วิเคราะห์สถานภาพทางด้านนาโนศาสตร์ และ นาโนเทคโนโลยี ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับ ประเทศคู่แข่ง เพื่อช่วยผลักดันให้ประเทศไทย เป็น Nano Valley of ASEAN
31 ตุลาคม 2552
The Science of Mate Poaching - วิทยาศาสตร์ของการมีกิ๊ก (ตอนที่ 3)
29 ตุลาคม 2552
Are We Simulated in Computer ? - ฤาโลกนี้เป็นเพียงฝัน (ตอนที่ 5)
ปัจจุบันเราได้นำการจำลองคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างกว้างขวางในหลายสาขาวิชาทั้ง ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา วิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเงิน จิตวิทยา ไปจนถึงสังคมศาสตร์ การทหาร อุตุนิยมวิทยา การจราจร สิ่งแวดล้อม และอื่นๆ อีกมากมาย ในอนาคต เมื่อเรามีศักยภาพทางด้านการคำนวณก้าวหน้าขึ้นไประดับหนึ่ง เราคงจะเริ่มจำลองอารมณ์ ความรู้สึก ความรัก ไปจนถึงชีวิต ..... สิ่งที่เกิดขึ้นนี้อาจจะทำให้เราอยากตั้งคำถามเหมือนกันว่า .... ชีวิตที่เรากำลังอาศัยอยู่นี้ แฟนของเราที่เดินจูงมือกันอยู่ทุกวันนี้ รวมทั้งตัวเราเอง .... เป็นของจริง หรือ เกิดจากการจำลองกันแน่ ???
28 ตุลาคม 2552
อากาศยานลอยค้างฟ้า
27 ตุลาคม 2552
Science of Meme - ศาสตร์แห่งการเอาอย่างกัน (ตอนที่ 2)
25 ตุลาคม 2552
Science of Meme - ศาสตร์แห่งการเอาอย่างกัน (ตอนที่ 1)
24 ตุลาคม 2552
อังกฤษทุ่ม 3.3 พันล้านเหรียญ วิจัยเกษตร-อาหาร
ผมเคยเขียนบ่อยๆ ว่า ประเทศไทยที่พวกเราภาคภูมิใจนักหนาว่า เก่งทางด้านเกษตรกรรม เป็นครัวของโลก อีกหน่อยอาจจะไม่มีที่ยืนในเรื่องเกษตรก็ได้นะครับ เพราะเริ่มมีประเทศที่อยากจะทำเกษตรเป็นครัวโลกแทนเรา มากขึ้นเรื่อยๆ แล้วครับ ประเทศอาหรับที่รวยน้ำมันก็เริ่มทุ่มงบเพื่อพัฒนาการเกษตรในทะเลทราย ประเทศยุโรปเริ่มมีแนวคิดในการปลูกเนื้อสัตว์ (in vitro meat) เพื่อทดแทนการทำปศุสัตว์
ล่าสุด ทีมศึกษาสถานภาพและแนวโน้มด้านเกษตรและอาหาร ของสหราชอาณาจักร ได้ออกมาสรุปผลการศึกษา และเสนอให้รัฐบาลทุ่มงบวิจัยด้านเกษตรและอาหารปีละ 200 ล้านปอนด์ ตลอดช่วงระยะ 10 ปีต่อไปนี้ เพื่อที่จะทำให้โลกมีอาหารเพียงพอที่เลี้ยงประชากรโลกที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 9 พันล้านคนในอีก 40 ปีข้างหน้า ซึ่งรายงานนี้เสนอทุกวิถีทางที่จะทำให้เกิดความมั่นคงด้านอาหาร เช่น การพัฒนาพืชที่ทนต่ออากาศร้อน พืชที่ทนต่อพิษของโลหะ ข้าวที่ทนน้ำท่วม ซูเปอร์พืชที่ผลผลิตสูง รวมทั้งการกลับมาวิจัยและพัฒนาพืช GMO ด้วย
20 ตุลาคม 2552
The Future of Meat - อนาคตของอาหารเนื้อสัตว์ (ตอนที่ 5)
The Future of Meat - อนาคตของอาหารเนื้อสัตว์ (ตอนที่ 4)
(2) เนื้อไก่ที่ปลูกขึ้นมานี้ ต้องผลิตในจำนวนที่มากพอจะขายได้ ด้วยราคาที่แข่งขันได้กับเนื้อไก่ของจริง (ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้ามาจากประเทศไทย)
(3) ขณะนี้ทาง Peta ได้ทำการฝึกนักชิมประมาณ 10 คน เตรียมความพร้อมเพื่อจะชิมเนื้อไก่ที่เกิดจากการปลูก โดยจะใช้มาตรฐานการชิมเนื้อไก่ที่ได้รับการยอมรับ
17 ตุลาคม 2552
Chembot - หุ่นยนต์เปลี่ยนรูปได้ (ตอนที่ 3)
ความสนใจในเรื่องของหุ่นยนต์ที่นุ่มนิ่ม ยืดหยุ่น เริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ ครับ ผมจะนำความก้าวหน้าทางด้านนี้มาเล่าให้ฟังอีกครับ .......
