วิเคราะห์สถานภาพทางด้านนาโนศาสตร์ และ นาโนเทคโนโลยี ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับ ประเทศคู่แข่ง เพื่อช่วยผลักดันให้ประเทศไทย เป็น Nano Valley of ASEAN
25 ตุลาคม 2556
Malaysia Smart Paddy - โครงการนาข้าวอัจฉริยะ มาเลเซีย
(Credit - Picture from Malaysian National Paddy Precision Farming Project)
"ประเทศไทย ปลูกอะไรก็ขึ้น จะทำ smart farm ไปทำไม" เป็นคำพูดที่ผมมักจะได้ยินนักวิชาการทางด้านเกษตรพูดดูหมิ่นแนวคิดของ smart farm ทำให้เมื่อ 5 ปีก่อน แทนที่ผมจะได้นำแนวคิดของเกษตรอัจฉริยะมาใช้กับนาข้าว ซึ่งเป็นพืชหลักของไทย แต่ผมกลับต้องไปทำ smart farm กับองุ่น พืชที่ปลูกและดูแลยากกว่ามากๆ เพราะนักวิชาการเหล่านั้น "ไม่อนุญาต" ให้เราทำกับสิ่งที่ "ปลูกอะไรก็ขึ้น"
แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ศักยภาพในการ "ปลูกอะไรก็ขึ้น" กำลังจะสูญเสียไป ประเทศไทยกำลังผจญกับการแข่งขันรอบด้าน เวียดนามกำลังพัฒนาข้าวหอมเพื่อมาแข่งขันกับเรา รวมไปถึงกาแฟที่ทุกวันนี้ ทั้งกาแฟของลาวและเวียดนาม บุกถล่มร้านกาแฟในเมืองไทยกันเต็มบ้านเต็มเมือง เมื่อไม่นานมานี้ อินโดนีเซียออกกฎเหล็กเพื่อมาควบคุมทุเรียนไทย อินโดนีเซียตั้งเป้าจะเอาทุเรียนมาแข่งกับไทยให้ได้
จะเห็นว่า ถ้าเรายังอยู่กับที่ ... มีแต่ ตาย กับ ตาย ครับพี่น้อง !!!
วันนี้ผมจะพาไปดูโครงการนาข้าวอัจฉริยะในประเทศมาเลเซียครับ ไปดูกันครับว่า เพื่อนบ้านเค้าทำนาแบบใหม่กันอย่างไร โครงการนี้เป็นการนำเอาเทคโนโลยีหลายอย่าง มาช่วยในการทำนา ผมขออธิบายตามรูปภาพนะครับ ทีนี้ขอให้มองไปที่มุมขวาบนของภาพก่อนครับ
- Soil Sampling ก่อนการทำนาในรอบต่อไป จะมีการตรวจสอบตัวอย่างดินกันก่อนครับ ค่าที่ตรวจสอบจะมี pH, ค่าการนำไฟฟ้า (เพื่อรู้ปริมาณไอออนต่างๆ) ค่าปริมาณของอินทรีย์วัตถุในดิน โดยการใช้รถไถที่ดัดแปลงให้สามารถอ่านค่าตัวอย่างดินได้แบบ ณ ตำแหน่งและเวลาจริงกันเลยทีเดียวครับ ไม่ต้องนำตัวอย่างดินกลับไปทำที่แล็ป
- Soil Mapping จากข้างบน เมื่อเราสามารถตรวจสอบตัวอย่างดินได้ ณ สถานที่และเวลาจริง แบบขับรถไถไปตรวจสอบไป (On-the-go Measurement) เราก็สามารถได้ค่าพารามิเตอร์ของดิน ณ ตำแหน่งต่างๆ ซึ่งก็จะกลายเป็น แผนที่ดินดิจิตอล ที่ทำให้เราทราบว่า ดินในไร่นาของเรามันเหมือนกัน หรือ ต่างกันอย่างไร
- แผนที่ดินดิจิตอลนี้เองครับ จะทำให้เราสามารถดูแลดินแบบแตกต่างกันได้ ตรงไหนไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ก็ใส่ปุ๋ยเยอะๆ หน่อย ตรงไหนดินมันดีกว่าที่อื่น ก็ใส่น้อยหน่อย โดยเราสามารถโปรแกรมใส่รถไถที่จะออกไปรถปุ๋ยครับ เจ้ารถไถนี้จะนำเอาแผนที่เหล่านี้มาใช้อย่างอัตโนมัติ
- Plant Growth Monitoring ในระหว่างที่พืชเติบโต เราจะมีการตรวจวัดด้วยเทคโนโลยีต่างๆ กัน เช่น ใช้เซ็นเซอร์ตรวจวัดการเติบโต หรือใช้ภาพถ่ายทางอากาศจาก UAV ทำให้เราทราบว่า ตกลงที่เราให้ปุ๋ยแก่ดินไปแตกต่างกันตามตำแหน่งต่างๆ กันนั้น มันเป็นไปอย่างที่เราคิดมั้ย
- Variation Rate Application คือการที่เมื่อเรารู้แล้วว่าสิ่งที่เราทำไป หากมันยังไม่เป็นอย่างที่เราคิด เราก็ยังสามารถดูแลให้ปุ๋ย น้ำ ตามความแตกต่างที่เราวัดได้ ซึ่งก็อาจจะมีการติดตั้งเซ็นเซอร์ติดตามในไร่นา เช่น เซ็นเซอร์ตรวจวัดความชื้นในดิน เซ็นเซอร์ตรวจวัดความสูงของต้นข้าว เซ็นเซอร์ตรวจวัดคลอโรฟิล เป็นต้น เรายังสามารถดูแลการกำจัดศัตรูพืช ตามสภาพที่เราตรวจวัดได้อีกด้วย
