วิเคราะห์สถานภาพทางด้านนาโนศาสตร์ และ นาโนเทคโนโลยี ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับ ประเทศคู่แข่ง เพื่อช่วยผลักดันให้ประเทศไทย เป็น Nano Valley of ASEAN
30 พฤศจิกายน 2552
กายอวตาร (ตอนที่ 1)
29 พฤศจิกายน 2552
Materials Intelligence - วัสดุปัญญา (ตอนที่ 5)
เมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว เพื่อนๆ ของผมที่มหาวิทยาลัยมหิดล มีแผนการที่จะเปิดหลักสูตรวัสดุศาสตร์ (Materials Science) สำหรับระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ในตอนนั้นพวกเราคุยกันว่า หลักสูตรนี้จะมีจุดขายอย่างไร จะมีเอกลักษณ์อย่างไร และจะสู้มหาวิทยาลัยอื่นๆ ได้หรือไม่ เพราะหลักสูตรวัสดุศาสตร์นี้มีมานานแล้วในประเทศไทย มหาวิทยาลัยมหิดลทำช้ากว่าเขาตั้ง 20 ปีเลยเชียวครับ
ผมจึงเสนอว่า หลักสูตรที่พวกเราจะเปิดขึ้นนี้เราไม่ต้องไปแข่งกับมหาวิทยาลัยอื่นๆในประเทศหรอก แต่เราควรข้ามช็อตไปแข่งกับสิงคโปร์ไปเลย เพราะเป็นที่รู้กันว่าหลักสูตรของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) นั้นลอกแบบมาจาก MIT ซึ่งเป็นตักศิลาของโลกทางด้านนี้ หลักสูตรวัสดุศาสตร์แบบใหม่ที่มหิดลนี้ เราจะใช้ชื่อว่า Materials Science and Engineering เพราะเราจะไม่เล่นกับวัสดุโง่ (Dumb Materials) อีกแล้ว แม้แต่วัสดุฉลาด (Smart Materials) ก็ยังเจ๋งไม่พอ แต่พวกเราจะต้องไปวิจัยวัสดุที่เหนือขั้นไปอีก เพื่อนๆผมถามว่าแล้วมันคืออะไร ? พอผมพูดคำว่า "วัสดุปัญญา ....ไงล่ะน้อง" คนขำกลิ้งกันเกือบทั้งห้อง รวมทั้งตัวผมเองด้วย เพราะจริงๆ แล้ว ผมก็พูดสนุกๆ ไปอย่างนั้นเอง ยังไม่คิดว่าเราจะมี "ปัญญา" ทำวัสดุแบบนั้นหรอกครับ ......
แต่ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา จากการศึกษางานวิจัยของโลก ทางด้านชีววิทยาหลายๆ ด้านที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ชีวกลศาสตร์ วิศวกรรมเนื้อเยื่อ วิศวกรรมเซลล์ ประสาทวิศวกรรม ชีวพฤติกรรมศาสตร์ เป็นต้น ทำให้นานวันผมยิ่งมั่นใจในการมาถึงของ "วัสดุปัญญา" ที่ว่านี้ วันนี้เรายิ่งแน่ใจในเส้นทางของหลักสูตร Materials Science and Engineering ว่าจะต้องเดินไปตามเส้นทางเพื่อค้นหาวัสดุปัญญาที่ว่านี้
วัสดุปัญญาเป็นเรื่องของการบูรณาการศาสตร์หลายๆ ด้านทั้งฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยาของวัสดุ โดยเชื่อมโยงสมบัติเชิงรูปธรรม (Physical) ของมัน เข้ากับนามธรรม (ตรรกะ ความจำ เหตุผล เป็นต้น) ดังนั้นศาสตร์ทางด้านคณิตศาสตร์ และ คอมพิวเตอร์ จึงเข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อให้วัสดุยุคหน้า ทำตัวเสมือนเป็นสิ่งมีชีวิต
ในตอนหน้าผมจะมาพูดถึงวัสดุปัญญารูปแบบหนึ่งครับ นั่นคือวัสดุวิวัฒน์ (Evolvable Materials) ครับ ......
