วิเคราะห์สถานภาพทางด้านนาโนศาสตร์ และ นาโนเทคโนโลยี ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับ ประเทศคู่แข่ง เพื่อช่วยผลักดันให้ประเทศไทย เป็น Nano Valley of ASEAN
27 มกราคม 2554
Making Things Love - ทำโลกนี้ให้มีแต่รัก (ตอนที่ 4)
พวกเรามักจะได้ยินคำพูดที่ว่า "จงใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์" แต่ในหนังสือ Descartes' Error ศาสตราจารย์ อันโตนีโอ ดามาสิโอ (Antonio Damasio) แห่งมหาวิทยาลัยเซาเทอร์น แคลิฟอร์เนีย (University of Southern California) กลับเสนอแนวคิดใหม่ที่ว่า คนที่รู้จักใช้อารมณ์เป็น หรือมีความฉลาดทางอารมณ์สูงต่างหาก ที่จะมีความสามารถในการใช้เหตุผลได้ดีด้วย พูดอีกอย่างก็คือ อารมณ์และเหตุผลเป็นของคู่กัน แยกออกจากกันไม่ได้ สิ่งทั้งสองอย่างนี้พึ่งพากันและกัน อารมณ์เป็นตัวช่วยในการใช้ตรรกะและเหตุผล รวมไปถึงการตัดสินใจต่างๆ ทั้งด้านบวกและลบ และบ่อยครั้งที่เป็นการทำแบบไม่รู้ตัว
ในภาษาอังกฤษ มีคำที่ใช้อธิบายอารมณ์อยู่ 3 คำครับ คือคำว่า Affect, Emotion และ Mood ผมไม่รู้ว่าจะหาคำเป็นภาษาไทยมาใช้แทน 3 คำนี้ยังไงครับ แต่จะพยายามดูนะครับ คำว่า Affect นี้เป็นคำที่ใช้แทนความหมายรวมๆ ของสภาวะอารมณ์ต่างๆ ของมนุษย์ คือใช้แทนได้ทั้ง Emotion และ Mood โดยคำว่า Emotion มักใช้กันเพื่อแทนสภาพอารมณ์ในขณะหนึ่งขณะใดของคนเรา ซึ่งระยะเวลาอาจอยู่ในช่วงวินาทีถึงหลายๆ นาที โดยอารมณ์นั้นๆ มักจะมีสาเหตุหรือตัวการอย่างชัดเจน และผู้ที่เกิดอารมณ์อยู่ก็มักจะรู้ตัวว่าตัวเองมีอารมณ์นั้นๆ อยู่ แต่คำว่า Mood นั้นเป็นสภาพอารมณ์พื้นหลังที่มักจะเกิดและดำรงอยู่นานกว่า สภาวะอารมณ์พื้นหลังหรือ Mood นี้มักจะไม่ค่อยรู้สาเหตุที่แน่นอน และมันก็ไม่จำเพาะกับตัวการหนึ่งใดเป็นพิเศษ เจ้าสภาวะอารมณ์พื้นหลังนี้เองครับ ที่มีผลต่อจิตใจของคนเรามาก มันนำไปสู่ความสามารถในเรื่องความทรงจำ การตัดสินใจต่างๆ รวมไปถึงทัศนคติและความคิดเห็นของเราได้ การบริหารอารมณ์ให้มี Mood แต่ในทางบวก ยังมีผลให้เราเป็นคนสุขภาพแข็งแรงด้วยนะครับ
การตรวจวัดอารมณ์ของมนุษย์ เท่าที่ผมทราบนั้น สามารถตรวจวัดได้ 3 วิธีครับ คือ
(1) การตรวจวัดสัญญาณทางสรีรวิทยา (Physiological signal) ได้เคยมีรายงานวิจัยที่ระบุว่า อารมณ์ของคนเรามีความสัมพันธ์กับสัญญาณทางสรีรวิทยาต่างๆ ที่สามารถ ตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือ เช่น การนำไฟฟ้าบนผิวหนัง อุณหภูมิผิวหนัง อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต อัตราการหายใจ ระดับอ็อกซิเจนในเลือด สัญญาณสมอง (EEG) เป็นต้น
(2) การประเมินทางจิตวิทยา (Psychological assessment) เป็นวิธีง่ายๆ ที่แม่นยำที่สุด โดยการให้ผู้ที่เราตรวจวัดประเมินความรู้สึกและสภาพอารมณ์ของตนเองนี่แหล่ะครับ โดยการประเมินอาจใช้การบอกออกมาว่ารู้สึกยังไง การบอกสเกลของสภาพอารมณ์ การทำ checklists ต่างๆ การตอบแบบสอบถาม และการประเมินเชิงสถิติ เป็นต้น ปัญหาก็คือ ถ้าไปเจอคนที่โกหก หรือไม่รู้อารมณ์ตัวเอง ผลที่ได้ก็จะขาดความแม่นยำไปเลย
(3) การตรวจวัดพฤติกรรม (Behavioral Monitoring) สภาวะอารมณ์ของคนเรามักจะแสดงออกมาทางพฤติกรรมต่างๆ ที่อาจตรวจวัดได้ เช่น การแสดงออกทางสีหน้า น้ำเสียง อากัปกริยา ท่าทาง ประสิทธิภาพในการรับรู้ (cognitive performance) อาการทางกล้ามเนื้อ (motor behavior) ซึ่งเป็นไปเพื่อต้องการสื่อสารอารมณ์ออกมา จะทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัวก็ตาม
การที่เราจะสร้างสภาพแวดล้อมให้มีอารมณ์หรือความรัก เราก็ต้องมีเทคโนโลยีในการตรวจวัดและประมวลผลอารมณ์ของมนุษย์ให้ได้ก่อนครับ
ป้ายกำกับ:
artificial intelligence,
cognitive science,
love,
robotics
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
อาจารย์นอยค่ะ
ตอบลบคิดว่าเริ่มจะเป็นขาประจำบล๊อกอาจารย์ซะแล้วค่ะ อ่นแล้วมีความรู้มากมากค่ะ
วอลอีเนี่ย ดูแล้วเข้าใจโลกมากขึ้นเหมือนกันโดยฉะเพาะ ตอนเขามีความรัก
แต่ว่า โดยมากคนเราเนี่ย 90 % อารมร์มากกว่าเหตุผลน่ะค่ะ หุหุ เอาตัวเองเป็นบรรทัดฐาน
good blog :)
ตอบลบหา definition อยู่ตั้งนานเพราะเคยเรียนในวิชาจิตวิทยา, ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ
ตอบลบ"ข้อแตกต่างระหว่าง mood และ emotion"