11 กันยายน 2551

Human Terrain System - เมื่อมนุษยวิทยาถูกใช้ในการทหาร


หากจะจีบสาวสักคนให้สำเร็จ งานที่ต้องทำงานแรกก็คือต้องเรียนรู้เพื่อให้เข้าใจว่าผู้หญิงคนนั้นเป็นคนยังไง บ้านอยู่ไหน ชอบทานอะไร ชอบสีอะไร เวลาว่างทำอะไร นิสัยยังไง นี่คือจุดเริ่มของความสำเร็จครับ ในการศึกสงครามตั้งแต่ครั้งอดีต แม่ทัพนายกองของทหารฝ่ายที่ได้เปรียบล้วนมีศิลปะในความเข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรม โครงสร้างทางสังคม ของอีกฝ่ายหนึ่งเสมอ พระเจ้าบุเรงนองทรงมีพระปรีชาสามารถในการสงคราม สามารถชนะศึกทั้ง 10 ทิศได้โดยเสียเลือดเสียเนื้อน้อยมาก ก็เพราะความเข้าอกเข้าใจในภูมิประเทศด้านมนุษย์ (Human Terrain) ของดินแดนที่พระองค์เข้าไปรวบรวมมาสร้างอาณาจักร ศาสตร์ด้านมนุษยวิทยาเพื่อการทหารกำลังได้รับความสนใจจากเพนตากอน ถึงกับมีการตั้งโครงการที่เรียกว่า Human Terrain System ซึ่งมีกองบัญชาการพิเศษที่ใช้ฝึกฝนและนำนักมนุษยวิทยา เข้าไปใช้ในการรบในแนวหน้า ซึ่งขณะนี้ในหน่วยรบต่างๆ ที่ทำการยึดครองดินแดนในอัฟกานิสถานและอิรัก จะมีหมวดหนึ่งที่ประกอบด้วยนักมนุษยวิทยา ประจำการร่วมกับกองกำลังติดอาวุธในแนวหน้า หน่วยนี้จะเข้าไปเรียนรู้ แฝงตัว ซึมลึก สร้างความคุ้นเคยกับชาวบ้าน คอยให้คำปรึกษาแก่ผู้บัญชาการรบระดับกองพันในการตัดสินใจต่างๆ ศึกษาผลกระทบของยุทธการต่อประชากรที่อยู่ในรัศมีการรบ ทำให้ทหารสามารถปรับฐานความคิดให้อยู่ในระนาบเดียวกับชุมชนในบริเวณนั้น เข้าใจโครงสร้างทางสังคม จารีต ชาติพันธุ์ อุดมการณ์ ของชุมชน สิ่งควรทำไม่ควรทำ เพื่อให้ยุทธการหนึ่งๆ เกิดผลกระทบทางลบน้อยที่สุด นับตั้งแต่มีการนำ Human Terrain System ไปใช้ในอิรักนั้น ปรากฏว่าขณะนี้ ทหารสหรัฐฯ สูญเสียกำลังน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ


ท่านผู้อ่านจะเริ่มสังเกตไหมครับว่า นับวัน นอกจากวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ จะเริ่มหลอมรวมกันแล้ว ศาสตร์ที่เคยเป็นวิทยาศาสตร์อย่างสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ก็กำลังจะหลอมกลับมารวมกับวิทยาศาสตร์อีกครั้งครับ ที่แหล่ะ Convergence Century !!!