วิเคราะห์สถานภาพทางด้านนาโนศาสตร์ และ นาโนเทคโนโลยี ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับ ประเทศคู่แข่ง เพื่อช่วยผลักดันให้ประเทศไทย เป็น Nano Valley of ASEAN
15 ตุลาคม 2553
DARPA หวังใช้ Facebook พัฒนาเด็กรุ่นใหม่เพื่อกองทัพแห่งอนาคต
นับตั้งแต่นางเรจินา ดูแกน (Regina Dugan) ได้เข้ามากุมบังเหียน ในตำแหน่งผู้อำนวยการของ DARPA ซึ่งเป็นหน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัยทางด้านกลาโหมของสหรัฐอเมริกาเมื่อปลายปีที่แล้ว เธอได้ให้ความสำคัญกับเด็กๆ มากกว่าอดีตผู้อำนวยการทุกๆ คนที่ผ่านมา ในวันที่เธอแถลงต่อหน้าคณะกรรมาธิการด้านการทหารของสภาผู้แทนฯ เธอได้แสดงถึงความเป็นห่วงเป็นใย ต่อข้อมูลที่ระบุว่า นับตั้งแต่ปีค.ศ. 2000 เป็นต้นมา มีเด็กอเมริกันเรียนจบมหาวิทยาลัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี น้อยลงถึง 43 เปอร์เซ็นต์ ถ้อยแถลงตอนหนึ่งที่เธอกล่าวอย่างเป็นห่วงว่า "มันจะเป็นหายนะของประเทศสหรัฐอเมริกาเลย หากนักเรียนไปเลือกเรียนสังคมศาสตร์ หรือ มนุษยศาสตร์ มากขึ้น รัฐบาลสหรัฐฯ จะต้องเร่งดำเนินการโดยเร็ว เพื่อมิให้เกิดวิกฤตความขาดแคลนนักวิทยาศาสตร์อย่างรุนแรงในอนาคต" ทำให้สภาผู้แทนฯ อนุมัติงบประมาณให้ DARPA โดยแทบไม่แตะเงินในโครงการที่เกี่ยวข้องกับเด็กเลย
ในช่วงปีที่แล้ว นางดูแกนได้เดินทางไปยังมหาวิทยาลัยทั่วสหรัฐอเมริกา เพื่อไปบอกเด็กเก่งๆ ทั้งหลายว่า "มาช่วยกันเถอะ กองทัพต้องการคนเก่งๆ ขั้นเทพอย่างพวกคุณ" และในปีนี้เอง DARPA จะทำงานเชิงรุกหนักขึ้นไปอีก ด้วยการไปช้อนเอาเด็กเก่งๆ มาช่วยงานกองทัพกันตั้งแต่ระดับมัธยมเลยทีเดียวครับ ล่าสุดนางได้เสนอให้มีการนำเครือข่ายสังคมอย่าง Facebook มาใช้ช่วยงานกองทัพอย่างจริงจัง โดยได้อัดฉีดเงินจำนวน 10 ล้านเหรียญสหรัฐ (300 ล้านบาท) ให้แก่โครงการที่มีชื่อว่า Manufacturing Experimentation and Outreach หรือเรียกอย่างย่อๆ แต่สุดเท่ห์ว่า MENTOR
โครงการ MENTOR มีเป้าหมายเพื่อที่จะสร้างนักออกแบบระบบ และนวัตกรด้านการผลิตแห่งอนาคต โดยเริ่มกันตั้งแต่เด็กๆ ในวัยมัธยมกันเลยทีเดียว โครงการนี้จะส่งเสริมให้มีการใช้ Facebook อย่างสร้างสรรค์ โดยจะให้เด็กๆ รวมทีมทั้งภายในโรงเรียนเดียวกัน และแพ็คทีมกับโรงเรียนอื่นๆ เพื่อสร้างสรรสิ่งประดิษฐ์ประเภทกลอิเล็กทรอนิกส์ (Electro-Mechanical System) ต่างๆ ตัวอย่างเช่น หุ่นยนต์ รถที่ขับเอง อากาศยานไร้นักบิน และอื่นๆ ตามแต่จินตนาการของเด็กๆ DARPA ฝันเอาไว้ว่าเมื่อโครงการสิ้นสุดในอีก 4 ปีข้างหน้า จะมีเด็กๆ เข้าร่วมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 1,000 โรงเรียนทั่วสหรัฐฯ มากเพียงพอที่จะเป็นเชื้อสำหรับเติมเต็มบุคลากรวิจัยด้านอาวุธของสหรัฐอเมริกาในอนาคต
หันมามองเมืองไทยแล้ว เศร้าไหมครับ ?
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ผมเข้ามาแอบอ่านบทความหลายครั้งแล้วครับ เลยได้เห็นทัศนคติหลายๆอย่างของ อาจารย์ (ผมของเรียกว่าอาจารย์นะครับเพราะผมยังเป็นเด็กมหาลัยอยู่) ผมชอบเรื่องเทคโนโลยีพวกนี้มากแล้วก็หาความรู้เองบ้างถามจากอาจารย์ที่สอนบ้าง แต่อีกใจหนึ่งก็ชอบทางด้านเกษตรกรรม พวกธรรมชาติ หรือการเพาะปลูกอะไรพวกนี้ พอได้อ่านบทความที่อาจารย์เอามาลงก็ดีใจ และอดยิ้มไม่ได้ครับ เพราะบทความที่เอสมาลงมีความหลากหลายและก้เป็นประโยชน์มากทีเดียว พูดมายาวสุดท้าบผมแต่อยากจะขอบคุณเท่านั้นแหละครับ ฮ่าๆๆๆ
ตอบลบขอบคุณมากที่ติดตามบล็อกนะครับ ผมก็ดีใจที่มีเด็กๆ เข้ามาอ่าน ผมหวังว่าบทความต่างๆ เหล่านี้จะสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่ ซึ่งมีหลายๆ เรื่อง ที่คนรุ่นผม หรือคนก่อนรุ่นผมได้ทำผิดพลาดมาก่อน โดยหวังว่า ประเทศเราจะสามารถก้าวกระโดดแบบเกาหลีใต้บ้างครับ
ตอบลบแล้วถ้าจะให้เรื่องเศร้านี้ลดลงหรือหมดไปจะทำอย่างไรดีครับอาจารย์ ถ้ามองให้เป็นรูปธรรมขึ้น เครือข่าย KM อย่าง http://www.nanopaprika.eu/ ก็คงเหมือน gotoknow.org ซึ่งจำกัดวงเฉพาะกลุ่มคนทำงาน นักศึกษามหาวิทยาลัย แล้วทำอย่างไรเรื่องพวกนี้จะลงไปถึงเด็กๆรุ่นใหม่ได้ ใครจะร่วมกันชี้นำพวกเขา สังคมบ้านเราต้องการ กลุ่มแบบพวก แผลงฤทธิ์ Group เยอะๆ ใช่ไหมครับ
ตอบลบ