07 มกราคม 2553

The Science of Ageing - ชราศาสตร์: ศาสตร์แห่งการแก่ (ตอนที่ 4)


วันนี้ผมได้รับโทรศัพท์จากอาจารย์ท่านหนึ่งว่า ทางคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีแผนจะเชิญศาสตราจารย์ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี ค.ศ. 2004 ซึ่งก็คือ Aaron Ciechanover จากผลงานในการค้นพบกลไกการเสื่อมสลายของโมเลกุลโปรตีน ในร่างกายสิ่งมีชีวิต มาปฏิบัติงานที่คณะวิทยาศาสตร์ มหิดล เป็นเวลา 2-3 เดือน โดยระหว่างที่ท่านอยู่ที่เมืองไทย ท่านจะปฏิบัติภารกิจมากมาย เช่น การบรรยาย การเป็นพี่เลี้ยงให้แก่นักวิจัยทั้งรุ่นเล็ก และรุ่นใหญ่ รวมทั้งกิจกรรมทางสังคม เช่น ถ้าใครอยากขอถ่ายรูปกับท่าน ก็จะเป็นโอกาสที่ดี เพราะท่านก็คงจะต้องใช้ชีวิตเหมือนพวกเราที่มหิดล ก็คือ ทานข้าวแกงในโรงอาหาร

ผมค่อนข้างดีใจที่ได้ทราบข่าวเรื่องนี้ จริงๆ ก่อนหน้านี้คณะวิทยาศาสตร์ ก็เคยมีผู้ได้รางวัลโนเบลมาปฏิบัติงานอยู่ที่คณะฯ แต่ผมก็ไม่ค่อยจะปลื้มใจนักหรอกครับ ก็เพราะสิ่งที่ท่านทำ และได้รางวัลมันนานเป็น 40 ปีมาแล้ว ซึ่งเราก็ไม่ตื้นเต้นในเรื่องนั้นอีกแล้ว แต่ผลงานของท่าน Aaron Ciechanover นั้นเพิ่งได้รางวัลเมื่อไม่นานนี้เอง และสิ่งที่ท่านค้นพบ ก็เป็นจิ๊กซอร์สำคัญตัวหนึ่งที่จะนำไปสู่ความเข้าใจในเรื่องของ "ชราศาสตร์" ได้ครับ ซึ่งรางวัลโนเบลในปี 2009 ที่ผ่านมาทางด้านการแพทย์ ก็ได้มอบให้แก่นักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบกลไกของการชราภาพ เช่นกัน


ช่วงหลังๆ เราเริ่มจะเห็นแนวคิดเกี่ยวกับการยืดอายุขัยของมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ วันหลังผมจะนำความก้าวหน้าทางด้านนี้มาเล่าให้ฟังต่อนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น