25 พฤศจิกายน 2552
Kansei Engineering - วิศวกรรมอารมณ์
23 พฤศจิกายน 2552
The Future of Meat - อนาคตของอาหารเนื้อสัตว์ (ตอนที่ 6)
หากคำกล่าวของศาสตราจารย์ โพสต์ เป็นจริง อีก 10 ปี เราจะเริ่มเห็นการกีดกันทางการค้าจากสหภาพยุโรป เนื้อไก่จริงจะเริ่มถูกกีดกัน ด้วยข้อหาทรมานสัตว์ ไก่ส่งออกของไทยที่มีมูลค่ากว่า 50,000 ล้านบาทต่อปี (พ.ศ. 2551) คงจะหาอนาคตไม่เจอ ...........
21 พฤศจิกายน 2552
Body Electronics - อิเล็กทรอนิกส์บนผิวกายมนุษย์ (ตอนที่ 1)
20 พฤศจิกายน 2552
ECTI-CON 2010
18 พฤศจิกายน 2552
International Conference on Science and Technology of Synthetic Metals 2010
วันนี้ขอแนะนำอีก conference ต่อกันเลยนะครับ การประชุมนี้เป็นการประชุมที่จัดมาแล้ว 19 ครั้ง และครั้งนี้เป็นครั้งที่ 20 ครับ เนื่องจากการประชุมนี้จัดทุกๆ 2 ปี ดังนั้น การประชุมนี้จึงมีอายุยาวนานถึง 40 ปีแล้วครับ ซึ่งการประชุมครั้งแรกนั้น เริ่มตั้งแต่เมื่อปรมาจารย์ทางด้านพลาสติกนำไฟฟ้าคือ Alan J. Heeger, Alan MacDiarmid and Hideki Shirakawa ได้รายงานการค้นพบพอลิเมอร์ที่มีคุณสมบัตินำไฟฟ้าได้ ซึ่งท่านทั้ง 3 ก็ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี ค.ศ. 2000
Inherently Conductive Polymers
Molecular and Polymeric Materials for Electronics, Optoelectronics, Photonics and Magnetics
Advanced Conjugated Materials and Technologies for Applications
Organic Conductors and Superconductors
Fullerenes, Carbon Nanotubes, Graphene and Related Nanostructures
Molecular Magnets and Organic Spintronics
Molecular/Polymer Transistors and Single Molecule Electronics
Organic ELs, Polymer LEDs and Displays
Energy Storage and Organic Photovoltaic Devices
Next-Generation Organic Materials and Device Applications
Supramolecules and Topological Materials
Self-Assemblies, Ordered and Super-Hierarchical Structures
Electrochemical Applications, Actuators and Sensors
Bio-Related Nanomaterials,Technologies and Applications
IEEE Nano 2010 & Nano Korea 2010
วันนี้ผมขอนำการประชุมประจำปีทางด้านนาโนเทคโนโลยีที่สำคัญงานหนึ่ง มาฝากกันครับ โดยในปีนี้แวะกลับมาจัดที่ทวีปเอเชียอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งปกติผมก็จะเน้นเอาเฉพาะการประชุมแถวๆ ไม่ไกลจากบ้านเรามานำเสนอกันครับ การประชุมนี้มีชื่อว่า IEEE NANO 2010 (10th International Conference on Nanotechnology) ซึ่งในปีนี้มีความน่าสนใจขึ้นไปอีก เพราะไปจัดร่วมกับงาน NANO KOREA 2010 ทำให้งานนี้จึงมีทั้งการประชุมแบบวิชาการหนักๆ ร่วมกับการแสดงนิทรรศการทางด้านเทคโนโลยี และการแสดงสินค้าทางนาโนเทคโนโลยีในลักษณะเทรดแฟร์ด้วยครับ
IEEE NANO 2010 จะจัดระหว่างวันที่ 17-20 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นช่วงหน้าร้อนที่อากาศในเกาหลีจะค่อนข้างสบายๆ สถานที่ที่ใช้จัดคือ KINTEX เป็นศูนย์ประชุมนานาชาติในจังหวัด Gyeonggi-do (คยองกิ-โด) ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากกรุงโซล และสนามบินนานาชาติอินชอน นั่งรถบัสหรือรถไฟประมาณ 70 นาที หัวข้องานวิจัยที่เป็นที่สนใจของการประชุมนี้ ก็คล้ายๆ กับปีก่อนๆ ได้แก่
