ศาสตร์แห่งการใส่ความคิดจิตใจเข้าไปในจักรกล ยิ่งนับวันยิ่งมาแรงขึ้นเรื่อยๆ ครับ ก่อนหน้านี้ผมเคยพูดถึงการนำเอาเซลล์สมองมาปลูกบนชิพ เพื่อนำไปใช้ควบคุมหุ่นยนต์ หรือ การนำเอาส่วนของหุ่นยนต์มาใส่แทนอวัยวะของคน เพื่อทำให้คนนั้นมีอวัยวะกลมาทำงานทดแทนอวัยวะที่หายไป ยุคนี้จึงเป็นยุค Hybrid ซึ่งเป็นทั้ง Hybrid Organic-Inorganic และ Hybrid Life-Machine ครับ
ในเมื่อเราสามารถผสมผสานชีวิตกับจักรกลในระดับวัสดุได้แล้ว ต่อไปก็คงจะเป็นเรื่องของการผสมผสานระบบของใจ กับกาย ด้วยการสร้างใจให้กับจักรกล นักวิทยาศาสตร์ทราบดีว่าเรื่องของจิตใจเป็นเรื่องซับซ้อนมาก และวิทยาศาสตร์เพิ่งเริ่มเข้าไปสัมผัสดินแดนที่เป็นความรู้ใหม่นี้เอง ขั้นตอนแรกของการทำให้หุ่นยนต์มีใจก็คงจะเป็นการสร้างอารมณ์ให้กับหุ่นยนต์ครับ กลุ่มวิจัยแรกๆที่ทำการพัฒนาหุ่นยนต์เจ้าอารมณ์ก็คือ MIT ครับ โครงการนี้มีชื่อว่า Kismet ซึ่งแต่เดิมนั้นมีความต้องการพัฒนาหุ่นยนต์ที่ทำงานได้เองโดยไม่ต้องใช้มนุษย์ควบคุม (Autonomous Robot) แนวคิดใหม่ที่ใส่เข้าไปในหุ่นยนต์ก็คือ การทำให้หุ่นยนต์สามารถแสดงออก หรือแลกเปลี่ยนภาวะทางอารมณ์กับมนุษย์ได้ โดยทาง MIT ได้พัฒนาการแสดงออกทางใบหน้า ท่าทาง ลักษณะการมอง รวมไปถึงการใช้เสียง โดยหุ่นยนต์ของ MIT นี้สามารถเรียนรู้และพัฒนาอารมณ์โดยการสอนจากมนุษย์ได้ เจ้าหุ่นต์ Kismet นี้จะทำตัวเหมือนเด็กที่กระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ภาษาหน้าตา ท่าทาง ของพี่เลี้ยง เหมือนกับเด็กทารกที่เรียนรู้จากพ่อแม่ พี่เลี้ยงจะสอนเจ้า Kismet ด้วยการดูการแสดงออกของมัน โดยบทเรียนที่จะสอนก็จะสอดคล้องกลมกลืนไปตามระดับการเรียนรู้ของมันด้วย Kismet จึงมีพัฒนาการไปตามการสอนของคน ซึ่งทำให้มันกลายเป็นหุ่นยนต์เจ้าของอารมณ์ได้ ......
ในเมื่อเราสามารถผสมผสานชีวิตกับจักรกลในระดับวัสดุได้แล้ว ต่อไปก็คงจะเป็นเรื่องของการผสมผสานระบบของใจ กับกาย ด้วยการสร้างใจให้กับจักรกล นักวิทยาศาสตร์ทราบดีว่าเรื่องของจิตใจเป็นเรื่องซับซ้อนมาก และวิทยาศาสตร์เพิ่งเริ่มเข้าไปสัมผัสดินแดนที่เป็นความรู้ใหม่นี้เอง ขั้นตอนแรกของการทำให้หุ่นยนต์มีใจก็คงจะเป็นการสร้างอารมณ์ให้กับหุ่นยนต์ครับ กลุ่มวิจัยแรกๆที่ทำการพัฒนาหุ่นยนต์เจ้าอารมณ์ก็คือ MIT ครับ โครงการนี้มีชื่อว่า Kismet ซึ่งแต่เดิมนั้นมีความต้องการพัฒนาหุ่นยนต์ที่ทำงานได้เองโดยไม่ต้องใช้มนุษย์ควบคุม (Autonomous Robot) แนวคิดใหม่ที่ใส่เข้าไปในหุ่นยนต์ก็คือ การทำให้หุ่นยนต์สามารถแสดงออก หรือแลกเปลี่ยนภาวะทางอารมณ์กับมนุษย์ได้ โดยทาง MIT ได้พัฒนาการแสดงออกทางใบหน้า ท่าทาง ลักษณะการมอง รวมไปถึงการใช้เสียง โดยหุ่นยนต์ของ MIT นี้สามารถเรียนรู้และพัฒนาอารมณ์โดยการสอนจากมนุษย์ได้ เจ้าหุ่นต์ Kismet นี้จะทำตัวเหมือนเด็กที่กระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ภาษาหน้าตา ท่าทาง ของพี่เลี้ยง เหมือนกับเด็กทารกที่เรียนรู้จากพ่อแม่ พี่เลี้ยงจะสอนเจ้า Kismet ด้วยการดูการแสดงออกของมัน โดยบทเรียนที่จะสอนก็จะสอดคล้องกลมกลืนไปตามระดับการเรียนรู้ของมันด้วย Kismet จึงมีพัฒนาการไปตามการสอนของคน ซึ่งทำให้มันกลายเป็นหุ่นยนต์เจ้าของอารมณ์ได้ ......