23 สิงหาคม 2554

BHI2012 - IEEE-EMBS International Conference on Biomedical and Health Informatics


เมื่อประมาณเกือบ 10 ปีที่แล้ว ศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering) เริ่มบูมขึ้นในประเทศไทย ตามกระแสความนิยมในต่างประเทศ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเริ่มมีการประชุมวิชาการทางด้านนี้เกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด โดยเฉพาะในย่านเอเชียของเรา บางครั้งจัดกันติดๆ เรียงเดือนกันเลยครับ ในประเทศไทยเราเอง ก็มีสมาคมหรือชมรมที่เกี่ยวข้องทางด้านนี้เกิดขึ้นถึง 3 องค์กร ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความคึกคักของการทำวิจัยเรื่องนี้ในประเทศไทย

เมื่อก่อน การทำวิจัยทางด้าน Biomedical Engineering โดยเฉพาะของไทย มักจะเกี่ยวข้องกับเครื่องมือแพทย์ หรือการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการแพทย์เป็นหลัก แต่ระยะหลังๆ มานี้ ศาสตร์ทางด้านนี้ได้ก้าวหน้าข้ามขั้นไปยังพรมแดนใหม่ๆ ออกนอกวงการแพทย์ไปสู่งานประยุกต์ด้านอื่นๆ ศาสตร์ใหม่ๆ เหล่านี้ก็ได้แก่ เรื่องของการเชื่อมโยงระหว่างสมองกับจักรกล (Brain-Machine Interface) ระบบเซ็นเซอร์ที่สวมใส่ได้หรือแม้แต่ฝังเข้าไปในร่างกาย (Implantable Devices) ระบบบ้านอัจฉริยะ (Smart Home) ระบบดูแลชีวิตความเป็นอยู่ (Ambient Assisted Living) เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีหัวข้อใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้นให้ทำกันมากขึ้น เมื่อตอนที่ศาสตร์นี้เริ่มเกิดขึ้นในประเทศไทยใหม่ๆ มีคนมาชวนผมทำวิจัย แต่ผมเห็นว่าศาสตร์ทางด้านนี้เป็นเรื่องที่น่าเบื่อ ดูแล้วไม่ค่อยสนุกเท่าไหร่ เลยรีๆ รอๆ อยู่หลายปี จนกระทั่งเมื่อปีที่แล้วนี่เองครับ ที่ผมตัดสินใจเข้ามาทำวิจัยในสาขานี้ เนื่องจากเริ่มเห็นเนื้อหาในการประชุมต่างๆ ที่เริ่มมีเรื่องใหม่ๆ ที่น่าสนุกขึ้น เมื่อปีที่แล้วนี่เอง ผมจึงตัดสินใจเริ่มพัฒนางานวิจัยทางด้านนี้ โดยได้พัฒนาถุงมืออันตรกริยา (Interactive Data Glove) หมอนและที่นอนเซ็นเซอร์ (Sleep Sensor System) รองเท้าอันตรกริยา (Interactive Data Shoe) ระบบตรวจวัดอากาศในอาคาร (Indoor Air Monitoring System) และระบบดูแลชีวิตในบ้าน (Activities of Daily Living)

ในวันนี้ผมขอแนะนำการประชุมวิชาการทางด้าน Biomedical Engineering ที่น่าสนใจ ซึ่งมีชื่อว่า BHI2012 - IEEE-EMBS International Conference on Biomedical and Health Informatics การประชุมนี้จะจัดขึ้นที่ฮ่องกง-เสินเจิ้น ระหว่างวันที่ 5-7 มกราคม พ.ศ. 2555 โดยมีหัวข้อที่เป็นที่สนใจดังนี้

I) P-STAR of Health Information
* Wearable and implantable devices
* Body sensor/area networks (BSN /BAN)
* Diagnostic and therapeutic systems
* Internet and web solutions for healthcare delivery
* Multi-scale modeling and information fusion;
* Ambient assisted living, smart homes and community healthcare systems
* Electronic health records, interoperability and connectivity
* Context-aware retrieval
* p-health, m-health, u-health, e-health systems

II) Biologically Inspired Informatics
* Virtual reality in medicine and surgery
* Bio-inspired robotics and biomimics
* Brain-computer interfacing and human–computer interfacing

III) Informatics in Biological Systems
* Neuroinformatics
* Genomics and proteomics
* Bioinformatics, computational biology

IV) Medical Imaging Informatics
* Realtime imaging
* Multimodal imaging
* Molecular imaging

V) Health Informatics Applications
* Cardiovascular informatics
* Applications in the early diagnosis and treatment of cancers

VI) Deployment of m-Health and Telemedicine
* p-health, m-health, u-health, e-health systems
* Deployment Issues

กำหนดส่งบทความฉบับเต็มคือวันที่ 14 ตุลาคม 2554 นะครับ โดยผลงานที่ได้รับการตอบรับให้ไปเสนอในที่ประชุม จะได้รับการบรรจุในฐานข้อมูล IEEE และ SCOPUS โดยบทความบางเรื่องจะได้รับคัดเลือกให้พัฒนาต่อเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร IEEE Transactions on Information Technology in Biomedicine

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น