ภาวะโลกร้อนทำให้เกิดสภาพอากาศที่มนุษย์ไม่ต้องการ แต่เทคโนโลยีในอนาคตจะทำให้เราสามารถเปลี่ยนท้องฟ้าได้ เช่น ทำให้มีเมฆบังแสง หยุดหรือเปลี่ยนทิศทางพายุไต้ฝุ่น ศาสตราจารย์จอห์น ลาธาม (John Latham) นักฟิสิกส์บรรยากาศแห่งมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ได้เสนอให้สร้างเมฆบางๆ ที่ไม่ทำให้เกิดฝนแต่สามารถสะท้อนแสงอาฑิตย์ได้ดี ด้วยการสเปรย์อนุภาคเล็กๆของน้ำทะเลขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศ ซึ่งจะทำให้เกิดเมฆบางๆ เขาและทีมงานได้ออกแบบเรือที่สามารถขับได้เองโดยไม่ต้องใช้มนุษย์ และใช้พลังงานลมในการขับเคลื่อน ซึ่งจะไปหมุนโรเตอร์ที่มีลักษณะคล้ายปล่องเพื่อสเปรย์อนุภาคของน้ำทะเลขึ้นไป ทั้งนี้เราสามารถปล่อยเรือเหล่านี้ให้ลอยไปในมหาสมุทรโดยที่สามารถควบคุมได้จากระยะไกล ศาสตราจารย์ลาธามประมาณว่าใช้เรือเพียง 1,000 ลำก็เพียงพอที่จะทำให้โครงการนี้ได้ผล เขามั่นใจว่าโครงการนี้เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อมเนื่องจากไม่ได้ใช้พลังงานจากฟอสซิล วัตถุดิบมีเพียงชนิดเดียวคือน้ำทะเล เขาเชื่อว่าวิธีการนี้ดีกว่าวิธีการอื่นตรงที่สามารถควบคุมได้ โดยการอาศัยข้อมูลจากดาวเทียม และการโมเดลด้วยคอมพิวเตอร์ หากมีเมฆมากเกินไปจนอาจทำให้โลกเย็นเกินไป ก็สามารถตัดการทำงานของเรือกำเนิดเมฆ ภายในเวลาไม่กี่วันสภาวะอากาศก็จะกลับสู่ปรกติอีกครั้ง
อีกแนวคิดของการทำวิศวกรรมดาวเคราะห์ที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชากรโลก จากพายุรุนแรงทั้งเฮอริเคน ไต้ฝุ่น ไซโคลน ที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ก็คือการไปหยุดพายุหรือดัดแปลงทิศทางการเคลื่อนที่ของพายุ ในขณะนี้นาซ่าได้ให้เงินสนับสนุนโครงการวิจัยเพื่อที่จะควบคุมพายุ ผลเบื้องต้นจากการจำลองคอมพิวเตอร์นั้นพบว่า พายุขนาดใหญ่นั้นมีความอ่อนไหวกับปัจจัยแวดล้อมเล็กๆ มาก เช่น อัตราการระเหยของน้ำ อุณหภูมิและความชื้นบริเวณตาพายุ รวมไปถึงบริเวณข้างเคียง ทางทีมวิจัยได้เสนอแนวทางในการหยุดหรือเปลี่ยนทิศทางของพายุด้วยการนำเครื่องบินเข้าไปโรยอนุภาคซิลเวอร์ไอโอไดด์หรือสารก่อตัวของเม็ดฝนลงไปที่ตาพายุ เพื่อให้มีการสูญเสียน้ำที่ตาพายุ จะทำให้พายุอ่อนแรงลง การราดน้ำมันที่ย่อยสลายได้บนพื้นผิวของมหาสมุทรในทิศทางที่พายุกำลังเคลื่อนตัว เพื่อให้ฟิล์มน้ำมันเคลือบผิวของน้ำไว้ทำให้มีการระเหยของน้ำลดลง จนทำให้ลมพายุอ่อนแรงลง อีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจก็คือการใช้ดาวเทียมยิงคลื่นไมโครเวฟลงมาที่บริเวณพายุเพื่อทำให้โมเลกุลน้ำในอากาศเกิดการสั่นอย่างรุนแรงและไปเพิ่มอุณหภูมิของอากาศ ทำให้สามารถดัดแปลงทิศทางของพายุได้ วิธีหลังนี้ผมเคยเห็นในภาพยนตร์เรื่องหนึ่งครับ ซึ่งอาชญากรได้เข้ายึดดาวเทียมดวงนี้เพื่อสร้างพายุเข้าถล่มชายฝั่งสหรัฐฯ แลกกับเงินที่รัฐบาลจะจ่ายให้พวกเขา
อีกแนวคิดของการทำวิศวกรรมดาวเคราะห์ที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชากรโลก จากพายุรุนแรงทั้งเฮอริเคน ไต้ฝุ่น ไซโคลน ที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ก็คือการไปหยุดพายุหรือดัดแปลงทิศทางการเคลื่อนที่ของพายุ ในขณะนี้นาซ่าได้ให้เงินสนับสนุนโครงการวิจัยเพื่อที่จะควบคุมพายุ ผลเบื้องต้นจากการจำลองคอมพิวเตอร์นั้นพบว่า พายุขนาดใหญ่นั้นมีความอ่อนไหวกับปัจจัยแวดล้อมเล็กๆ มาก เช่น อัตราการระเหยของน้ำ อุณหภูมิและความชื้นบริเวณตาพายุ รวมไปถึงบริเวณข้างเคียง ทางทีมวิจัยได้เสนอแนวทางในการหยุดหรือเปลี่ยนทิศทางของพายุด้วยการนำเครื่องบินเข้าไปโรยอนุภาคซิลเวอร์ไอโอไดด์หรือสารก่อตัวของเม็ดฝนลงไปที่ตาพายุ เพื่อให้มีการสูญเสียน้ำที่ตาพายุ จะทำให้พายุอ่อนแรงลง การราดน้ำมันที่ย่อยสลายได้บนพื้นผิวของมหาสมุทรในทิศทางที่พายุกำลังเคลื่อนตัว เพื่อให้ฟิล์มน้ำมันเคลือบผิวของน้ำไว้ทำให้มีการระเหยของน้ำลดลง จนทำให้ลมพายุอ่อนแรงลง อีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจก็คือการใช้ดาวเทียมยิงคลื่นไมโครเวฟลงมาที่บริเวณพายุเพื่อทำให้โมเลกุลน้ำในอากาศเกิดการสั่นอย่างรุนแรงและไปเพิ่มอุณหภูมิของอากาศ ทำให้สามารถดัดแปลงทิศทางของพายุได้ วิธีหลังนี้ผมเคยเห็นในภาพยนตร์เรื่องหนึ่งครับ ซึ่งอาชญากรได้เข้ายึดดาวเทียมดวงนี้เพื่อสร้างพายุเข้าถล่มชายฝั่งสหรัฐฯ แลกกับเงินที่รัฐบาลจะจ่ายให้พวกเขา