14 ตุลาคม 2552
Robot Killer - หุ่นยนต์สังหาร
น่าสนใจใช่ไหมครับ .... ผมคิดว่าอีกไม่นาน เราจะได้เห็นหุ่นยนต์สงครามอย่าง คนเหล็ก หรือ Terminator แล้วครับ ....
12 ตุลาคม 2552
Ecological Robot - หุ่นยนต์หากินเอง (ตอนที่ 3)
11 ตุลาคม 2552
The 2010 International Conference On Bioinformatics and Biomedical Technology (ICBBT 2010)
เมืองเฉินตู เป็นเมืองแห่งวัฒนธรรม เป็นเมืองกำเนิดเจ้าหมีแพนด้าที่น่ารัก เมืองนี้มีภูมิประเทศที่สวยงามมาก ผู้คนก็อัธยาศัยดี สาวเฉินตูมีเสน่ห์ น่ารัก พูดจาเพราะเหมือนสาวเชียงใหม่ของเรา ผมเคยได้ยินว่าผู้ชายที่ไปเยือนเมืองเฉินตูมักจะบ่นเสียดายที่ตัวเองแต่งงานแล้ว เพราะผู้หญิงที่นั่นน่าแต่งงานด้วยมาก ......
กำหนดส่ง Full Paper (ส่ง paper ฉบับเต็ม ไม่ใช่แค่ abstract นะครับ) คือวันที่ 5 ธันวาคม 2552 ครับ หัวข้อการประชุมได้แก่
Bioinformatics and Computational Biology
Protein structure, function and sequence analysis
Protein interactions, docking and function
Computational proteomics
DNA and RNA structure, function and sequence analysis
Gene regulation, expression, identification and network
Structural, functional and comparative genomics
Gene engineering and protein engineering
Computational evolutionary biology
Drug design and computer aided diagnosis
Data acquisition, normalization, analysis and visualization
Algorithms, models, software, and tools in Bioinformatics
Any novel approaches to bioinformatics problems
Biomedical Engineering
Biomedical imaging, image processing & visualization
Bioelectrical and neural engineering
Biomechanics and bio-transport
Methods and biology effects of NMR/CT/ECG technology
Biomedical devices, sensors, and artificial organs
Biochemical, cellular, molecular and tissue engineering
Biomedical robotics and mechanics
Rehabilitation engineering and clinical engineering
Health monitoring systems and wearable system
Bio-signal processing and analysis
Biometric and bio-measurement
Other topics related to biomedical engineering
Other Related Topics
Biostatics
Biometric
Biomeasurement
Biomechanics
Biophysics
Biochemistry
Biomathematics
Bioengineering
System biology
10 ตุลาคม 2552
Artificial Sense - สัมผัสประดิษฐ์ (ตอนที่ 2)
