ในงานประชุม German-Thai Symposium on Nanoscience and Nanotechnology (GTSNN) ระหว่างวันที่ 27-28 กันยายน 2550 ซึ่งจัดกันที่ The Tide Resort ที่หาดบางแสนนั้น ได้จัดกลุ่มงานวิจัยออกเป็นสาขาต่างๆ ได้แก่ Nanodevices, Nanomaterials, Nanocatalysis และ Synchrotron Spectroscopic Techniques โดยมีการนำหัวข้อบรรยายมาจัดเข้ากลุ่มทั้ง 4 ข้างต้น แต่ที่น่าสนใจและ nanothailand จะเล่าให้ฟังในวันนี้ก็คือ ณ วันนี้ สถานภาพของ Nanodevices ในบ้านเราไม่ได้ด้อยไปกว่าใครในย่านนี้เลย แม้แต่สิงคโปร์
การบรรยายในวันนั้น เริ่มต้นด้วย ดร. อดิสร เตือนตรานนท์ ได้บรรยายสถานภาพของ Nanoelectronics และ MEMS ของ NECTEC ว่าอยู่ในระดับใด งานของ NECTEC นั้นมีทั้ง Sensors แบบต่างๆ ที่ใช้เทคโนโลยี MEMS, Sensor ตรวจโรค, Lab on a chip, Gas Sensor จากนั้น ดร. อัมพร โพธิ์ใย แห่ง TMEC ได้ขึ้นมาบรรยายศักยภาพของ TMEC ในการสนับสนุนงานทางด้าน Molecular Electronics ซึ่งขณะนี้กำลังทำ Organic RFID และ Organic Field Effect Transistor ถัดมา ดร. ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ แห่งมหาวิทยาลัยมหิดล ได้มาเล่าให้ฟังเรื่องของอุปกรณ์สัมผัสเทียมทางด้านกลิ่น หรือ Electronic Nose ซึ่งมีการร่วมทำงานเป็นทีมที่หลากหลาย ทั้งจุฬา มหิดล ศิลปากร เชียงใหม่ วลัยลักษณ์ NECTEC NANOTEC และ MTEC จากนั้น ดร. สุภาพ ชูพันธ์ ได้ออกมาเล่าถึงทีมงาน Nanostructured Devices ซึ่งกำลังพัฒนา Dye-Sensitized Solar Cell กับ Nanosensor และท้ายสุด ดร. สิรพัฒน์ ประโทนเทพ (ซึ่งท่านกำลังบวชอยู่ที่ จ. ระยอง ณ เวลานี้) ได้บรรยายทีมงานทางด้าน Functional Nanostructure ซึ่งเป็นฐานสำคัญของงานทาง Nanodevices ที่ NANOTEC กำลังทำอยู่ มีทั้ง chemical sensor, organic electronics, functional surface เป็นต้น
เมื่อมองแบบ Bird Eye View งานทางด้าน Nanodevices ของประเทศไทยไม่ได้กระจัดกระจายแบบที่เคยคิดกัน หากแต่มีการรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็งมาก และได้เวลาแล้วมั้งที่จะต้องผงาดออกไปสู้ในระดับสากล
(ภาพข้างบน - ดร. อดิสร เตือนตรานนท์ หัวเรือผู้นำทัพ Nanodevices ไทยออกสู้ระดับสากล ในลีลาเดียวกับที่เฉินหลง นำทัพหนังกังฟูสมัยใหม่ของฮ่องกง ออกไปสู่ Hollywood หนังของเฉินหลงเปี่ยมไปด้วยมนตร์เสน่ห์ มุขตลก ขำกลิ้ง และ กุ๊กกิ๊ก คลุกคล้าหลากอารมณ์ ที่ดูทีไรก็ยังสนุกเพลิดเพลินไม่รู้คลาย ดร. อดิสร ก็กำลังจะทำให้ Nanodevices ของไทยเปี่ยมไปด้วยความสนุก ตื่นเต้น เพื่อแข่งนานาชาติ)
การบรรยายในวันนั้น เริ่มต้นด้วย ดร. อดิสร เตือนตรานนท์ ได้บรรยายสถานภาพของ Nanoelectronics และ MEMS ของ NECTEC ว่าอยู่ในระดับใด งานของ NECTEC นั้นมีทั้ง Sensors แบบต่างๆ ที่ใช้เทคโนโลยี MEMS, Sensor ตรวจโรค, Lab on a chip, Gas Sensor จากนั้น ดร. อัมพร โพธิ์ใย แห่ง TMEC ได้ขึ้นมาบรรยายศักยภาพของ TMEC ในการสนับสนุนงานทางด้าน Molecular Electronics ซึ่งขณะนี้กำลังทำ Organic RFID และ Organic Field Effect Transistor ถัดมา ดร. ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ แห่งมหาวิทยาลัยมหิดล ได้มาเล่าให้ฟังเรื่องของอุปกรณ์สัมผัสเทียมทางด้านกลิ่น หรือ Electronic Nose ซึ่งมีการร่วมทำงานเป็นทีมที่หลากหลาย ทั้งจุฬา มหิดล ศิลปากร เชียงใหม่ วลัยลักษณ์ NECTEC NANOTEC และ MTEC จากนั้น ดร. สุภาพ ชูพันธ์ ได้ออกมาเล่าถึงทีมงาน Nanostructured Devices ซึ่งกำลังพัฒนา Dye-Sensitized Solar Cell กับ Nanosensor และท้ายสุด ดร. สิรพัฒน์ ประโทนเทพ (ซึ่งท่านกำลังบวชอยู่ที่ จ. ระยอง ณ เวลานี้) ได้บรรยายทีมงานทางด้าน Functional Nanostructure ซึ่งเป็นฐานสำคัญของงานทาง Nanodevices ที่ NANOTEC กำลังทำอยู่ มีทั้ง chemical sensor, organic electronics, functional surface เป็นต้น
เมื่อมองแบบ Bird Eye View งานทางด้าน Nanodevices ของประเทศไทยไม่ได้กระจัดกระจายแบบที่เคยคิดกัน หากแต่มีการรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็งมาก และได้เวลาแล้วมั้งที่จะต้องผงาดออกไปสู้ในระดับสากล
(ภาพข้างบน - ดร. อดิสร เตือนตรานนท์ หัวเรือผู้นำทัพ Nanodevices ไทยออกสู้ระดับสากล ในลีลาเดียวกับที่เฉินหลง นำทัพหนังกังฟูสมัยใหม่ของฮ่องกง ออกไปสู่ Hollywood หนังของเฉินหลงเปี่ยมไปด้วยมนตร์เสน่ห์ มุขตลก ขำกลิ้ง และ กุ๊กกิ๊ก คลุกคล้าหลากอารมณ์ ที่ดูทีไรก็ยังสนุกเพลิดเพลินไม่รู้คลาย ดร. อดิสร ก็กำลังจะทำให้ Nanodevices ของไทยเปี่ยมไปด้วยความสนุก ตื่นเต้น เพื่อแข่งนานาชาติ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น