชาการ ซึ่งเล่นงานพื้นฐานเพื่อผลิต paper มาตลอดเวลากว่า 10 ปี ตอนนี้มีของบนหิ้งมากมาย ก็เริ่มขยับตัว คัดเลือกของในหิ้งไปสู่ห้าง โดยในปี 2550 นี้ได้ร่วมกับ สสว. แห่งกระทรวงอุตสาหกรรม ทำโครงการวิจัยพื้นฐานเพื่ออุตสาหกรรม โครงการนี้จะช่วยผลักดันให้นักวิจัยพื้นฐานที่มีประวัติการทำวิจัยพื้นฐานเข้มแข็ง ได้ร่วมทำงานกับภาคอุตสาหกรรม เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ หรือ แก้ปัญหาให้แก่ภาคอุตสาหกรรม โดยใช้นวัตกรรมกับองค์ความรู้ที่สะสมมา เป็นการระบายของจากหิ้งไปสู่ห้างที่ชาญฉลาด อีกหน่วยงานที่ทำเรื่องนี้มานาน และประสบความสำเร็จสูงก็คือ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NIA ที่เน้นงานวิจัยที่เกือบจะเสร็จ และมี potential สูงให้ไปสู่อุตสาหกรรม โดย NIA จะให้ทุนไปที่อุตสาหกรรมโดยตรง
จริงๆ แล้ว ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่ต่างประเทศชอบใช้มาก แต่ยังไม่มีทำกันในบ้านเราก็คือ Technology Incubator ซึ่งในสหรัฐฯ มักจะตั้งชื่อให้เก๋ไก๋ว่า Center for Emerging Technologies โดยหน่วยงานประเภทนี้จะเน้นการสร้างบริษัทไฮเทค หรือ มีนวัตกรรมสูงขึ้นมา ซึ่งน่าจะเหมาะกับนาโนเทคโนโลยี วันหลัง nanothailand จะนำเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟังครับ
(ภาพซ้ายมือ - หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ชูธงการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการท้องถิ่น ให้เข้มแข็ง โดยอาศัยทรัพยากรของมหาวิทยาลัย)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น