- Yield Mapping ท้ายสุด เมื่อมาถึงการเก็บเกี่ยว เราจะไม่เก็บเกี่ยวแบบธรรมดาอีกต่อไป แต่เราจะตรวจวัดว่า แปลงไหน ตรงไหน พิกัดที่เท่าไหร่ ให้ผลผลิตมากน้อยอย่างไร แล้วนำค่าผลผลิตที่ตรวจวัดได้นั้นมาทำแผนที่ผลผลิตแบบดิจิตอล เพื่อที่จะได้นำไปปรับปรุงโมเดล และ สมมติฐานต่างๆ ที่จะทำให้การเพาะปลูกในฤดูกาลต่อไปนั้นดีขึ้นครับ
ตอนนี้ ผมเองก็เสนอโครงการนาข้าวอัจฉริยะไปที่สภาวิจัยแห่งชาติอยู่ครับ ถ้าได้รับการสนับสนุน จะนำมาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมนะครับ หวังว่า เรายังไม่ได้ตามหลังมาเลเซียไกลเกินไป เผื่อจะได้ไล่ทันบ้างครับ
ป้ายกำกับ:
agritronics,
Malaysia,
precision agriculture,
precision farming
12 ตุลาคม 2556
Smart Tractor - รถแทรกเตอร์อัจฉริยะ (ตอนที่ 1)
(Credit - รูปภาพจากฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย http://www.sac.or.th/)
Tractor - รถแทรกเตอร์ หรือ ที่คนไทยส่วนใหญ่ชอบเรียกว่า "รถไถ" เป็นจักรกลการเกษตรประเภทหนึ่งที่เกษตรกรนิยมใช้กันมากที่สุด รถแทรกเตอร์เป็นจักรกลเอนกประสงค์ที่สามารถนำมาใช้งานได้หลากหลายมากครับ แต่แรกเริ่มเดิมทีที่มันถูกสร้างขึ้นมา ก็เพื่อใช้ไถพรวนดิน รถแทรกเตอร์คันแรกของโลกทำงานด้วยเครื่องจักรไอน้ำ ถูกนำออกมาขายครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1868 หรือ 145 ปีที่แล้วเลยทีเดียว เรียกว่าเกษตรกรของสหรัฐฯ มีรถไถใช้ก่อนที่คนไทยจะมีรถไฟใช้อีกครับ (รถไฟไทย ทำการก่อสร้างครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2434 หรือ ค.ศ. 1891) จากข้อมูลของเว็บไซต์ http://www.nationmaster.com/ ระบุไว้ว่าประเทศที่มีรถแทรกเตอร์ใช้มากที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา (4.8 ล้านคัน) อันดับสองคือญี่ปุ่น (2.028 ล้านคัน) ส่วนไทยเราอยู่อันดับ 22 (220,000 คัน) ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลเมื่อปี ค.ศ. 2000 ซึ่งเก่ามากๆ ครับ เชื่อว่าป่านนี้ ตัวเลขจะเยอะกว่านี้มากๆ ครับ
วันนี้ยังไม่ได้พูดเรื่องความอัจฉริยะของรถแทรกเตอร์ยุคต่อไปนะครับ แต่ขอนำสถิติบางอย่าง มาเล่าให้ฟังก่อนนะครับ เมื่อสัก 2-3 วันก่อน ทางสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลที่ได้ทำการศึกษาสถานการณ์มความเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล โดยกลุ่มที่เลือกมาศึกษาคือ แทรกเตอร์การเกษตร และเลือกสำรวจสภาวะการขายรถแทรกเตอร์การเกษตรเป็นเป้าหมายการศึกษา มีตัวเลขที่น่าสนใจเกี่ยวกับรถแทรกเตอร์ดังนี้ครับ
- ตลาดของรถแทรกเตอร์การเกษตรของไทย มีขนาดปีละประมาณ 70,000 คัน โดยเป็นการประกอบรถในประเทศ 60,000 คัน นำเข้า 16,917 คัน ส่งออก 7,891 คัน
- มีผู้ผลิตหลักในประเทศเพียง 2 ราย คือ บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด (ยี่ห้อ คูโบต้า) และบริษัทยันมาร์ เครื่องจักรกลการเกษตร (ประเทศไทย) จำกัด (ยี่ห้อยันมาร์) โดยมีสยามคูโบต้าเป็นผู้นำตลาดที่มีการจัดการ Supply chain ตั้งแต่การผลิตชิ้นส่วนไปจนถึงการประกอบรถแทรกเตอร์ ขณะที่ยันมาร์เป็นผู้ผลิตที่นำเข้าชิ้นส่วนสำเร็จมาประกอบในประเทศ เท่านั้น
- สำหรับรถแทรกเตอร์การเกษตรที่นำเข้า มีผู้นำเข้าหลัก 3 กลุ่ม คือ (1) บริษัทเอเซีย แปซิฟิก เครื่องจักรกลการเกษตร จำกัด นำเข้าและจำหน่ายแทรกเตอร์ยี่ห้อ New Holland (2) บริษัท จอห์นเดียร์ ประเทศไทย จำกัด นำเข้าและจำหน่ายแทรกเตอร์ยี่ห้อ John Deere และ (3) บริษัท แองโกลไทย จำกัด นำเข้าและจำหน่ายแทรกเตอร์ยี่ห้อ Kioti และ Massey Furguson
