หน่วยนาโนฯ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิจัยพัฒนาจมูกอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับติดตั้งในหุ่นยนต์ เน้นประสิทธิภาพจดจำและค้นหาต้นตอกลิ่น ทำงานเลียนแบบจมูกสุนัข ประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือแปลข้อมูลกลิ่นให้เป็นแถบสีสำหรับวงการวิจัย เผยโชว์ซอฟต์แวร์จำแนกกลิ่นตัว เทคโนโลยีระบุตัวตนใหม่แทนฟิงเกอร์พริ้นต์
ผศ. ดร. ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ ภาควิชาฟิสิกส์ และหน่วยสร้างเสริมศักยภาพทางนาโนศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า "จมูกหมา" เป็นชื่อโครงการวิจัยและพัฒนาจมูกอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับการทำงานของจมูกสุนัขตามธรรมชาติ ซึ่งสามารถจดจำเจ้าของได้จากกลิ่น อีกทั้งลักษณะการทำงานของจมูกหมาอิเล็กทรอนิกส์ ยังเลียนแบบการทำงานของจมูกสุนัขอีกด้วย ที่ต้องมีการ "ย้ำกลิ่น" หรือให้ดมวัตถุซ้ำบ่อยครั้ง ในการติดตามวัตถุหรือบุคคลเป้าหมาย
การพัฒนาจมูกหมาอิเล็กทรอนิกส์นี้ นักวิจัยได้ประสานความร่วมมือกับนักชีววิทยา เพื่อศึกษาจมูกอย่างละเอียด โดยเฉพาะระบบรับและจำแนกกลิ่น สำหรับใช้เป็นข้อมูลเพื่อการออกแบบพัฒนา จากนั้นจะนำไปติดตั้งในหุ่นยนต์ ก็จะกลายเป็น "หุ่นยนต์ดมกลิ่น" ส่วนความคืบหน้าโครงการจมูกหมา ขณะนี้ได้พัฒนาเซ็นเซอร์รับกลิ่นเรียบร้อยแล้ว ซึ่งสามารถเปรียบเทียบและจำแนกกลิ่นที่มาจากสองทิศทาง และเมื่อนำไปติดตั้งในหุ่นยนต์ จะทำให้หุ่นยนต์หันซ้าย-ขวาไปตามแหล่งกำเนิดกลิ่น
"ผลงานวิจัยของไทยในเรื่องของจมูกค่อนข้างหายาก เมื่อเทียบกับตา หูและลิ้น เราแทบจะไม่ทราบข้อมูลว่าระบบประสาทการรับกลิ่นมีเท่าไร ทำงานอย่างไร ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องสำคัญ เพราะมีผู้วิจัยพิสูจน์แล้วว่า การกินอาหารโดยที่ระบบประสาทรับกลิ่นบกพร่อง มีผลให้การรู้รสอาหารลดลงด้วย" ผศ.ดร.ธีรเกียรติ์ กล่าวและว่า งานวิจัยจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ระบบรับรู้กลิ่นบกพร่อง เนื่องจากอุบัติเหตุ โรคติดเชื้อและภูมิแพ้ เป็นต้น
นอกจากนี้ โครงการจมูกหมาอิเล็กทรอนิกส์ ยังสามารถประยุกต์ทำเป็นอุปกรณ์แปลกลิ่นให้เป็นสี เพื่อประโยชน์ด้านการสื่อสารที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะลักษณะและระดับความแรงของกลิ่น เป็นข้อมูลที่อธิบายได้ยาก ฉะนั้น หากมีเครื่องมือที่สามารถแปลข้อมูลให้แสดงออกมาในรูปของแถบสี จะช่วยให้การสื่อสารตรงกันยิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับวงการวิจัย
นอกจากนี้ ทีมงานในศูนย์นาโนศาสตร์ร่วมกันพัฒนา "ซอฟต์แวร์จดจำกลิ่น" ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์สนับสนุนโครงการจมูกอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันซอฟต์แวร์ดังกล่าว พบว่าสามารถจดจำและจำแนกกลิ่นกายมนุษย์ตัวอย่าง โดยการทดลองอาศัยกลิ่นกายที่แตกต่างกันชัดเจน ระหว่างกลิ่นกายชาวต่างชาติกับคนไทย ทั้งยังสามารถจำแนกได้ระดับหนึ่ง ในกรณีที่กลิ่นกายนั้นใช้สเปรย์ระงับกลิ่นกายยี่ห้อเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ทีมงานยังต้องพัฒนาซอฟต์แวร์ดังกล่าวให้แม่นยำยิ่งขึ้น และสามารถจดจำและจำแนกกลิ่นได้หลากหลายขึ้น เช่น กลิ่นกายของผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ กลิ่นกายของผู้ที่กินกระเทียม ในอนาคตซอฟต์แวร์นี้สามารถใช้ประโยชน์สำหรับ "การระบุตัวตน" คล้ายกับเทคโนโลยีฟิงเกอร์พริ้นต์ รวมทั้งประโยชน์ด้านการพัฒนาน้ำยาระงับกลิ่นกายด้วย
