งานประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33 ที่จะจัดขึ้นที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ระหว่างวันที่ 18-20 ตุลาคม 2550 นี้ได้ชูประเด็นเกี่ยวกับ Climate Change ให้เป็นเรื่องใหญ่ มีการนำนักวิชาการทั้งทางด้านธรณีวิทยา อุตุนิยมวิทยา นักสิ่งแวดล้อม นักสมุทรศาสตร์ มาร่วมเสวนา เพื่อยกประเด็นโลกร้อนให้เป็นเรื่องที่ประเทศไทยควรใส่ใจมากขึ้น น่าเสียดายที่หัวข้อของการอภิปรายนั้น ค่อนข้างเน้นไปที่เรื่องของการแสดงหลักฐานของภาวะโลกร้อน ซึ่งจริงๆ ก็เป็นที่ประจักษ์ชัด และ สังคมทั้งในระดับวิชาการ และ ภาคประชาชน ให้การยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ประเด็นที่น่าเพิ่มเติมเข้ามาในรายการก็คือ เราจะแก้ไขภาวะโลกร้อนนี้อย่างไร หรือ จะปรับตัวอยู่กับมันอย่างไร ซึ่งเป็นประเด็นเชิงรุก ที่นักวิทยาศาสตร์ นักเทคโนโลยี หลากหลายสาขา รวมไปถึง ภาคธุรกิจ สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในปัญหานี้ ดังที่ Al Gore กล่าวไว้ว่า ภาวะโลกร้อนเป็นบททดสอบจริยธรรมของมนุษยชาติ
ในระยะหลังๆ นี้มีการพูดถึงความหวังในการนำนาโนเทคโนโลยี มาช่วยเรื่อง Climate Change กันมาก ในที่ประชุม สัมมนาในต่างประเทศ รวมไปถึงสื่อมวลชน กระทรวงสิ่งแวดล้อมของสหราชอาณาจักร ได้จัดทำรายงานที่มีชื่อว่า Environmentally beneficial nanotechnologies: barriers and opportunities ซึ่งพูดถึงเทคโนโลยี Fuel Cell, Solar Cell, Batteries ที่จะช่วยบรรเทาการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ นั่นเป็นเรื่องของการพยายามแก้ไข และ ลดภาวะโลกร้อน อีกเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นการปรับตัวให้อยู่กับโลกที่ร้อนนั้น รายงานนี้ไม่ได้พูดถึง ภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ฟ้าฝน ดินน้ำ ย่อมได้รับผลกระทบ การเกษตรที่เคยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป เรื่องของเซ็นเซอร์ และ เครือข่ายการรับรู้ต่างๆ จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น เซ็นเซอร์จะมีความจำเป็นทั้งในไร่ นา เพื่อคำนวณการให้ปุ๋ยและน้ำที่สอดคล้องกับอากาศที่เปลี่ยนแปลง เซ็นเซอร์ในเมือง ในอาคารสำนักงาน ควบคุมการใช้พลังงาน คุณภาพอากาศ เซ็นเซอร์บนถนนและทางหลวง ช่วยให้การใช้ทางหลวงมีประสิทธิภาพ เครือข่ายอัจฉริยะเหล่านี้จะเริ่มแสดงบทบาทของมัน อีกไม่กี่ปีจากนี้
(ภาพขวามือ - ภูเขาน้ำแข็งที่เราเห็นลูกใหญ่ๆ นั้น มีส่วนฐานขนาดมหึมาที่ใหญ่กว่าเกือบสิบเท่า ซ่อนอยู่ใต้น้ำ หากธารน้ำแข็งที่เดิมอยู่บนพื้นดิน ไหลลงไปลอยเท้งเต้งในทะเล มันสามารถเพิ่มระดับความสูงของน้ำทะเลได้มากกว่า น้ำที่เกิดจากการละลายของมันเสียอีก)
ในระยะหลังๆ นี้มีการพูดถึงความหวังในการนำนาโนเทคโนโลยี มาช่วยเรื่อง Climate Change กันมาก ในที่ประชุม สัมมนาในต่างประเทศ รวมไปถึงสื่อมวลชน กระทรวงสิ่งแวดล้อมของสหราชอาณาจักร ได้จัดทำรายงานที่มีชื่อว่า Environmentally beneficial nanotechnologies: barriers and opportunities ซึ่งพูดถึงเทคโนโลยี Fuel Cell, Solar Cell, Batteries ที่จะช่วยบรรเทาการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ นั่นเป็นเรื่องของการพยายามแก้ไข และ ลดภาวะโลกร้อน อีกเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นการปรับตัวให้อยู่กับโลกที่ร้อนนั้น รายงานนี้ไม่ได้พูดถึง ภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ฟ้าฝน ดินน้ำ ย่อมได้รับผลกระทบ การเกษตรที่เคยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป เรื่องของเซ็นเซอร์ และ เครือข่ายการรับรู้ต่างๆ จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น เซ็นเซอร์จะมีความจำเป็นทั้งในไร่ นา เพื่อคำนวณการให้ปุ๋ยและน้ำที่สอดคล้องกับอากาศที่เปลี่ยนแปลง เซ็นเซอร์ในเมือง ในอาคารสำนักงาน ควบคุมการใช้พลังงาน คุณภาพอากาศ เซ็นเซอร์บนถนนและทางหลวง ช่วยให้การใช้ทางหลวงมีประสิทธิภาพ เครือข่ายอัจฉริยะเหล่านี้จะเริ่มแสดงบทบาทของมัน อีกไม่กี่ปีจากนี้
(ภาพขวามือ - ภูเขาน้ำแข็งที่เราเห็นลูกใหญ่ๆ นั้น มีส่วนฐานขนาดมหึมาที่ใหญ่กว่าเกือบสิบเท่า ซ่อนอยู่ใต้น้ำ หากธารน้ำแข็งที่เดิมอยู่บนพื้นดิน ไหลลงไปลอยเท้งเต้งในทะเล มันสามารถเพิ่มระดับความสูงของน้ำทะเลได้มากกว่า น้ำที่เกิดจากการละลายของมันเสียอีก)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น