- ตลาดผู้ซื้อรถแทรกเตอร์ เป็นของภาคอีสานมากที่สุด (60%) รองลงมาคือภาคเหนือ (25%) และภาคกลาง (10%)
ท่ามกลางสภาวะขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตรที่กำลังถาถมเข้ามา เกษตรกรมีอายุเฉลี่ยสูงขึ้นเรื่อยๆ หนุ่มสาวรุ่นใหม่ก็สนใจทำเกษตรน้อยลง ทำให้คาดว่าการนำจักรกลการเกษตรเข้ามาใช้จะมีแนวโน้มสูงขึ้นไปเรื่อยๆ แน่นอนครับ
ป้ายกำกับ:
agritronics,
precision agriculture,
precision farming,
smart farm
11 ตุลาคม 2556
ญี่ปุ่นเข้าสู่ยุคสมาร์ทฟาร์ม
(Picture from Fujitsu)
เมื่อต้นเดือน ต.ค. 2556 ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมงานการแสดงทางการค้า (Trade Fair) ที่มีชื่อว่า CEATEC Japan 2013 ในงานนี้ ทำให้ผมได้มีโอกาสเข้าไปติดตามความก้าวหน้าของระบบสมาร์ทฟาร์ม ซึ่งบริษัท Fujitsu พัฒนาขึ้นและได้นำมาออกแสดงในงาน CEATEC Japan แทบจะทุกปี โดยเมื่อครั้งก่อนหน้านี้ ผมก็เคยเข้าไปดูงาน CEATEC Japan มาแล้วครั้งหนึ่ง ตั้งแต่ปี 2007 นู่นเลยครับ ในครั้งนั้น ผมได้มีโอกาสไปเห็นบริษัท Fujitsu เสนอแนวคิดเรื่องสมาร์ทฟาร์มขึ้นมาใหม่ๆ ซึ่งผมก็ได้นำแนวคิดหลายๆ อย่างจากการไปเห็นในนิทรรศการนั่นแหล่ะครับ เอากลับมาทำ พูดอย่างไม่อายเลยครับว่า การไปดูงานแบบ expo หรือ trade fair เนี่ย มันช่วยจุดประกายความคิดเราได้เยอะ หลายๆ เรื่อง เราแค่ไปดูๆ แล้วเอากลับมาทำต่อยอดได้เลย
หลังจากกลับมาจาก CEATEC Japan 2007 ผมก็ได้ลองนำแนวคิดหลายๆ อย่างของ Fujitsu กลับมาทำ ผ่านไปจากปี 2007 ก็อยากจะกลับไปดูว่า Fujitsu ทำอะไรใหม่ๆ บ้าง แล้วเวลาที่ผ่านมาตั้ง 6 ปี สิ่งที่ Fujitsu ทำ กับ สิ่งที่ผมได้ทำ มันมีพัฒนาการต่างกันเยอะมั้ย ... ไม่น่าเชื่อครับ พอกลับมาดูอีกที ปรากฎว่า พัฒนาการของสมาร์ทฟาร์มของ Fujitsu กับที่ผมทำและวางแผนจะทำ มันกลับมีความคล้ายคลึงกันมาก ทั้งๆ ที่ ในช่วงเวลา 6 ปีที่ผ่านมา ผมไม่เคยติดตามงานของ Fujitsu อีกเลย
นั่นแสดงว่า แนวโน้มของการพัฒนาสมาร์ทฟาร์มในโลกนี้ มันกำลังไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งก็คือ
(1) เรื่องของการติดตามข้อมูลและกิจกรรมในไร่ ด้วยเซ็นเซอร์ (Field Sensors) ต่างๆ รวมไปถึงการใช้จักรกล หุ่นยนต์ และเครื่องทุ่นแรงที่มีระบบอัจฉริยะ
(2) เรื่องของ mobile devices ที่เข้ามามีส่วนในการทำไร่ทำนา การบันทึกและเข้าถึงข้อมูลต่างๆ
(3) เรื่องของระบบ Cloud Computing ที่จะทำให้พารามิเตอร์ในการเพาะปลูก ปัจจัยการผลิต สภาพผลผลิต เชื่อมโยงกันหมด จากไร่นาไปสู่โรงงานแปรรูป และผู้จัดส่งอาหาร ไปถึงผู้บริโภค รวมถึงการเชื่อมโยงเซอร์วิสอื่นๆ ในห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมด
เมื่อการเพาะปลูกเชื่อมโยงเข้ากับห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมด พารามิเตอร์ ตัวแปร ต่างๆ สามารถที่จะนำมาเชื่อมโยงกันด้วยโมเดลทางคณิตศาสตร์ และอัลกอริทึมต่างๆ ทำให้เกษตรกรสามารถวิเคราะห์ราคาพืชผล จาก demand-supply ได้
สิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากงาน CEATEC Japan 2013 ที่เป็นเรื่องใหญ่ๆ อีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องของระบบอัจฉริยะมันมาถึงจุดที่ใกล้ความเป็นจริงมากๆ แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Smart City, Smart Car, Smart Home, Smart Healthcare และนั่น ก็เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะทำให้ Smart Farm เกิดขึ้นในไม่ช้านี้ครับ ....
