หายไปหลายวันเลยครับ ผมเพิ่งเดินทางกลับมาจากจังหวัดเชียงใหม่เมื้อเช้านี้เองครับ ทริปนี้เดินทางไปลำปาง ต่อไปที่เชียงของ แล้วไปทำการทดลอง E-nose ในฟาร์มหมูที่เวียงป่าเป้า จากนั้นมาเก็บอุปกรณ์วิจัยกลับจากไร่ชาที่ จ.เชียงราย หลังจากนั้นก็ไปเป็นวิทยากรบรรยายในงาน The Wine Workshop ที่เชียงใหม่ครับ ผมไปทางภาคเหนือเที่ยวนี้ เห็นต้นข้าวกำลังอิ่มน้ำเขียวขจี เห็นแล้วก็อดเขียนถึงเรื่องเกษตรไม่ได้ นั่งรถจากเชียงของเลาะริมโขงมาทางเชียงแสน เหลือบไปเห็นโฆษณาริมทางเกี่ยวกับปุ๋ย อวดอ้างสรรพคุณอย่างนั้นอย่างนี้ ผมเคยได้ยินมาว่า ที่เกษตรกรไทยไม่รวยสักทีก็มาจากเรื่อง 2 เรื่องครับ ก็คือ ปุ๋ย กับ เหล้า ไม่รู้จริงหรือเปล่า แต่พอเห็นร้านปุ๋ยขายกันตลอดข้างทาง ก็อดคิดไม่ได้ครับ
ผู้เชี่ยวชาญเขาเชื่อว่า 1 ใน 8 อนาคตเกษตรกรรมก็คือการไม่ใช้ปุ๋ยครับ แต่จะใช้จุลชีพที่สามารถสร้างเสริมความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินแทนปุ๋ย ศาสตราจารย์เรดดี้ (Professor C.A. Reddy) สังกัดมหาวิทยาลัยแห่งรัฐมิชิแกน (Michigan State University) ได้ทำการศึกษาวิจัยแบคทีเรีย ฟังไจ และจุลชีพอื่นๆในดิน จนได้สูตรปุ๋ยที่สามารถนำไปบำรุงดินแทนปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆ ได้ ท่านกล่าวว่า "สูตรจุลชีพมีข้อดีมากมายครับ มันช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตปุ๋ย จุลชีพเหล่านี้จะทำให้พืชสามารถใช้ไนโตรเจนจากธรรมชาติเพื่อการเจริญเติบโตได้ นอกจากนี้แล้ว พวกมันยังช่วยให้พืชต้านทานต่อโรค แถมยังช่วยในการถ่ายเทแร่ธาตุสำคัญอช่น ฟอสฟอรัส ให้ง่ายขึ้น และที่สำคัญ สูตรจุลชีพมีประสิทธิภาพสูงมากรวมทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม"
ศาสตราจารย์เรดดี้ได้ทำการทดสอบสูตรปุ๋ยจุลชีพกับพืชหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น พริกไทย ข้าวโพด มะเขือเทศ ถั่วเหลือง หรือแม้แต่หญ้าสำหรับผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ในกรณีของมะเขือเทศนั้น สูตรปุ๋ยจุลชีพช่วยเพิ่มผลผลิตได้ 25-90% ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าประทับใจ ส่วนการทดลองนำไปใช้จริงของเกษตรกรที่ปลูกฝ้าย พบว่าสูตรปุ๋ยจุลชีพเพิ่มผลผลิตได้ 50% ทำให้ประธานบริษัทที่นำผลงานวิจัยชิ้นนี้ไปใช้เชิงพาณิชย์กล่าวยกย่องผลงานวิจัยชิ้นนี้ว่าเยี่ยมยอดจริงๆ
วันหลังมาคุยกันต่อนะครับ ........
ผู้เชี่ยวชาญเขาเชื่อว่า 1 ใน 8 อนาคตเกษตรกรรมก็คือการไม่ใช้ปุ๋ยครับ แต่จะใช้จุลชีพที่สามารถสร้างเสริมความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินแทนปุ๋ย ศาสตราจารย์เรดดี้ (Professor C.A. Reddy) สังกัดมหาวิทยาลัยแห่งรัฐมิชิแกน (Michigan State University) ได้ทำการศึกษาวิจัยแบคทีเรีย ฟังไจ และจุลชีพอื่นๆในดิน จนได้สูตรปุ๋ยที่สามารถนำไปบำรุงดินแทนปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆ ได้ ท่านกล่าวว่า "สูตรจุลชีพมีข้อดีมากมายครับ มันช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตปุ๋ย จุลชีพเหล่านี้จะทำให้พืชสามารถใช้ไนโตรเจนจากธรรมชาติเพื่อการเจริญเติบโตได้ นอกจากนี้แล้ว พวกมันยังช่วยให้พืชต้านทานต่อโรค แถมยังช่วยในการถ่ายเทแร่ธาตุสำคัญอช่น ฟอสฟอรัส ให้ง่ายขึ้น และที่สำคัญ สูตรจุลชีพมีประสิทธิภาพสูงมากรวมทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม"
ศาสตราจารย์เรดดี้ได้ทำการทดสอบสูตรปุ๋ยจุลชีพกับพืชหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น พริกไทย ข้าวโพด มะเขือเทศ ถั่วเหลือง หรือแม้แต่หญ้าสำหรับผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ในกรณีของมะเขือเทศนั้น สูตรปุ๋ยจุลชีพช่วยเพิ่มผลผลิตได้ 25-90% ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าประทับใจ ส่วนการทดลองนำไปใช้จริงของเกษตรกรที่ปลูกฝ้าย พบว่าสูตรปุ๋ยจุลชีพเพิ่มผลผลิตได้ 50% ทำให้ประธานบริษัทที่นำผลงานวิจัยชิ้นนี้ไปใช้เชิงพาณิชย์กล่าวยกย่องผลงานวิจัยชิ้นนี้ว่าเยี่ยมยอดจริงๆ
วันหลังมาคุยกันต่อนะครับ ........