ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานั้นมีการกล่าวถึง RFID (Radio Frequency Identification tag) กันอย่างกว้างขวางมาก ว่าจะเข้ามาแทนที่ตำแหน่งของบาร์โค้ดในที่สุด และยังจะเขยิบเข้าไปในงานประยุกต์อื่นๆ ที่เคยอยู่นอกเหนือจินตนาการ RFID สามารถใช้ติดสินค้าและป้อนข้อมูลต่างๆ เข้าไปหรืออ่านข้อมูลออกมา ทำให้สินค้าถูกติดตามได้ตั้งแต่ออกจากแหล่งกำเนิด ไปสู่ผู้บรรจุ ไปยังรถหรือเรือส่งสินค้า ห้างสรรพสินค้า ไปจนกระทั่งถึงถังขยะ และแหล่งทำลายหรือนำกลับมาใช้ใหม่ นัยสำคัญของ RFID ไม่ใช่เป็นเพียงป้ายเก็บข้อมูลเพื่อทำสต็อกสินค้าเท่านั้น หากแต่มันยังมีคุณูปการต่อการควบคุมคุณภาพสินค้า ตลอดจนความปลอดภัยของผู้บริโภค ผู้ผลิตสามารถนำข้อมูลที่เก็บใน RFID ไปทำการตลาดได้ การนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ซึ่งเคยมีต้นทุนที่สูงลิ่วจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น บริษัทวิจัยตลาด IDTechEx คาดการณ์ว่าในปี ค.ศ. 2007 นี้ มูลค่าตลาดของชิพ RFID ที่ผลิตขึ้นจะสูงถึง 1.71 พันล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อรวมกับอุปกรณ์พ่วงอื่นๆ ที่นำมาใช้งานร่วมกับ RFID จะมีมูลค่าสูงถึง 4.96 พันล้านเหรียญ และเมื่อถึงปี ค.ศ. 2017 ก็จะมีมูลค่ากว่า 28 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ผลิตภัณฑ์อีกประเภทหนึ่งที่มีความเชื่อมโยงกับ RFID ก็คือ บรรจุภัณฑ์ฉลาด โดยมันอาจจะหยิบยืม RFID มาช่วยงานร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆ ด้วย เช่น เซ็นเซอร์ แบตเตอรีฟิล์มบาง ฟิล์มแสดงผล เป็นต้น บริษัท NanoMarkets ประมาณการมูลค่าตลาดของบรรจุภัณฑ์ฉลาดในปี ค.ศ. 2013 ที่ 14.1 พันล้านเหรียญ โดยบรรจุภัณฑ์ฉลาดจะเริ่มเข้าไปมีบทบาทในสินค้าประเภทอาหาร เกษตร และเภสัช โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับความสดของอาหาร บรรจุภัณฑ์ที่ต่อต้านจุลชีพซึ่งสามารถปลดปล่อยยาปฏิชีวนะออกมาจัดการเชื้อโรคได้ด้วยตนเอง หรือ อย่างน้อยก็แจ้งเตือนผู้บริโภคได้
บริษัท NanoMarkets ประมาณการว่าการใช้งานบรรจุภัณฑ์ฉลาดสำหรับสินค้าอาหารจะเพิ่มจาก 160 ล้านเหรียญในปี ค.ศ. 2006 ไปเป็น 8.8 พันล้านเหรียญในปี ค.ศ. 2013 ส่วนทางด้านเครื่องสำอางนั้นจะมีการเพิ่มการใช้งานจากเพียง 9 ล้านเหรียญสหรัฐในปี ค.ศ. 2006 ไปเป็น 618 ล้านเหรียญในปี ค.ศ. 2013
ผลิตภัณฑ์อีกประเภทหนึ่งที่มีความเชื่อมโยงกับ RFID ก็คือ บรรจุภัณฑ์ฉลาด โดยมันอาจจะหยิบยืม RFID มาช่วยงานร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆ ด้วย เช่น เซ็นเซอร์ แบตเตอรีฟิล์มบาง ฟิล์มแสดงผล เป็นต้น บริษัท NanoMarkets ประมาณการมูลค่าตลาดของบรรจุภัณฑ์ฉลาดในปี ค.ศ. 2013 ที่ 14.1 พันล้านเหรียญ โดยบรรจุภัณฑ์ฉลาดจะเริ่มเข้าไปมีบทบาทในสินค้าประเภทอาหาร เกษตร และเภสัช โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับความสดของอาหาร บรรจุภัณฑ์ที่ต่อต้านจุลชีพซึ่งสามารถปลดปล่อยยาปฏิชีวนะออกมาจัดการเชื้อโรคได้ด้วยตนเอง หรือ อย่างน้อยก็แจ้งเตือนผู้บริโภคได้
บริษัท NanoMarkets ประมาณการว่าการใช้งานบรรจุภัณฑ์ฉลาดสำหรับสินค้าอาหารจะเพิ่มจาก 160 ล้านเหรียญในปี ค.ศ. 2006 ไปเป็น 8.8 พันล้านเหรียญในปี ค.ศ. 2013 ส่วนทางด้านเครื่องสำอางนั้นจะมีการเพิ่มการใช้งานจากเพียง 9 ล้านเหรียญสหรัฐในปี ค.ศ. 2006 ไปเป็น 618 ล้านเหรียญในปี ค.ศ. 2013
ถึงเวลาแล้วล่ะครับที่ประเทศไทยจะต้องให้ความสนใจกับเทคโนโลยีนี้ เพราะเรามีสินค้าประเภทอาหาร เกษตร เยอะ ได้ยินมาว่าทาง NECTEC ก็กำลังคิดจะขยับตัวอยู่ครับ ......
(ภาพด้านบน - ripeSense – เซ็นเซอร์ตรวจความสุกของลูกแพร์ ซึ่งอาจทำให้มีราคาถูกได้ด้วยวิธีการพิมพ์)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น