ป้ายกำกับ:
agritronics,
Japan,
phytomonitoring,
precision agriculture,
smart farm
20 กันยายน 2556
Google Glass - แว่นในฝันของเกษตรกร
(Credit - Picture from http://www.agriculture.com/)
ท่านผู้อ่านคงจะรู้จัก Google Glass กันมาบ้างนะครับ มันคือคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วที่เราสวมใส่ได้เหมือนแว่นตา ซึ่งจะมีจอภาพที่แว่น ซึ่งเมื่อเราจ้องไปที่มัน เราจะรู้สึกเหมือนกำลังดูทีวีขนาด 50 นิ้วอยู่ครับ Google Glass มีกล้องที่สามารถถ่ายรูป และคลิป VDO แบบ HD มันมีไมโครโฟนเพื่อรับคำสั่งเสียงจากผู้สวมใส่ รวมทั้ง Wi-Fi เพื่อติดต่อกับอินเตอร์เน็ตผ่าน Hotspot ของโทรศัพท์ android หรือ iPhone ครับ
ผมมองว่าต่อไป Google Glass จะเข้ามามีบทบาทต่อเกษตรกรรมอย่างชนิดพลิกผืนดิน ปลิ้นผืนน้ำเลยหล่ะครับ ลองจินตนาการว่า ต่อไปเกษตรกรที่ลงไปทำไร่ ไถนา เมื่อใส่เจ้า Google Glass นี้เข้าไปแล้ว มันจะช่วยอะไรได้บ้างนะครับ
- Google Glass สามารถใช้หาศัตรูพืชได้ เช่น ถ้าหากพบแมลงศัตรูพืชในไร่ เราแค่เดินไปดูมัน ให้ Google Glass ซูมภาพแมลง ถ่ายรูป แล้วช่วยสืบค้นว่ามันคือแมลงอะไร Google Glass จะบอกว่าจะต้องจัดการอย่างไร ใช้ยาตัวไหน โดยสามารถ search หายาฆ่าแมลงจากห้างร้านต่างๆ ในเลือก พร้อมกับเก็บพิกัดการพบเจอแมลงชนิดนี้ เข้าไปเก็บในฐานข้อมูลบนระบบคลาวด์ เพื่อให้เกษตรกรที่อื่นๆ ได้ทราบการระบาด รวมทั้งสามารถนำข้อมูลไปประเมินด้านระบาดวิทยาโดยผู้เชี่ยวชาญอีกด้วย
- หรือเกษตรกรสามารถใช้ Google Glass ดูใบที่มีความผิดปกติ ว่าเป็นโรคอะไร ถ่ายรูปแล้วแชร์เพื่อขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ หรือ ดูฐานข้อมูลภาพของโรคพืชจากอินเตอร์เน็ต
- เกษตรกรสวนผลไม้สามารถใช้ Google Glass ถ่ายรูปผลไม้ เข้าไปเก็บในฐานข้อมูล ซึ่งสามารถใช้เปรียบเทียบขนาดกับปีก่อนๆ ได้ ในช่วงวันเก็บเกี่ยว เกษตรกรสามารถบันทึกน้ำหนัก yield ได้จากต้นหรือแปลงปลูกอย่างแม่นยำ โดยแค่เดินไปดูแล้วออกคำสั่งกับ App บน Google Glass ทั้งนี้หากมีความผิดปกติ ก็สามารถถ่ายรูปเข้าไปใน Facebook เพื่อแชร์หรือส่งให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจและให้คำแนะนำ
- Google Glass สามารถใช้ในการช่วยดูแลรักษาจักรกลการเกษตร เกษตรกรแค่ใช้ Glass มามองรถไถ มันจะรู้รุ่น รู้วันที่ซ่อมล่าสุด โดยหากเราซ่อมบำรุง เราสามารถบันทึกภาพด้วย Glass แล้วบอกให้ไปเก็บข้อมูลในระบบคลาวด์ได้ เจ้า Glass จะเก็บค่าใช้จ่ายและระยะเวลาที่ต้องทำอะไรบ้าง รวมทั้ง search หาอะไหล่ใน eBay ที่มีราคาถูกให้
- ระหว่างที่เกษตรกรดูแลรักษาฟาร์ม เกษตรกรสามารถถ่ายภาพ สืบค้นข้อมูลต่างๆ ที่สงสัยให้ Glass หามาให้อ่าน ในระหว่างเดินในไร่ Google Glass จะเก็บภาพ และคำพูดของเกษตรกรพร้อมพิกัด GPS ไปเก็บในฐานข้อมูลคลาวด์ เกษตรกรสามารถเรียก Google Map เพื่อเปิดดูในภายหลัง ว่าพื้นที่ตรงไหนมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง จะได้นำมาประมวลและตัดสินใจในการจัดการอย่างมีระบบ
- ในขณะที่เกษตรกรกำลังใส่ Google Glass เดินอยู่ในไร่ เขาได้หันไปมองที่ท้องฟ้าและพบเมฆขนาดใหญ่ Google Glass ได้จับภาพเมฆ แล้วบอกเขาว่า เมฆนี่เป็นเมฆฝนมีชื่อว่า Cumulonimbus พร้อมทั้งได้เชื่อมต่อไปโครงข่ายเรดาร์ตรวจอากาศ ... เจ้า Glass ได้แสดงภาพเรดาร์ของกลุ่มฝน พร้อมพยากรณ์อากาศบนจอภาพ เกษตรกรจึงตัดสินใจไม่รดน้ำและพ่นยา เพราะจะสิ้นเปลืองเปล่าๆ
- ความดีของ Google Glass ก็คือ มันเป็นคอมพิวเตอร์ที่สวมใส่ได้ (Wearable Computer) เราเลยไม่ต้องจับมันด้วยมือ ซึ่งจะสะดวกมากเวลาทำงานในไร่ เช่น ตอนขับรถไถอยู่ พ่นยาฆ่าแมลงอยู่ ตัดเก็บพวงองุ่นอยู่ สามารถพูด คุย ค้นข้อมูล และให้มันถ่ายภาพ ตอนกำลังเก็บองุ่น แล้วแชร์ผ่าน Instagram หรือ Facebook ได้ตอนทำงานอยู่ในไร่นั่นเลย
ยังมีโอกาสอีกมากมายครับ สำหรับ Google Glass ที่จะช่วยงานเกษตรกรได้ ทั้งนี้เราจะต้องพัฒนา App ทางด้านเกษตรให้มากๆ เพื่อให้เกษตกรได้เลือกใช้งาน ผมจินตนาการถึงเกมส์บน Google Glass ที่เราสามารถเล่นไปด้วย ขณะที่กำลังขะมักเขม้นกับการดำนา มันคงจะทำให้การทำไร่ทำนาเป็นเรื่องสนุก มากเลยครับ ....
