วิเคราะห์สถานภาพทางด้านนาโนศาสตร์ และ นาโนเทคโนโลยี ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับ ประเทศคู่แข่ง เพื่อช่วยผลักดันให้ประเทศไทย เป็น Nano Valley of ASEAN
30 มิถุนายน 2553
Science of Boredom - ศาสตร์แห่งความเบื่อ (ตอนที่ 2)
ความเบื่อดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติ ที่มนุษย์แต่ละคนจะต้องพบเจอ บางคนอาจจะนานเป็นปีถึงจะมีอาการแบบนี้ครั้งหนึ่ง แต่สำหรับบางคน ความเบื่อสามารถมาเยี่ยมเยือนได้ทุกวี่วัน คนเหล่านี้น่าสงสารมากครับ เพราะว่าเจ้าความเบื่อนี่หล่ะ กำลังเป็นมัจจุราชเงียบ ที่จะมาเอาชีวิตเขาไปก่อนเวลาอันควร
ล่าสุดมีรายงานวิจัยที่เสนอผลการศึกษาว่า คนที่ขี้เบื่อจะมีอายุขัยสั้นลง (รายละเอียดเต็มคือ A. Britton and M.J. Shipley, "Bored to Death?", International Journal of Epidemiology (2010), doi:10.1093/ije/dyp404) ซึ่งนักวิจัยได้ทำการศึกษาข้าราชการที่ทำงานอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จำนวนกว่า 7,500 คน ซึ่งมีอายุระหว่าง 35-55 ปี บุคคลเหล่านี้ถูกสัมภาษณ์และเก็บข้อมูลมาตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1980 แล้ว ซึ่งในแบบสอบถามเหล่านั้นก็มีคำถามว่า "คุณรู้สึกเบื่อกับงานที่ทำหรือไม่?" รวมอยู่ด้วย นักวิจัยได้ติดตามดูว่าบุคคลเหล่านี้ มีใครเสียชีวิตไปแล้วบ้างก่อนเดือนเมษายน 2009 ผลที่ได้ก็คือ คนที่เคยตอบคำถามว่าเบื่อมากๆ นั้น มีโอกาสจะเสียชีวิตจากโรคหัวใจเป็น 2.5 เท่าของคนที่ตอบว่าไม่เบื่อ ข้อสรุปของบทความวิจัยนี้ก็คือ "คนขี้เบื่อจะอายุสั้นกว่าคนที่ไม่ขี้เบื่อ"
จริงเหรอครับที่ ความเบื่อทำให้ตายได้ นักวิจัยบอกอย่างนี้ครับว่า ความเบื่อเล็กๆ น้อย บ่อยๆ อาจจะไม่เป็นไร แต่หากเบื่อเรื้อรังก็จะมีผลต่อสุขภาพตามมา คนที่ขี้เบื่อจะแก้เบื่อด้วยการทำกิจกรรมที่ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ทานอาหารจุบจิบ ใช้สารเสพติด พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศต่างๆ เพื่อแก้เบื่อ ความเบื่อจะเหนี่ยวนำทำให้เกิดโรคซึมเศร้า เกิดความเครียด ทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมา ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะทำลายระบบหมุนเวียนของโลหิต และมีผลกระทบที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง
คนที่เบื่อเก่งๆ จะใช้ชีวิตแบบที่ไม่รักษาสุขภาพ ไม่ยอมออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายอ่อนแอ คนขี้เบื่อจะขี้เกียจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ไม่ลองทำในสิ่งท้าทาย ทำให้สมองตายด้าน คนขี้เบื่อจะขาดความอยากรู้อยากเห็น ไม่อยากรู้อะไรเพิ่มอีก คนเหล่านี้เมื่อมีอายุมากขึ้น สมองจะค่อยๆ เสื่อมถอย การที่คนเรามีความอยากรู้อยากเห็น จะช่วยชะลอความเสื่อมถอยเหล่านั้นได้ ทำให้สมองยังสดชื่นและคงความเป็นหนุ่มสาวอยู่ได้นานขึ้น คนที่มีใจอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ จึงแก่ช้ากว่าคนที่เบื่อในสิ่งรอบตัว
ว่างๆ มาคุยเรื่องนี้กันต่อครับ ...
ป้ายกำกับ:
cognitive science,
mind sciences
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น