- เหยี่ยวมีสายตาที่มองได้ไกล ระดับที่เรียกว่า 20/5 กล่าวคือมันสามารถจะมองเห็นภาพที่คนเราเห็นในระยะ 5 เมตร ได้ในระยะ 20 เมตร
- แมงกระพรุนบางชนิดมีดวงตาถึง 24 ดวง ทำให้มันมองเห็นได้รอบตัว
- ยุงมีระบบประสาทที่ไวต่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ความร้อนและความชื้นจากร่างกาย
- ผีเสื้อราตรีสามารถตามกลิ่นสาวๆ ของมันจากฟีโรโมนในระยะ 5 กิโลเมตร บางชนิดไปได้ถึง 11 กิโลเมตร จากความเข้มข้นของโมเลกุลเพียง 1 ใน 100,000,000,000,000,000 ส่วนของโมเลกุลอากาศ
09 ตุลาคม 2552
Smart Vineyard - ไร่องุ่นอัจฉริยะ (ตอนที่ 1)
สิ่งที่สำคัญมากในการทำฟาร์มพืชแบบที่เรียกว่า Outdoor Agriculture หรือ การเกษตรในที่แจ้ง ก็คือการรู้สภาวะแวดล้อมต่างๆ ทั้งในระดับรอบๆต้นพืชอย่างที่เราเรียกกันว่า microclimate ไปจนถึงระดับทั้งไร่ ที่เรียกกันว่า mesoclimate ไปจนถึงระดับใหญ่กว่านั้นที่เรียกว่า macroclimate ซึ่งเป็นระดับพื้นที่ใหญ่ในบริเวณกว้าง เมื่อรู้สภาวะอากาศว่ากำลังจะเกิดอะไร จะได้จัดการได้ถูกว่าจะให้น้ำอย่างไร เมื่อไหร่ จะให้ยาหรือไม่ สำหรับพืชอย่างองุ่นไวน์ การรู้สภาพอากาศตั้งแต่พื้นที่เล็กไปใหญ่ยังไม่เพียงพอ แต่จะต้องรู้ในเรื่องของเวลาด้วยครับว่าจะเกิดเมื่อไหร่ด้วย ดังนั้นเจ้าของไร่จะต้องสามารถคาดคะเนสภาพอากาศทั้ง short-term weather (1 ชั่วโมง - 3 วันข้างหน้า), mid-term weather (3 วัน - 2 สัปดาห์) และ long-term weather (2 สัปดาห์ - 3 เดือน) หรือแม้แต่ seasonal weather (3 เดือน - 1 ปี) ซึ่งเจ้าของไร่จะนำไปใช้ในการวางแผนการตัดแต่งองุ่น เพื่อให้องุ่นออกดอกในช่วงที่ไม่มีฝนตกครับ
07 ตุลาคม 2552
Robot Evolution - หุ่นยนต์วิวัฒน์ (ตอนที่ 5)
นักประสาทวิทยาเชื่อว่า สติหรือความระลึกรู้ เกิดจากการทำงานของสมองหลายๆส่วน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง จักรกลก็น่าจะทำให้มีสติได้ ด้วยการสร้างส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องขึ้นมาทำงานร่วมกัน ศาสตร์ที่ว่านี้เราเรียกว่า สติประดิษฐ์ หรือ Artificial Consciousness หรือ Machine Consciousness ซึ่งเป็นศาสตร์ที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากครับ ศาสตร์ทางด้านนี้เข้าใจยากมากครับ แต่มีความสำคัญ เพราะมันจะทำให้มนุษย์และหุ่นยนต์ เขยิบเข้ามาใกล้ชิดกันมากขึ้นครับ
คืนนี้ผมนอนอยู่ที่ไร่องุ่น มาทำงานภาคสนาม 3 วันครับ มองออกไปข้างนอกมืดและเงียบมากครับ วันหลังผมจะกลับมาเขียนเรื่องนี้ต่อครับ เพราะจริงๆ แล้วยังมีคำถามอีกมากมาย เช่น จักรกลมีรักได้หรือไม่ จักรกลมีความสุขได้หรือไม่ ..........