ป้ายกำกับ:
agritronics,
ambient intelligence,
machine vision,
smart farm,
wearable intelligence
16 กันยายน 2556
ISSNIP 2014 - The 9th IEEE International Conference on Intelligent Sensors, Sensor Networks and Information Processing
(Credit - Picture from http://wallfive.com/)
โลกเรากำลังเข้าสู่ยุครุ่งเรื่องของเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีวัสดุ ไอที เทคโนโลยีชีวภาพและการแพทย์ เทคโนโลยีการขนส่ง ซึ่งเทคโนโลยีที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้เทคโนโลยีเหล่านี้เจริญก้าวหน้าได้ หรือจะเรียกว่าเป็น Enabling Technology ก็คือ "เซ็นเซอร์" ครับ เพราะเทคโนโลยีเซ็นเซอร์นี่เอง ได้เข้าไปช่วยให้เทคโนโลยีที่กล่าวมาข้างต้นพัฒนาอย่างรวดเร็ว
การประชุมวิชาการที่เรียกว่า IEEE International Conference on Intelligent Sensors, Sensor Networks and Information Processing เป็นการรวมตัวกันของเหล่านักวิทยาศาสตร์ และวิศวกรที่ทำวิจัยในเรื่องของเซ็นเซอร์ ซึ่งก็จัดเป็นประจำทุกปีจนมาถึงครั้งนี้ก็เป็นครั้งที่ 9 แล้วครับ โดยได้เลือกจัดที่ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 21-24 เมษายน 2557 ซึ่งตัวผมเองคิดว่าจะส่งผลงานไปประชุมด้วยครับ
การประชุมนี้ได้แบ่งออกเป็นการประชุมย่อยที่เราเรียกว่า Symposium ซึ่งก็จะรวบรวมความสนใจในหัวข้อย่อย ๆ ที่ใกล้เคียงกัน เข้าด้วยกัน ดังนี้ครับ
(1) Symposium on Cognitive Computing in Information Processing
Development of metacognitive learning algorithm in neural network or neuro-fuzzy network
Learning on-the-go
Self-regulatory learning
Consciousness and cognition in memory/recall
Collaborative or competitive learning
Medical Informatics
Video Analytics
Financial Forecasting
Bioinformatics
Control and health monitoring
(2) Symposium on Human-Centric Sensing and Social Networks
Systems architecture for mobile sensing
New mobile sensing hardware
Security, privacy and mobile sensing
QoS/QoE mobile sensing
Mobile crowd-sourcing
Participatory/Opportunistic sensing
Contextual feedback
Image sensing
Mining human-centric sensing data
Experiences and users studies
Mobile sensing applications
Mobile social network
Cognitive radio based sensor network
Mobile cloud computing for sensors
(3) Symposium on Participatory Sensing and Crowdsourcing
Novel applications
Participatory sensing, opportunistic sensing and crowdsourcing paradigms
Middleware support and programming models
Mining large scale multi-modal sensor data
Intersections with cloud technologies
Interactions between mobile devices and humans
Novel user interfaces
Energy-efficient sensing
Activity recognition and high-level inferences
User privacy issues
Incentive mechanisms to motivate participation
Assesing data trustworthiness
Synergies between online social networks and participatory sensing
Application deployment issues and experiences with large-scale deployment
(4) Symposium on the Public Internet of Things
Extending social media platforms and social network paradigms to the IoT
Mechanisms and techniques for automatic discovery of openly available IoT resources
Mechanisms to handle unreliability of crowd-sourced IoT data sources for improved service provisioning
Open publically accessible IoT cloud infrastructures for intelligent information storage and information processing
Open service creation and innovation environments for crowd-sourced IoT resources
What are the business models for deployment and maintenance?
How can people take charge and how to deal with ownership of data?
IoT incentivation/gamification
Disruptive IoT services and applications.
Urban planning and decision making tools.
