วันนี้มาคุยเรื่องนี้ต่อนะครับ ครั้งล่าสุดที่คุยเรื่องความฉลาดของต้นไม้ (ตอนที่ 3) นั้นคือวันที่ 15 สิงหาคม 2551 ครับ ตอนแรกก็คิดว่าจะปิดประเด็นเรื่องนี้ไปแล้ว แต่ที่ต้องมาคุยเรื่องนี้ต่ออีกก็เพราะว่าเมื่อต้นเดือนกันยายน 2551 นี้เอง ได้มีรายงานวิจัยในวารสาร Biogeoscience (T. Karl, A. Guenther, A. Turnipseed, E.G. Patton, K. Jardine. Chemical sensing of plant stress at the ecosystem scale. Biogeosciences, September 8, 2008) ที่น่าตื่นเต้นเกี่ยวกับความฉลาดรู้รักษาตัวรอดของพืช โดยผู้รายงานนั้นเป็นกลุ่มนักวิทยาศาสตร์สังกัดศูนย์วิจัยบรรยากาศแห่งชาติ (National Center for Atmospheric Research เรียกย่อๆ ว่า NCAR) ซึ่งนำโดย Thomas Karl ซึ่งได้ค้นพบว่าต้นวอลนัทมีความสามารถในการปล่อยสารเคมีในกลุ่มเดียวกับยาแอสไพริน (ที่พวกเราทานแก้ลดไข้ ปวดหัว นั่นแหล่ะครับ) ออกมาเมื่อพวกมันมีอาการเครียด
การค้นพบโดยบังเอิญนี้เกิดขึ้นในขณะที่นักวิจัยได้เก็บไอระเหยอินทรีย์จากป่าวอลนัท เพื่อเอาไปตรวจสอบมลพิษของอาณาบริเวณนั้น เนื่องจากไอระเหยอินทรีย์เหล่านี้เมื่อมารวมกับไอเสียจากอุตสาหกรรม ก็จะบอกระดับมลภาวะแถวๆ นั้นได้ คณะวิจัยต้องตกตะลึงเมื่อพบไอโมเลกุลของสารประเภทแอสไพริน ซึ่งจะเพิ่มขึ้นสูงมากเมื่อพืชเจอกับสภาวะอันตราย เช่น ฝนแล้ง อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ความร้อนหรือหนาวเย็นนอกฤดูกาล นักวิจัยได้เก็บไอระเหยนี้ที่ระดับความสูง 30 เมตรจากพื้นดิน แล้วพบว่าสารกลุ่มนี้ ที่ปล่อยออกมาจากป่าแห่งนี้ มีปริมาณสูงถึง 0.025 มิลลิกรัมต่อตารางฟุตต่อชั่วโมง คณะวิจัยมีเชื่อว่าสารกลุ่มแอสไพรินที่พืชปล่อยออกมานี้ ทำหน้าที่อย่างน้อย 2 ประการคือ ประการแรกมันช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของพืช ให้ตื่นตัวและเริ่มกระบวนการปกป้องตัวเอง ประการที่สอง สารที่ปล่อยออกมานั้นล่องลอยกินอาณาบริเวณ ซึ่งจะช่วยเตือนภัยแก่ญาติๆของมัน ซึ่งก็เป็นการสื่อสารส่งข่าวบอกกันและกันด้วย นักวิจัยหวังว่าองค์ความรู้ที่ได้ในครั้งนี้จะช่วยในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเฝ้าดูพืช ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างมากสำหรับเกษตรกรรม เพราะเกษตรกรสามารถตรวจรู้ภัยคุกคามที่มีต่อพืชได้เร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแมลงศัตรูพืช ความรู้สึกของพืชต่อภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ความเครียดของพืช ซึ่งก่อนหน้านี้เกษตรกรจะรู้ก็ต่อเมื่อเกิดอะไรขึ้นแล้ว เช่น ใบแห้งตาย หรือมีหนอนกระจายทั้งไร่
การค้นพบโดยบังเอิญนี้เกิดขึ้นในขณะที่นักวิจัยได้เก็บไอระเหยอินทรีย์จากป่าวอลนัท เพื่อเอาไปตรวจสอบมลพิษของอาณาบริเวณนั้น เนื่องจากไอระเหยอินทรีย์เหล่านี้เมื่อมารวมกับไอเสียจากอุตสาหกรรม ก็จะบอกระดับมลภาวะแถวๆ นั้นได้ คณะวิจัยต้องตกตะลึงเมื่อพบไอโมเลกุลของสารประเภทแอสไพริน ซึ่งจะเพิ่มขึ้นสูงมากเมื่อพืชเจอกับสภาวะอันตราย เช่น ฝนแล้ง อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ความร้อนหรือหนาวเย็นนอกฤดูกาล นักวิจัยได้เก็บไอระเหยนี้ที่ระดับความสูง 30 เมตรจากพื้นดิน แล้วพบว่าสารกลุ่มนี้ ที่ปล่อยออกมาจากป่าแห่งนี้ มีปริมาณสูงถึง 0.025 มิลลิกรัมต่อตารางฟุตต่อชั่วโมง คณะวิจัยมีเชื่อว่าสารกลุ่มแอสไพรินที่พืชปล่อยออกมานี้ ทำหน้าที่อย่างน้อย 2 ประการคือ ประการแรกมันช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของพืช ให้ตื่นตัวและเริ่มกระบวนการปกป้องตัวเอง ประการที่สอง สารที่ปล่อยออกมานั้นล่องลอยกินอาณาบริเวณ ซึ่งจะช่วยเตือนภัยแก่ญาติๆของมัน ซึ่งก็เป็นการสื่อสารส่งข่าวบอกกันและกันด้วย นักวิจัยหวังว่าองค์ความรู้ที่ได้ในครั้งนี้จะช่วยในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเฝ้าดูพืช ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างมากสำหรับเกษตรกรรม เพราะเกษตรกรสามารถตรวจรู้ภัยคุกคามที่มีต่อพืชได้เร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแมลงศัตรูพืช ความรู้สึกของพืชต่อภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ความเครียดของพืช ซึ่งก่อนหน้านี้เกษตรกรจะรู้ก็ต่อเมื่อเกิดอะไรขึ้นแล้ว เช่น ใบแห้งตาย หรือมีหนอนกระจายทั้งไร่