Nanoelectronics (More Moore, More than Moore and Beyond-CMOS)
Nano-Optics, Nano-Photonics, Plasmonics, Nano-Optoelectronics
Nanofabrication, Nanolithography, Nano-Manipulation, Nanotools
Nanomaterials and Nanostructures
Nanocarbon, Nanodiamond, Graphene and CNT Based Technologies
Nano-Sensors and Nano-Membranes
Modeling and Simulation
System Integration (Nano/Micro/Macro), NEMS, and Actuators
Molecular Electronics, Inorganic Nanowires, Nanocrystals, Quantum Dots
Spintronics, Nanomagnetics
Nano-Bio Fusion, Nano-Biology, Nanomedicine
Nano-Circuits and Architectures, Reliability of Nanosystems
Nano-Robotics
Nano-Energy (Photovoltaics, Hydrogen Storage)
Nanotoxicalogy, Environment/Health/Safety (EHS)
16 พฤศจิกายน 2552
Illuminating Dress - ชุดราตรีเปล่งแสง
13 พฤศจิกายน 2552
The Science of Forgetting - ศาสตร์แห่งการลืม (ตอนที่ 5)
12 พฤศจิกายน 2552
เสริมสร้างขวัญทหาร ด้วยวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
ล่าสุดทางกองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้ออกมาประกาศสนับสนุนทุนวิจัย แก่คณะวิจัยที่สามารถค้นคว้าหากลไกในสมอง ที่อธิบายการเกิดขวัญกำลังใจของทหารได้ รวมไปถึงงานวิจัยที่จะสร้างเทคโนโลยีที่สามารถทำลายขวัญข้าศึก ทำให้ข้าศึกเกิดความรู้สึกกลัว หรือไม่อยากรบ หรือทำให้ข้าศึกเกิดการเสื่อมถอยทางจิตใจ จนนำไปสู่การยอมแพ้หรือเลิกรบ
08 พฤศจิกายน 2552
Inspiration Economy - เศรษฐกิจแบบแรงบันดาลใจ (ตอนที่ 1)
06 พฤศจิกายน 2552
Science of Meme - ศาสตร์แห่งการเอาอย่างกัน (ตอนที่ 3)
ปัญหาสังคมหลายๆ อย่างที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งเกิดจากการเอาอย่างกัน เช่น การที่เด็กวัยเรียนสมัยนี้นิยมเช่าอพาร์ทเม้นท์ อยู่ด้วยกันฉันท์สามี-ภรรยา ทั้งๆ ที่ยังอยู่ในวัยเรียน และไม่ได้แต่งงานกัน การที่คนสมัยนี้ชอบมีกิ๊กโดยไม่คิดว่ามันเป็นสิ่งที่ผิดศิลธรรม การเต้นโคโยตี้ในที่สาธารณะเช่น มอเตอร์โชว์ ทั้งๆ ที่ในสมัยก่อนมันก็คือจั๊มบ๊ะ ที่ต้องทำในสถานที่ที่ต้องขออนุญาตด้วยซ้ำ การที่เด็กมัธยมต้องไปกวดวิชาเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัย ฯลฯ ดังนั้นการเข้าใจศาสตร์ของ meme จะอาจทำให้เรามองเห็นทางออกที่จะแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ครับ ......
กระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ได้ให้ความสนใจและศึกษาเรื่อง meme สำหรับการทหารมานานแล้ว เพนทากอนเชื่อว่า ลัทธิการก่อการร้าย การลอบโจมตีทหารสหรัฐฯ ทั่วโลก กระแสการเกลียดชังความเป็นอเมริกัน ต่างๆ เหล่านี้ก็คือ memeอย่างหนึ่ง มันสามารถถ่ายทอดจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง แพร่กระจายไปได้เหมือนไวรัส การเข้าใจ meme ทำให้เพนทากอนสามารถออกแบบ แนวทางแก้ปัญหาได้ ก่อนหน้านี้ผมเคยนำเรื่องที่ว่า เพนทากอนได้มีโครงการให้นักมานุษยวิทยา ติดตามหน่วยทหารออกไป ซึ่งนักมานุษยวิทยานี้จะทำหน้าที่แนะนำการปฏิบัติตนของหน่วยทหารต่อชาวบ้านให้ถูกต้อง ตามขนบประเพณีที่แตกต่างกันไปของแต่ละชุมชน โครงการนี้มีชื่อว่า Human Terrain System ซึ่งจะทำให้ทหารสหรัฐฯ มีแผนที่ทางด้านมนุษย์สังคม ของพื้นที่สงคราม