Challenging ownership models (e.g. most EVs are leased or Hilti BM)
(5) Symposium on Reliability and Data Quality in Wireless Sensor Networks
Data Aggregation, Storage and Management
Coding Theory and Techniques
Data Compression and Information Theory
Network Scheduling and Optimization
Condition Monitoring and Fault Diagnosis
Event Detection, Fault Tolerance and Identification
Networked Sensing and Control
Sensor Fusion, Tracking and Localization
Sensor Network Signal Processing and Data Modelling
Distributed Information Processing
Spatio-Temporal Data Mining and Analysis in Sensor Networks
Pattern Recognition and Machine Intelligence
Energy Efficient Algorithms
Middleware for Sensor Systems
(6) Symposium on Security, Privacy and Trust for Cyber-Physical Systems
cryptographic schemes, access control, intrusion detection and response systems for cyber-physical systems
cyber security of industrial control systems, including general SCADA systems and smart grid control systems
security of communication networks and network protocols in cyber-physical systems
security issues of wireless sensor networks and cloud computing in the cyber-physical context
trusted computing and resilient architectures for cyber-physical systems
formal verification of security protocols
detection of insider attacks
protection of the integrity of sensor-supplied data
assessment of the impact of maliciously injected false data and communication-oriented DoS attacks on control systems
design and analysis of resilient control systems
risk analysis and detection of intrusion of cyber-physical systems
privacy preservation in data mining
(7) Symposium on Sensing, Propagation, and Wireless Networks for Healthcare Applications
Biosignal sensors and signal processing
Wearable and implantable devices/systems
eHealth systems and pervasive healthcare
Body area network (BAN) for medical and healthcare
Human body communication
Antennas and propagation for wireless BAN
Smart textiles for wearable BAN
Preventive care & remote patient management
Radio coexistence and robustness
Privacy and Security issues
International standards and regulatory matters
Telemedicine, telemonitoring
Ambient assisted living
Rehabilitation and activity monitoring
(8) Symposium on Sensor Performance Characterization
Realization of reference standard physical quantities for the characterization and calibration of sensors
Standard reference materials for the characterization of chemical/biomedical sensors
Methodologies for sensor and sensor network characterization, calibration, and performance monitoring
Measurement and test platform for sensor characterization and calibration
Environmental disturbance quantification and control
Development of chip-scale or on-chip physical standards, including quantum-based standards, for the calibration of sensors
Establishing the traceability of sensor measurements to the International System of Units (i.e., establishing SI traceability)
(9) Symposium on Sensors, Interface and Integration
Interface and Integration for varied sensors
Phenomena, Modeling, and Evaluation of Sensors
Chemical Sensors
Bio-sensors
Optical Sensors
Physical and Inertial Sensors, MEMS Sensors
Solid-State Sensors
Magnetic Sensors
Sensors and Actuators
Energy Harvesting
Devices in Sensor Networks
Others related to Sensors, such as Materials, processes and signals, etc.
Applications
(10) Symposium on Smart Grids
Architectures and models for the smart grid
Networking for smart grid
Smart sensors and advanced metering infrastructure
Data analytics and demand response
