ตลอด 200 ปีที่ผ่านมา วิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เรียนรู้แยกจากกัน ยิ่งเรียนสูงก็ยิ่งลึกลงไปในสาขาของตน แต่เมื่อต้นศตวรรษที่ 21 นี้เอง ที่เกิดมีมหกรรมการแต่งงานข้ามศาสตร์กันขนานใหญ่ ภายในส่วนของวิทยาศาสตร์เอง เกิดศาสตร์ใหม่ๆ ขึ้นมามากมาย เช่น Bioinformatics เกิดจากการแต่งงานของวิทยาการคอมพิวเตอร์กับชีววิทยา Biophysics เกิดจากการแต่งงานของชีววิทยากับฟิสิกส์ Biorobotics เกิดจากการแต่งงานของหุ่นยนต์ศาสตร์กับชีววิทยา Bionics เกิดจากการแต่งงานของวัสดุศาสตร์กับการแพทย์ Molecular Electronics เกิดจากการแต่งงานของเคมีกับวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นต้น ..... จากนี้ไปเราจะเริ่มเห็นการแต่งงานข้ามศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่กว่าเก่าอีกครับ เพราะจะเป็นการแต่งงานข้ามไปข้ามมาระหว่าง วิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และ สังคมศาสตร์ ด้วยครับ ขอยกตัวอย่างเช่น Social Intelligence ซึ่งเป็นศาสตร์ว่าด้วยความสามารถในการรับรู้ การเข้าใจ การจัดการเพื่อจะอยู่ร่วมกันในสังคม ซึ่งศาสตร์นี้กำลังจะมีประโยชน์มากเลยล่ะครับในการสร้างสังคมของหุ่นยนต์ที่อยู่เป็นฝูง (Swarm Robots) ให้สามารถร่วมกันทำงานเป็นหมู่เหล่าได้ ซึ่งก็เป็นศาสตร์อีกศาสตร์หนึ่งที่เรียกว่า Swarm Intelligence ซึ่งความรู้ทางสังคมศาสตร์จะมีประโยชน์มาก ในการสร้างพฤติกรรมหมู่ให้ฝูงหุ่นยนต์ที่เป็นปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)
อีกศาสตร์หนึ่งที่เป็นการแต่งงานข้ามศาสตร์ระหว่างวิทยาศาสตร์ กับ สังคมศาสตร์ ที่ผมขอยกตัวอย่างคือ Neuroeconomics ผมไม่ทราบชื่อภาษาไทยครับ เป็นการแต่งงานข้ามสายพันธ์ระหว่าง Neuroscience + Economics + Psychology ซึ่ง Neuroscience หรือประสาทวิทยานั้นเป็นเรื่องของการศึกษาเพื่อเข้าใจการทำงานของระบบประสาทของสิ่งมีชีวิต เช่น ระบบสัมผัส การรับรู้ การคิด กิจกรรมต่างๆของสมอง ในขณะที่เศรษฐศาสตร์นั้นเป็นเรื่องของการศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมการผลิต การกระจายและการบริโภคสินค้า-บริการ เมื่อทั้ง 3 ศาสตร์มาแต่งงานกันได้ Neuroeconomics จะได้ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจของมนุษย์ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ว่าสมองทำงานอย่างไรในการชั่งใจ จำแนกแยกแยะเรื่องของการได้-เสีย กับการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ศาสตร์นี้เองที่เริ่มมีการทำวิจัยเยอะมากครับ บริษัทใหญ่ๆที่ขายของเก่งๆ มีนักวิจัยทางด้านนี้ เพราะเขาจะออกแบบสินค้าให้ตรงกับการทำงานของสมองของผู้ซื้อ ผมเคยอ่านบทความหนึ่งใน Newsweek ที่ตีแผ่ความลับของพรรครีพลับบิกัน ที่เขาสามารถเอาชนะเลือกตั้งครั้งที่แล้วมาได้ เพราะเขาใช้ศาสตร์นี้ช่วยในการสะกดจิตของผู้ลงคะแนนนี่เองครับ
อีกศาสตร์หนึ่งที่เป็นการแต่งงานข้ามศาสตร์ระหว่างวิทยาศาสตร์ กับ สังคมศาสตร์ ที่ผมขอยกตัวอย่างคือ Neuroeconomics ผมไม่ทราบชื่อภาษาไทยครับ เป็นการแต่งงานข้ามสายพันธ์ระหว่าง Neuroscience + Economics + Psychology ซึ่ง Neuroscience หรือประสาทวิทยานั้นเป็นเรื่องของการศึกษาเพื่อเข้าใจการทำงานของระบบประสาทของสิ่งมีชีวิต เช่น ระบบสัมผัส การรับรู้ การคิด กิจกรรมต่างๆของสมอง ในขณะที่เศรษฐศาสตร์นั้นเป็นเรื่องของการศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมการผลิต การกระจายและการบริโภคสินค้า-บริการ เมื่อทั้ง 3 ศาสตร์มาแต่งงานกันได้ Neuroeconomics จะได้ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจของมนุษย์ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ว่าสมองทำงานอย่างไรในการชั่งใจ จำแนกแยกแยะเรื่องของการได้-เสีย กับการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ศาสตร์นี้เองที่เริ่มมีการทำวิจัยเยอะมากครับ บริษัทใหญ่ๆที่ขายของเก่งๆ มีนักวิจัยทางด้านนี้ เพราะเขาจะออกแบบสินค้าให้ตรงกับการทำงานของสมองของผู้ซื้อ ผมเคยอ่านบทความหนึ่งใน Newsweek ที่ตีแผ่ความลับของพรรครีพลับบิกัน ที่เขาสามารถเอาชนะเลือกตั้งครั้งที่แล้วมาได้ เพราะเขาใช้ศาสตร์นี้ช่วยในการสะกดจิตของผู้ลงคะแนนนี่เองครับ