04 ตุลาคม 2552
The Future of Meat - อนาคตของอาหารเนื้อสัตว์ (ตอนที่ 3)
วันนี้เป็นวันออกพรรษา หลายๆท่านคงจะออกไปทำบุญกัน ผมมีเพื่อนหลายคนครับที่พยายามจะงดดื่มเครื่องดื่มอัลกอฮอล์ ในระหว่างเข้าพรรษา (ผมก็เลิกเหล้าเข้าพรรษากับเขาเหมือนกันครับ แต่เบียร์ไวน์ ยังดื่มอยู่) แต่ส่วนหนึ่งก็พรรษาแตกกันใกล้ๆ จะออกนี้แล้ว บางคนก็อยู่มาถึงวันนี้ พรุ่งนี้คงไปฉลองกันใหญ่
วันนี้บรรยากาศออกแนวพุทธ พุทธ ผมเลยขอคุยต่อในเรื่องของแนวโน้มใหม่ ที่เราอาจจะมีโอกาสทำบาปน้อยลงจากการบริโภคเนื้อสัตว์ ในตอนที่แล้ว ผมได้พูดถึงเรื่องการ "ปลูกเนื้อสัตว์" หรือ in vitro meat ซึ่งจะทำให้เราปลูกสัตว์ได้เหมือนปลูกพืช ซึ่งเราจะสามารถปลูกน่องไก่ ตับหมู เนื้อสันนอก เนื้อสันใน เป็นต้น
ก่อนหน้านี้ ผมเคยพูดถึงเรื่องการทำไร่ในอาคารสูง ซึ่งว่ากันว่าจะเป็นอนาคตของเกษตรกรรม เพราะการผลิตพืชอาหาร จะย้ายจากชนบทมาสู่เมือง เป็นการนำสถานที่ผลิตมาอยู่ใจกลางสถานที่บริโภค เขาวิจัยออกมาแล้วครับว่า การอยู่ในเมืองมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานและทรัพยาการมากกว่าการกระจายกันอยู่ในชนบท ถ้ามนุษย์ทั้งหมดย้ายเข้ามาอยู่รวมกันในเมือง เราสามารถคืนพื้นที่การเกษตรกลับสู่ธรรมชาติ ปล่อยให้ป่ากลับสู่สภาพเดิมของมัน การทำไร่ในอาคารสูงสามารถที่จะทำในจุดที่มีการบริโภค เช่น บนอาคารมีการผลิตพืชผักแล้วขายในซูเปอร์มาเก็ตชั้นล่างได้เลย หากนำเทคโนโลยีการทำไร่ในอาคารสูง มารวมกับเทคโนโลยีปลูกสัตว์ เราก็จะได้ระบบเกษตรกรรมในเมือง (Urban Agriculture) ที่สมบูรณ์แบบครับ มีทั้งการผลิตพืชและสัตว์ในเมือง เมืองจะเป็น Sustainable City ไม่ต้องพึ่งพาชนบทอีกต่อไป
(ภาพบน - วัวเป็นสัตว์ที่น่ารักไม่ต่างอะไรจากหมีแพนด้า แต่เนื้อของมันก็อร่อย .... เมื่อไหร่เราจะเลิกเบียดเบียนพวกมันได้เสียที .....)
02 ตุลาคม 2552
Shadow Biosphere - โลกของสิ่งมีชีวิตในเงามืด
จริงๆ แล้วในปัจจุบัน ก็ยังมีการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่กันอยู่เรื่อยๆครับ นักชีววิทยาคนไหนหาเจอก็นำไปขอศาสตราจารย์ได้ไม่ยาก ว่ากันว่ายังมีสิ่งมีชีวิตชนิดที่ยังไม่ถูกค้นพบอีกมากมาย โดยเฉพาะพวกจุลชีพ และสัตว์ทะเลน้ำลึก แต่การค้นพบเหล่านี้ก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่โตเหมือนในสมัยของดาร์วิน เพราะสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นก็ยังอยู่บนพื้นฐานเดียวกัน คือ มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก และ มีดีเอ็นเอเป็นสารพันธุกรรรม คำถามก็คือ มีสิ่งมีชีวิตในรูปแบบอื่นๆอีกหรือไม่ ?