Virtual power plants, distributed generation, microgrids, renewables and storage
Wide-area monitoring, protection, communication, and control in energy systems
Fault detection, classification, location, and diagnosis
Smart grid simulation and performance analysis
Smart grid cyber security and privacy
Multi-agent systems for smart grids
Architectures and models for the smart grid
Energy management systems
ป้ายกำกับ:
chemical sensor,
conference,
electronic nose,
nanodevice,
nanoelectronics,
nanosensor,
sensor networks,
Singapore
14 กันยายน 2556
Body Odor - กลิ่นกายมนุษย์ (ตอนที่ 2)
(Credit - Picture from http://caninegoodcitizen.wordpress.com/)
มนุษย์เราจดจำบุคคลอื่นโดยอาศัยสัมผัส 2 อย่างคือ ภาพ กับ เสียง โดยในชีวิตประจำวัน เราใช้การดูหน้าตาเป็นหลัก ว่าใช่คนที่เรารู้จักหรือไม่ แต่สุนัข เพื่อนที่ดีที่สุดของเราใช้สัมผัส 3 อย่าง คือ ภาพ เสียง และ กลิ่น และดูเหมือนว่ามันใช้สัมผัสที่ 3 มากที่สุดในการจำแนกแยกแยะคนที่มันรู้จัก กับ คนที่มันไม่รู้จัก และสำหรับสัมผัสในการมอง สุนัขใช้การดูอากัปกริยาท่าทางเฉพาะ เพื่อจำแนกคนที่มันรู้จัก มากกว่าจะจดจำใบหน้า
การที่สุนัขสามารถจดจำและจำแนกกลิ่นของคนที่มันไม่รู้จัก ออกจากคนที่มันรู้จักได้ นั่นย่อมแสดงว่ามนุษย์เราแต่ละคนมีกลิ่นตัวแตกต่างกัน และกลิ่นนั้นต้องมีอัตลักษณ์ทำให้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ทำให้สุนัขจดจำได้ ด้วยเหตุนี้ ผมจึงเกิดแนวคิดว่า เราน่าจะสามารถใช้จมูกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Nose หรือ E-nose) จำแนกบุคคลโดยใช้หลักการของการดมกลิ่นได้ เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ผมกับนักศึกษาจึงได้ทำการทดลอง โดยเราได้พยายามแยกกลิ่นตัวของคน 2 คนออกจากกัน วิธีการก็คือ เราหาคนมา 2 คน ซึ่งเราก็ใช้นักศึกษาชายในห้อง Lab นั่นหล่ะครับ จากนั้นเราได้ทำการเก็บกลิ่นรักแร้ของทั้งคู่มาดมด้วย E-nose โดยเราจะให้ E-nose ดมกลิ่นรักแร้วันละ 2 ครั้ง คือ หลังตื่นนอน (ประมาณ 7-8 นาฬิกา) และในตอนบ่าย (ประมาณ 8 ชั่วโมงต่อมา) โดยให้ E-nose ดมรักแร้ของ 2 คนนี้ติดต่อกันเป็นเวลา 5 วัน และเพื่อจะทดสอบว่า โรลออนที่ทารักแร้จะสามารถกลบกลิ่นตัวของคนทั้ง 2 หรือไม่ เราอนุญาตให้เขาทั้งคู่ทาโรลออนที่รักแร้ได้ 1 ข้างครับ นั่นแปลว่า เราก็จะสามารถทดสอบได้ว่า เจ้า E-nose จะแยกกลิ่นตัวของ 2 คนนี้ออกได้หรือไม่ ทั้งกรณีที่ทา และ ไม่ได้ทา โรลออนระงับกลิ่นเต่า
ปกติคนเราแต่ละคนนี่ กลิ่นตัวอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละวันก็ได้ครับ ขึ้นอยู่กับอาหารการกินด้วย ตลอดการทดลอง 5 วันนั้น เราอนุญาตให้ทั้งคู่ใช้ชีวิตปกติ และกินอาหารที่เขากินตามปกติอยู่แล้ว แต่ห้ามมีเพศสัมพันธ์ และ ห้ามดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ครับ เพื่อจะลดผลกระทบจากปัจจัย 2 เรื่องนี้ ซึ่งจากการทดลองนั้น เจ้า E-nose ก็ตรวจพบว่ากลิ่นตัวของแต่ละคนมันเปลี่ยนไปจริงๆ ตามการใช้ชีวิต โดย E-nose ยังตรวจพบว่ากลิ่นรักแร้ในช่วงบ่ายนั้นจะแรงขึ้น (มีการปล่อยโมเลกุลกลิ่นมากขึ้น) แต่รักแร้ข้างที่ทาโรลออนจะปล่อยโมเลกุลกลิ่นออกมาน้อยกว่าข้างที่ไม่ได้ทามาก เครื่อง E-nose ยังวิเคราะห์และแยกแยะบุคคลทั้งคู่นี้ออกอีกด้วยว่าเป็นคนละคนกัน แม้ว่าจะทาโรลออนเพื่อดับกลิ่นตัวก็ตาม นั่นแสดงว่า กลิ่นตัวของคนเรามันมีความจำเพาะจริงๆ ครับ ซึ่งทำให้สุนัขจำได้ แล้วเจ้า E-nose ก็สามารถระบุความแตกต่างนั้นได้
ผลงานชิ้นนี้ทางกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้นำไปอ้างอิงเพื่อที่จะสนับสนุนการวิจัยเทคโนโลยีเพื่อระบุตัวผู้ก่อการร้ายแก่มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาด้วยครับ .... จากวันนั้นเป็นต้นมา ผมยังทำวิจัยเกี่ยวกับกลิ่นตัวมนุษย์มาเรื่อยๆ ครับ เดี๋ยววันหลังผมจะเล่าให้ฟังครับว่า ผมได้ค้นพบอะไรอีกบ้าง และได้เทคโนโลยีใหม่อะไร ติดตามอ่านกันนะครับ
ป้ายกำกับ:
artificial sense,
biomedical engineering,
chemical sensor,
electronic nose,
smell
31 สิงหาคม 2556
Digital Food - อาหารดิจิตอล (ตอนที่ 5) ตอน เครื่องเลี้ยงแมลง
