การวิจัยทางนาโนศาสตร์ (Nanoscience) สามารถแบ่งออกเป็น สาขาการสังเคราะห์และเตรียมนาโนวัสดุ การประกอบอุปกรณ์ การบูรณาการระบบ และการโมเดลและออกแบบโครงสร้างนาโน ส่วนด้านนาโนเทคโนโลยี แบ่งเป็นสาขานาโนอิเล็กทรอนิกส์ นาโนวัสดุ และ นาโนชีววิทยา เมื่อเทียบสถานภาพกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม จีน มาเลเซีย และ สิงคโปร์ โดยประเมินจากการประชุมวิชาการที่เป็นงานใหญ่ประจำปีของแต่ละประเทศ พบว่าในเรื่องของการสังเคราะห์และเตรียมนาโนวัสดุนั้น ประเทศไทยไม่ได้ด้อยไปกว่าประเทศใดในย่านนี้ โดยเฉพาะวัสดุจำพวกเซรามิกส์และพอลิเมอร์ สำหรับเวียดนามนั้นค่อนข้างเก่งในเรื่องของวัสดุนาโนจำพวกเซรามิกส์ ที่ใช้ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และแม่เหล็ก ในเรื่องของการประกอบอุปกรณ์นั้น แม้ประเทศไทยจะตามหลังประเทศทางตะวันตกทั้งหลาย รวมทั้งประเทศเอเชียที่มีความก้าวหน้า อย่าง เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน แต่เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านก็ถือว่าเราไม่แพ้ใคร สำหรับเรื่อง MEMS (Micro-electromechanical system) ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของนาโนอิเล็กทรอนิกส์นั้น ประเทศไทยกับมาเลเซียถือว่าเป็นคู่แข่งกัน โดยเวียดนามยังห่างชั้นกับไทยอยู่ สาขาที่ประเทศไทยยังมีความอ่อนแออยู่ค่อนข้างชัดคือ สาขานาโนชีววิทยา ซึ่งยังมีการทำวิจัยค่อนข้างน้อย ทำให้ประเทศไทยตามหลังสิงคโปร์อยู่ห่างๆ
อนาคตของอุตสาหกรรมไทย ขึ้นกับความสามารถในการแข่งขันด้านนาโนเทคโนโลยีของประเทศ โดยปัจจัยหลักมาจากงานวิจัยพื้นฐานที่ต้องมีกลไกที่แข็งแรงมาเชื่อมโยงเพื่อนำไปสู่ปลายทางให้ได้ โดยหากเราไม่คิดเริ่มจะทำอะไรในวันนี้ เราจะแพ้ประเทศที่พัฒนาเรื่องนี้หลังเราในไม่ช้านี้ จริงๆ แล้วประเทศไทยมีกลไกในการเชื่อมโยงงานวิจัยพื้นฐานและประยุกต์ให้ไปสู่การใช้ประโยชน์ในระดับดีทีเดียว เช่น โครงการวิจัยและพัฒนาร่วมรัฐและเอกชน โครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (University Business Incubator - UBI) โครงการหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญา (Technology Licensing Office – TLO) โครงการสร้างผู้ประกอบการใหม่ เป็นต้น โดยโครงการเหล่านั้นเน้นการสนับสนุนงานวิจัยที่มีความพร้อมสู่การประยุกต์ใช้ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการจดสิทธิบัตร การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ผู้ใช้ หรือ แม้กระทั่งการตั้งบริษัท Start-Up ขึ้นมาเองเพื่อดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยี สิ่งที่ประเทศไทยต้องทำก็คือพยายามต่อท่อโครงการวิจัยพื้นฐานที่มีศักยภาพ ให้ไปสู่โครงการเหล่านั้นให้ได้ มิฉะนั้น เมื่อหน่วยงานให้ทุนที่เน้นปลายทางเหล่านี้เดินต่อไปได้สักระยะหนึ่งก็จะขาดน้ำเลี้ยง เพราะได้ทำการ shopping โครงการวิจัยดีๆไปหมดแล้ว นี่คือสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้ เราจะได้เห็นหน่วยงานต่างๆ แย่งกันสนับสนุนโครงการที่มีศักยภาพปลายทางเพื่อเก็บผล แต่งานรดน้ำ พรวนดิน ให้ปุ๋ย จะมีคนทำน้อยลง
(ภาพด้านบน - ตุ๊กตาแต่งกายชุดประจำชาติของเวียดนาม ประเทศเพื่อนบ้านที่กำลังผงาดมาแข่งไทยทุกๆ ด้าน)
อนาคตของอุตสาหกรรมไทย ขึ้นกับความสามารถในการแข่งขันด้านนาโนเทคโนโลยีของประเทศ โดยปัจจัยหลักมาจากงานวิจัยพื้นฐานที่ต้องมีกลไกที่แข็งแรงมาเชื่อมโยงเพื่อนำไปสู่ปลายทางให้ได้ โดยหากเราไม่คิดเริ่มจะทำอะไรในวันนี้ เราจะแพ้ประเทศที่พัฒนาเรื่องนี้หลังเราในไม่ช้านี้ จริงๆ แล้วประเทศไทยมีกลไกในการเชื่อมโยงงานวิจัยพื้นฐานและประยุกต์ให้ไปสู่การใช้ประโยชน์ในระดับดีทีเดียว เช่น โครงการวิจัยและพัฒนาร่วมรัฐและเอกชน โครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (University Business Incubator - UBI) โครงการหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญา (Technology Licensing Office – TLO) โครงการสร้างผู้ประกอบการใหม่ เป็นต้น โดยโครงการเหล่านั้นเน้นการสนับสนุนงานวิจัยที่มีความพร้อมสู่การประยุกต์ใช้ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการจดสิทธิบัตร การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ผู้ใช้ หรือ แม้กระทั่งการตั้งบริษัท Start-Up ขึ้นมาเองเพื่อดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยี สิ่งที่ประเทศไทยต้องทำก็คือพยายามต่อท่อโครงการวิจัยพื้นฐานที่มีศักยภาพ ให้ไปสู่โครงการเหล่านั้นให้ได้ มิฉะนั้น เมื่อหน่วยงานให้ทุนที่เน้นปลายทางเหล่านี้เดินต่อไปได้สักระยะหนึ่งก็จะขาดน้ำเลี้ยง เพราะได้ทำการ shopping โครงการวิจัยดีๆไปหมดแล้ว นี่คือสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้ เราจะได้เห็นหน่วยงานต่างๆ แย่งกันสนับสนุนโครงการที่มีศักยภาพปลายทางเพื่อเก็บผล แต่งานรดน้ำ พรวนดิน ให้ปุ๋ย จะมีคนทำน้อยลง
(ภาพด้านบน - ตุ๊กตาแต่งกายชุดประจำชาติของเวียดนาม ประเทศเพื่อนบ้านที่กำลังผงาดมาแข่งไทยทุกๆ ด้าน)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น