นักวิทยาศาสตร์เริ่มจะเข้าใจมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วล่ะครับว่า ความรักเป็นกระบวนการทางชีววิทยาในสมอง และเจ้าความสิเน่หานี้เองที่ทำให้มนุษย์มีความแตกต่างจากสัตว์ ความรักเป็นตัวขับเคลื่อนความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์เรา สารเคมีที่หลั่งในสมองเมื่อเรามีความรัก นั้นทำให้เราอยากมีครอบครัวและมีลูกมีหลาน เมื่อเรามีลูกแล้ว เคมีเหล่านั้นก็ต้อนเราให้พยุงครอบครัวเพื่อช่วยกันดูแลเด็กให้เติบโต ความรักจึงมีเคมีและชีววิทยาเป็นพื้นฐานสำคัญ มนุษย์เรานั้นมีเรื่องรักโรแมนติกกันทั้งนั้นไม่ว่าชาติใดภาษาใด นั่นเป็นหลักฐานว่าความรักอยู่ในพันธุกรรมของเรา
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า คนเรามี template ของคนที่เราอยากได้เป็นคู่ครองอยู่ในจิตใต้สำนึก บางคนเรียกสิ่งนี้ว่า "เนื้อคู่" (Click เพื่ออ่านนิยามของ "เนื้อคู่" ในทางพุทธศาสนา) บางคนเรียกสิ่งนี้ว่า "สเป็ก" บางคนเรียกว่า "ชายในฝัน" (Click เพื่อฟังเพลงชายในฝันของ Jetseter) และเจ้าสิ่งนี่แหล่ะที่ทำให้คนเราเห็นใครคนหนึ่งแยกแตกต่างออกมาจากคนอื่นเพียงครั้งแรกที่เห็น ซึ่งเรามักจะคิดว่ามันเป็น "รักแรกพบ" นักวิจัยหลายๆกลุ่มเสนอว่า คนเรามักจะถูกดึงดูดโดยเพศตรงข้ามที่มีบางส่วนที่คล้ายพ่อแม่เรา หรือแม้กระทั่งคล้ายตัวเราเอง มีการทดลองครั้งหนึ่งที่นำเอาภาพใบหน้าของผู้ถูกทดลอง ไปแปลงด้วยวิธีทางคอมพิวเตอร์ ให้เปลี่ยนเป็นหน้าของเพศตรงข้าม แล้วเอาภาพที่แปลงแล้วนี้มาผสมกับภาพอื่นๆ นำไปให้ผู้ถูกทดลองเลือกว่าชอบหน้าแบบใดที่สุด ผลก็คือผู้ถูกทดลองจะเลือกภาพที่มาจากใบหน้าของตัวเอง โดยที่เจ้าตัวก็ไม่รู้ตัวเลย ผมเองก็เคยได้ยินว่า คนที่เป็นเนื้อคู่กันจะหน้าคล้ายกัน สมัยเรียนมหาวิทยาลัยก็เคยถูกทักว่าหน้าคล้ายกับแฟนตัวเอง นี่คงเป็นคำตอบได้ครับ ......
วันหลังจะกลับมาคุยเรื่องนี้ต่อนะครับ ................