โครงการจมูกหมาอิเล็กทรอนิกส์นี้ ได้รับการสนับสนุนจากทุนวิจัยเงินงบประมาณแผ่นดินของ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
(จากหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ 8 กุมภาพันธ์ 2550)
ผศ. ดร. ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ ภาควิชาฟิสิกส์ และหน่วยสร้างเสริมศักยภาพทางนาโนศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า "จมูกหมา" เป็นชื่อโครงการวิจัยและพัฒนาจมูกอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับการทำงานของจมูกสุนัขตามธรรมชาติ ซึ่งสามารถจดจำเจ้าของได้จากกลิ่น อีกทั้งลักษณะการทำงานของจมูกหมาอิเล็กทรอนิกส์ ยังเลียนแบบการทำงานของจมูกสุนัขอีกด้วย ที่ต้องมีการ "ย้ำกลิ่น" หรือให้ดมวัตถุซ้ำบ่อยครั้ง ในการติดตามวัตถุหรือบุคคลเป้าหมาย
การพัฒนาจมูกหมาอิเล็กทรอนิกส์นี้ นักวิจัยได้ประสานความร่วมมือกับนักชีววิทยา เพื่อศึกษาจมูกอย่างละเอียด โดยเฉพาะระบบรับและจำแนกกลิ่น สำหรับใช้เป็นข้อมูลเพื่อการออกแบบพัฒนา จากนั้นจะนำไปติดตั้งในหุ่นยนต์ ก็จะกลายเป็น "หุ่นยนต์ดมกลิ่น" ส่วนความคืบหน้าโครงการจมูกหมา ขณะนี้ได้พัฒนาเซ็นเซอร์รับกลิ่นเรียบร้อยแล้ว ซึ่งสามารถเปรียบเทียบและจำแนกกลิ่นที่มาจากสองทิศทาง และเมื่อนำไปติดตั้งในหุ่นยนต์ จะทำให้หุ่นยนต์หันซ้าย-ขวาไปตามแหล่งกำเนิดกลิ่น
"ผลงานวิจัยของไทยในเรื่องของจมูกค่อนข้างหายาก เมื่อเทียบกับตา หูและลิ้น เราแทบจะไม่ทราบข้อมูลว่าระบบประสาทการรับกลิ่นมีเท่าไร ทำงานอย่างไร ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องสำคัญ เพราะมีผู้วิจัยพิสูจน์แล้วว่า การกินอาหารโดยที่ระบบประสาทรับกลิ่นบกพร่อง มีผลให้การรู้รสอาหารลดลงด้วย" ผศ.ดร.ธีรเกียรติ์ กล่าวและว่า งานวิจัยจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ระบบรับรู้กลิ่นบกพร่อง เนื่องจากอุบัติเหตุ โรคติดเชื้อและภูมิแพ้ เป็นต้น
นอกจากนี้ โครงการจมูกหมาอิเล็กทรอนิกส์ ยังสามารถประยุกต์ทำเป็นอุปกรณ์แปลกลิ่นให้เป็นสี เพื่อประโยชน์ด้านการสื่อสารที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะลักษณะและระดับความแรงของกลิ่น เป็นข้อมูลที่อธิบายได้ยาก ฉะนั้น หากมีเครื่องมือที่สามารถแปลข้อมูลให้แสดงออกมาในรูปของแถบสี จะช่วยให้การสื่อสารตรงกันยิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับวงการวิจัย
นอกจากนี้ ทีมงานในศูนย์นาโนศาสตร์ร่วมกันพัฒนา "ซอฟต์แวร์จดจำกลิ่น" ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์สนับสนุนโครงการจมูกอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันซอฟต์แวร์ดังกล่าว พบว่าสามารถจดจำและจำแนกกลิ่นกายมนุษย์ตัวอย่าง โดยการทดลองอาศัยกลิ่นกายที่แตกต่างกันชัดเจน ระหว่างกลิ่นกายชาวต่างชาติกับคนไทย ทั้งยังสามารถจำแนกได้ระดับหนึ่ง ในกรณีที่กลิ่นกายนั้นใช้สเปรย์ระงับกลิ่นกายยี่ห้อเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ทีมงานยังต้องพัฒนาซอฟต์แวร์ดังกล่าวให้แม่นยำยิ่งขึ้น และสามารถจดจำและจำแนกกลิ่นได้หลากหลายขึ้น เช่น กลิ่นกายของผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ กลิ่นกายของผู้ที่กินกระเทียม ในอนาคตซอฟต์แวร์นี้สามารถใช้ประโยชน์สำหรับ "การระบุตัวตน" คล้ายกับเทคโนโลยีฟิงเกอร์พริ้นต์ รวมทั้งประโยชน์ด้านการพัฒนาน้ำยาระงับกลิ่นกายด้วย
โครงการจมูกหมาอิเล็กทรอนิกส์นี้ ได้รับการสนับสนุนจากทุนวิจัยเงินงบประมาณแผ่นดินของ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
(จากหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ 8 กุมภาพันธ์ 2550)