นักวิทยาศาสตร์ที่เชื่อว่า meme มีจริง คิดว่า meme ก็เหมือน gene ซึ่งสามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปสูอีกรุ่นหนึ่งได้ meme สามารถจะขยายตัวโดยการถูกก๊อปปี้จากสมองมนุษย์คนหนึ่ง ไปสู่อีกคนหนึ่ง แน่นอนว่าระหว่างการทำซ้ำนี้ meme จะถูกถ่ายทอดไปไม่เหมือนเดิมเปี๊ยบ มันจะมี error เกิดขึ้น แถมคนที่ถ่ายทอดมันไปอาจจะใส่อะไรเข้าไปให้ผิดเพี้ยน meme จึงกลายพันธุ์ได้เหมือน gene ซึ่งเมื่อมันถูกถ่ายทอดไปสักระยะหนึ่ง มันจะมีหลายเวอร์ชัน ซึ่งมันก็จะแข่งขันกันเอง meme ตัวไหนเก่งกว่าก็จะอยู่นานกว่า หรือสามารถที่จะยึดครองพื้นที่ของสมองมนุษย์ได้มากกว่า นักวิทยาศาสตร์พยายามจะวิศวกรรมเจ้า meme นี้ จนเกิดศาสตร์ที่เรียกว่า Memetics Engineering ซึ่งเป็นศาสตร์ของการทำให้เกิด meme ขึ้น เพื่อที่จะให้เจ้า meme นี้แพร่ขยายไปในสังคม จนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของหมู่คนในสังคมได้ ทั้งนี้คนกลุ่มหนึ่งที่เชื่อว่า เพนทากอนได้ใช้ วิศวกรรมมีม นี่แหล่ะ เพื่อให้คนอเมริกันสนับสนุนการบุกโจมตีอัฟกานิสถาน หลังเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001
04 พฤศจิกายน 2552
Smart Vineyard - ไร่องุ่นอัจฉริยะ (ตอนที่ 2)
ผลงานที่เรานำไปเสนอในที่ประชุมวิชาการนั้น เป็นเพียงข้อมูลบางส่วนที่เราเปิดเผยได้เท่านั้นครับ ซึ่งลูกศิษย์ผมบอกว่า ในการประชุมนี้มี paper ทางด้านเครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สายไปเสนอกันนับร้อย หลังการนำเสนอมีโปรเฟสเซอร์ญี่ปุ่นและฝรั่ง ได้เข้ามาคุยกับลูกศิษย์ และแสดงความสนใจในงานวิจัยของคนไทย ซึ่งเขาก็อยากรู้ว่าเมืองไทยทำอะไรไปบ้างแล้ว งานวิจัยนี้เป็นตัวอย่างของเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำสูง (Precision Agriculture) ในประเทศเขตร้อน ซึ่งจะทำให้คนไทยเราเข้าไปมีส่วนในศาสตร์ทางด้านนี้ แข่งกับประเทศอื่นเขาครับ
03 พฤศจิกายน 2552
Plant Intelligence - ต้นไม้ไม่ได้โง่ (ตอนที่ 9)
ผมมีลูก 2 คนครับ ทุกๆครั้งที่ผมเห็นเขาทั้งสองทะเลาะกันแล้ว ก็อดนึกถึงการรู้จักรักพี่รักน้องของ Arabidopsis ไม่ได้ .....
01 พฤศจิกายน 2552
Artificial Sense - สัมผัสประดิษฐ์ (ตอนที่ 3)
(1) Physical sensor - เซ็นเซอร์กายภาพ เช่น เซ็นเซอร์วัดแสง อุณหภูมิ ความชื้น เสียง สนามแม่เหล็ก สนามไฟฟ้า คลื่นวิทยุ เป็นต้น
แต่ขณะนี้เซ็นเซอร์อีกประเภทกำลังมาแรงครับ นั่นคือ Biophysical sensor ซึ่งเป็นเซ็นเซอร์กายภาพที่อาศัยหลักการของสิ่งมีชีวิต ซึ่งศาสตร์นี้เพิ่งอยู่ในขั้นเบบี๋ เพราะเรายังมีความรู้ด้านนี้ไม่มาก ยังต้องการงานวิจัยพื้นฐานทางนี้อีกเยอะ ซึ่งต้องใช้ความร่วมมือระหว่างนักฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา รวมทั้งวิศวกรด้วยครับ ......