
วันนี้เป็นวันอาฑิตย์ วันสบายสบาย ผมขอนำเรื่องสบายๆ เบาๆ มาเล่าให้ฟังนะครับ เป็นเรื่องเกี่ยวกับคนสวยที่สามารถจะอธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์

วิเคราะห์สถานภาพทางด้านนาโนศาสตร์ และ นาโนเทคโนโลยี ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับ ประเทศคู่แข่ง เพื่อช่วยผลักดันให้ประเทศไทย เป็น Nano Valley of ASEAN
สวัสดีครับ หายไปหลายวันเลยครับ ผมไปประชุมที่อุบลราชธานี 4 วันครับ ถึงแม้จะต่ออินเตอร์เน็ตได้ แต่ไม่ได้เป็นอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ก็เลยไม่ค่อยอยากเล่นเท่าไหร่ วันนี้ผมมาพักที่สุรสัมนาคาร ในมหาวิทยาลัยสุรนารี อินเตอร์เน็ตค่อนข้างเร็ว เหมือนที่กรุงเทพฯ ก็เลยอัพบล็อกหน่อยครับ พอดีมีเรื่องน่าสนใจมารายงานครับ
ก่อนหน้านี้ ผมเคยรายงานเรื่องของ Bionics ซึ่งเป็นแนวคิดในการสร้างอวัยวะกล เพื่อเสริมสมรรถนะและขีดความสามารถทางร่างกาย ของผู้บกพร่องทางกายภาพให้สามารถดำรงชีวิตเช่นคนปรกติ หรือส่งเสริมให้ผู้มีกายภาพปกติมีความสามารถเหนือมนุษย์ทั่วไป เทคโนโลยีหนึ่งที่สามารถทำเช่นนั้นได้ก็คือ Exoskeleton หรือโครงกระดูกนอกร่างกาย ที่เมื่อเราสวมใส่เข้าไปแล้ว จะสามารถยกของหนักๆ เดิน หรือ วิ่งแบกน้ำหนักของเหล่านั้นไปไกลๆ โดยไม่เหน็ดเหนื่อย เมื่อเราสวมใส่ Exoskeleton เข้าไป มันจะพยายาม sync (synchronize) กับร่างกายของเรา เช่น หากเราก้าวขาจะเดิน มันก็จะช่วยเราออกตัวก้าวไปเอง เมื่อเราจะหยุด มันก็จะหยุดด้วย ถ้าสวมที่แขน เวลาเราออกแรงยกของ มันจะช่วยออกแรงพยุงให้ ทำให้น้ำหนักที่เรารู้สึกยกจะเบากว่าน้ำหนักจริง เช่น หากเรายกของที่หนัก 100 กิโลกรัม ก็จะเหมือนยกของที่หนักสัก 20 กิโล เป็นต้น
ล่าสุดบริษัทล็อคฮีด (Lockheed) ซึ่งรู้จักกันดีในฐานะบริษัทอาวุธที่ใหญ่มากของสหรัฐอเมริกา ได้ผลิตเจ้า Exoskeleton ที่ใช้ชื่อทางการค้าว่า Human Universal Load Carrier หรือ HULC ออกมาขายให้กองทัพแล้วครับ ทั้งนี้บริษัทล็อคฮีดได้ซื้อสิทธิ์ในเทคโนโลยีตัวนี้มาจาก มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบอร์คลีย์ (UC Berkeley) แล้วนำมาพัฒนาต่อเพื่อขายในเชิงพาณิชย์ เจ้าหุ่น HULC นี้อาศัยพลังงานจากเซลล์เชื้อเพลิง ทหารสามารถใช้มันเดินทั้งวันได้ 3 วันติดต่อกัน จึงจะเติมพลังงานหนึ่งครั้ง ซึ่งก็คือเมธานอล
