วิเคราะห์สถานภาพทางด้านนาโนศาสตร์ และ นาโนเทคโนโลยี ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับ ประเทศคู่แข่ง เพื่อช่วยผลักดันให้ประเทศไทย เป็น Nano Valley of ASEAN
08 เมษายน 2553
Robot Evolution - หุ่นยนต์วิวัฒน์ (ตอนที่ 6)
ในทางพุทธศาสนา เรามีความเชื่อว่ามนุษย์มีระดับสติ หรือความระลึกรู้ที่สูงกว่าสัตว์อื่นๆ มาก แม้แต่มนุษย์ด้วยกันก็มีระดับของสติต่างกัน พระอริยะบุคคลมีพลังของสติไวกว่ามนุษย์ปุถุชนทั่วไปมาก ท่านจึงรู้ตัวและสามารถระงับอารมณ์ หรือความอยากได้ทันท่วงที ซึ่งทำให้ท่านเหล่านั้นรู้เท่าทันภาวะความเป็นไป ของสิ่งที่มากระทบผัสสะต่างๆของท่าน
แต่มีนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งที่เชื่อว่า สติหรือความระลึกรู้ เป็นเพียงซอฟต์แวร์ที่รันอยู่ในสมอง สามารถโมเดลด้วยคณิตศาสตร์ได้ อีกทั้งยังสร้างเพื่อนำไปใส่ในจักรกลได้ ศาสตร์นี้เราเรียกว่า สติประดิษฐ์ (Artificial Conciousness หรือ Machine Conciousness) ซึ่งเป็นหัวข้อที่กำลังมาแรงมากครับ ถึงขนาดที่มีวารสารวิจัยของประชาคมเขาเลย วารสารนี้มีชื่อว่า International Journal of Machine Conciousness ซึ่งเป็นวารสารสำหรับรายงานผลงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีพื้นฐาน ที่อธิบายการทำงานของสติประดิษฐ์ การออกแบบและพัฒนาจักรกลที่เลียนแบบการทำงานของมนุษย์ ความรู้ความเข้าใจในเรื่องสติและความระลึกรู้ เป็นต้น
ก่อนหน้านี้ได้เคยมีการออกแบบหุ่นยนต์ ที่มีความสามารถในการซ่อมแซม หรือรักษาตัวเอง หากมีความเสียหายเกิดขึ้น หุ่นยนต์ตัวนี้จะมีการทบทวนตนเองอยู่ตลอดเวลา (ซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งของสติ) ว่าตัวมันเองนั้นมีความสมบูรณ์ในการทำงานหรือไม่ มันจะคอยตรวจสอบตัวมันเอง หากมีอวัยวะส่วนใดบกพร่อง มันจะหาทางใช้งานส่วนที่เหลือ เพื่อให้มันยังปฏิบัติภารกิจได้ การรู้จักพิจารณาตนเองนี้ เป็นสมบัติของมนุษย์ ซึ่งการที่เราสามารถพัฒนาสมบัตินี้ให้หุ่นยนต์ ก็เท่ากับว่าเราสามารถทำให้หุ่นยนต์มีลักษณะใกล้เคียงกับมนุษย์มากขึ้น
นักวิทยาศาสตร์ ได้ระบุอย่างคร่าวๆ ว่า ถ้าหากจะสร้างสติประดิษฐ์ขึ้นมา ก็ควรจะมีองค์ประกอบเหล่านี้ คือ (1) Awareness การรับรู้ข้อมูลที่เข้ามาทางผัสสะ ในทางพุทธศาสนาเราเรียกว่า "รูป" (2) Learning เมื่อมีการรับรู้เข้ามาแล้ว เกิดการเรียนรู้ว่าข้อมูลนั้นคืออะไร หรือที่เรารู้จักกันในทางพุทธศาสนาในชื่อว่า "เวทนา" แปลกไหมครับว่าความรู้พวกนี้ พุทธศาสนารู้มานานแล้ว (3) Anticipation เป็นความคาดหมายว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป โดยอาศัยความจำที่มีมาแต่ก่อน ในพุทธศาสนาเราเรียกว่า "สัญญา" (4) Subjective Experience ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่เหมือนมีตัวตน ระลึกถึงความมีอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องยากสำหรับฝรั่งชาติตะวันตกที่จะเข้าใจ แต่ในศาสนาพุทธเราอาจเรียกว่านี่คือ "สังขาร หรือ วิญญาณ" ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของขันธุ์ 5
เข้าใจยากใช่มั้ยครับ วันหลังมาคุยเรื่องนี้ต่อครับ .....
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
สวัสดีครับ
ตอบลบBlog นี้ดีมาก ๆ เลย
ผมติดตามอ่านมานานแล้ว
ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้ดีๆ
ขอบคุณมากครับ สำหรับกำลังใจครับ
ตอบลบ