ชุด HULC นี้จะทำให้ทหารสหรัฐฯ กลายเป็นยอดทหารขึ้นมาทันที เพราะมันจะทำให้ทหารที่สวมใส่ชุดนี้ สามารถแบกรับน้ำหนักสัมภาระได้มากถึง 100 กิโลกรัม นักวิเคราะห์มองว่าการมีชุดนี้อย่างน้อย 1 ชุดในหน่วยทหารราบขนาดเล็ก จะช่วยเพิ่มสมรรถนะในการรบของหน่วยได้อย่างมาก เราอาจจะติดปืนกลหนักซึ่งปกติจะต้องอาศัยทหาร 2 คนช่วยกันขนย้าย ได้บนลำตัว หรือบนไหล่ของทหารผู้นั้นโดยตรง โดยปืนกลนี้จะสามารถหันไปตามการหันตัวของทหาร และสามารถยิงด้วยรีโมทคอนโทรล ลองนึกถึงหุ่นยนต์คนเหล็ก Terminator สิครับว่า มันจะน่ากลัวขนาดไหน
พรุ่งนี้ผมจะเดินทางอีกแล้วครับ คราวนี้ไปงาน PACCON 2010 ซึ่งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นเจ้าภาพ งานประชุมนี้ใหญ่มาก มีจำนวนผลงานที่ไปแสดงมากกว่า 800 ผลงานครับ ซึ่งแบ่งออกเป็นสาขาวิชาต่างๆ ของทางเคมีและเคมีประยุกต์ เช่น เคมีอินทรีย์ เคมีวิเคราะห์ เคมีเชิงฟิสิกส์ เคมีอนินทรีย์ วัสดุศาสตร์และนาโนเทคโนโลยี เป็นต้น ซึ่งในการไปประชุมครั้งนี้ ผมได้รับเชิญให้ไปบรรยายในหัวข้อ จมูกอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเกษตร แล้วก็ไปทำหน้าที่ประธานของสาขาวัสดุศาสตร์และนาโนเทคโนโลยี ซึ่งในปีนี้มีคนส่งผลงานเข้าร่วมมากที่สุด เมื่อเทียบกับสาขาวิชาอื่นๆ เพราะมีจำนวนผลงานเกือบ 200 ผลงาน เมื่อเทียบกับของทั้งหมดที่มี 800 ผลงาน แสดงให้เห็นว่า งานวิจัยทางด้านวัสดุและนาโนเทคโนโลยีของประเทศไทยนั้น ถือได้ว่ามีจำนวนมากที่สุดในอาเซียนแล้วครับ จากการที่ผมเคยไปประชุมมาทั้งในสิงคโปร์ เวียดนาม และ มาเลเซีย
อย่างไรก็ตาม จากที่ผมนั่งอ่านบทคัดย่อของทุกผลงานที่ส่งเข้ามา ผมสังเกตเห็นว่า งานวิจัยทางด้านวัสดุของไทยส่วนใหญ่ยังคงอยู่ที่ "วัสดุทำหน้าที่" (Functional Materials) มีส่วนน้อยที่ทำไปถึง "วัสดุก้าวหน้า" (Advanced Materials) และยังไม่มีงานไหนที่เข้าใกล้ระดับของ "วัสดุปัญญา" (Materials Intelligence)
ทำให้น่าเป็นห่วงว่า งานวิจัยทางวัสดุของประเทศไทยอาจจะตามไม่ทันโลก เพราะขณะนี้ ในวงการวัสดุนั้น เขากำลังสนใจวัสดุที่วิวัฒน์ตัวเองได้เหมือนสิ่งมีชีวิตแล้วครับ ซึ่งนักวัสดุศาสตร์เองจะต้องเข้าไปมองวัสดุในสิ่งมีชีวิตอย่าง "โปรตีน" ให้มากขึ้น เพราะวัสดุชนิดนี้สามารถวิวัฒน์ตัวเองให้สามารถทำงานนอกเหนือไปจาก สิ่งที่มันถูกออกแบบมาให้ทำ นั่นคือ วัสดุวิวัฒน์จะต้องสามารถทำอะไรได้ในสถานการณ์ใหม่ๆ ที่อยู่นอกเหนือความคาดหมาย ดังนั้น การออกแบบจึงมีความสำคัญต่อวัสดุปัญญามากๆ เพราะเราจะต้องคำนึงถึงสถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นไปได้ทั้งหมด ที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งการใส่โปรแกรมตรรกะเข้าไปในวัสดุ เพื่อให้มันสามารถปรับตัวหรือพัฒนาตัวเองไปตามสภาพสิ่งแวดล้อมได้ครับ