(Picture from http://www.dailymail.co.uk)
ความคิดสร้างสรรค์ที่น่ายกย่องเรื่องหนึ่งของคนอีสานคือ การรู้จักนำแมลงมาทำเป็นอาหาร ไม่ว่าจะเป็นหนอนรถด่วน ไข่มดแดง จิ้งหรีด ด้วงมะพร้าว ตัวอ่อนผึ้ง ตั๊กแตน เป็นต้น สหประชาชาติถึงกับรณรงค์ให้ประชากรโลกหันมากินแมลงกันเยอะๆ เพราะแมลงเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง อีกทั้งยังมีแมลงอยู่ตั้ง 1,900 ชนิดที่มนุษย์สามารถรับประทานได้ การเพาะเลี้ยงแมลงยังช่วยลดโลกร้อน เนื่องจากใช้พลังงานน้อยกว่าการเลี้ยงสัตว์พวก หมู ไก่ วัว มีการประเมินกันว่าในปี ค.ศ. 2050 โลกต้องการอาหารเนื้อสัตว์เพิ่มอีก 50% แล้วจะไปเอาเนื้อสัตว์จำนวนนี้มาจากไหนหล่ะครับ ก็ต้องแมลงนี่แหล่ะ โลกจึงต้องการธุรกิจฟาร์มเลี้ยงแมลงอย่างจริงจัง ..... ท่านผู้อ่านอาจจะตกใจ ถ้าผมจะบอกว่า ในภาคอีสานของเราเองนั้น มีการทำฟาร์มเลี้ยงจิ้งหรีดอยู่ถึง 20,000 ฟาร์ม และมีการผลิตแมลงสำหรับรับประทานมากถึงปีละ 7,500 ตันเลยทีเดียวครับ น่าสนใจมากครับ เราอาจจะกลายเป็นประเทศที่ผลิตแมลงส่งออกระดับโลกในไม่ช้านี้ก็ได้
ในช่วงหลังๆ นี้ ฝรั่งเริ่มมาสนใจในเรื่องของการบริโภคแมลงอย่างจริงจังมากขึ้น จนเกิดแนวคิดในเรื่องของการสร้างเครื่องเลี้ยงแมลงขึ้นมา เพื่อผลิตแมลงใช้บริโภคเองในบ้าน โดยต้องการให้เครื่องนี้เป็นสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ประเภทหนึ่ง ไม่ต่างจากหม้อหุ้งข้าวอัตโนมัติ ซึ่งไม่นานมานี้เอง นักออกแบบสาวชาวออสเตรียชื่อ แคทรีนา อุงเกอร์ (Katharina Unger) ได้ออกแบบและสร้างเครื่องเลี้ยงตัวอ่อนแมลงที่ใช้ชื่อทางการค้าว่า Farm 432 โดยเครื่องนี้ทำงานแบบอัตโนมัติในการเลี้ยงตัวอ่อนแมลงชนิดหนึ่ง วิธีการทำงานคือ เราจะใส่ไข่ของแมลงเป้าหมายลงไปในช่องๆ หนึ่ง เหมือนใส่น้ำยาซักผ้าลงไปในเครื่องซักผ้าแหล่ะครับ จากนั้นเครื่องจะทำงานในการปรับสภาพอุณหภูมิและความชื้น ไข่จะฟักเป็นตัวแมลง แมลงจะผสมพันธุ์ และกินอาหารต่างๆ ที่เราจะป้อนเข้าไปในช่องวัตถุดิบ จากนั้นแมลงจะวางไข่ และไข่ฟักออกมาเป็นตัวอ่อน ตัวอ่อนจะไต่ขึ้นไปในช่องไต่ แล้วตกลงไปในถ้วยเก็บ เราก็เอาตัวอ่อนนั่นแหล่ะครับไปทำเป็นอาหารได้เลย โดยอาจจะแบ่งตัวอ่อนส่วนหนึ่ง นำกลับมาป้อนใส่เครื่องเพื่อผลิตตัวอ่อนแมลงไว้กินในมื้อต่อไป แคทรีนาบอกว่า เจ้าเครื่องที่เธอออกแบบนี้สามารถเปลี่ยนไข่ของแมลง 1 กรัม ให้เป็นอาหาร 2.4 กิโลกรัมได้ภายในเวลา 432 ชั่วโมง ไม่เลวเลยใช่มั้ยครับ
เห็นหรือยังครับว่า แนวคิดใหม่ๆ กระบวนทัศน์ใหม่ๆ ของการผลิตและบริโภคอาหาร เริ่มปรากฎชัดขึ้นเรื่อยๆ .... ท่านผู้อ่านพร้อมหรือยังครับ กับการเข้ามาของ Digital Food !!!
ป้ายกำกับ:
electronic nose,
food,
nano-agriculture,
nano-business,
nano-industry,
new paradigm
26 สิงหาคม 2556
เศรษฐกิจยุคบูติค (Boutique Economy) ใกล้มาถึงแล้ว
(Credit - Picture from http://vecto2000.com/)
โลกเรากำลังเข้าสู่ยุคแห่งความสำเริงสำราญ บนพื้นฐานเศรษฐกิจแบบใหม่ที่เรียกว่า Boutique Economy หรือ เศรษฐกิจยุคบูติค ท่านผู้อ่านอาจจะไม่ค่อยคุ้นกับชื่อนี้เท่าไหร่ใช่ไหมครับ มาลองดูลำดับพัฒนาการของเศรษฐกิจประเภทต่างๆ กันก่อนนะครับ
(1) Agriculture-Based Economy เป็นเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการทำไร่ ทำนา เลี้ยงสัตว์ ประเทศทุกประเทศในโลก ล้วนเคยผ่านการมีเศรษฐกิจแบบนี้ครับ
(2) Industrial Economy เป็นเศรษฐกิจที่อยู่บนพื้นฐานของอุตสาหกรรม ประเทศไทยกำลังอยู่ในยุคนี้ครับ
(3) Service-Based Economy หรือ Knowledge-Based Economy (รวมไปถึง Experience Economy) เป็นระบบเศรษฐกิจที่พัฒนามาอีกขั้นหนึ่ง รายได้ประชาชาติส่วนใหญ่มาจากงานบริการ งานที่ใช้ความรู้ การสร้างนวัตกรรม ซอฟต์แวร์ โดยย้ายฐานการผลิตไปอยู่ในประเทศที่ยังอยู่ในยุค Industrial Economy
(4) Boutique Economy เศรษฐกิจแบบบูติก เป็นเศรษฐกิจที่เครื่องจักรใน 3 แบบแรกข้างต้น ก็คือ เกษตร อุตสาหกรรม และ เซอร์วิส ได้รับการยกเครื่องขนานใหญ่ จนทำให้ประเทศที่มีเศรษฐกิจแบบบูติกนี้ มีทุกอย่างที่พึ่งพาตัวเองได้ มีเกษตรกรรมก้าวหน้า มีอุตสาหกรรมล้ำยุคที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีอุตสาหกรรมบริการที่สนุกสนาน และมีความสุข
ลองมาดูกันครับว่า ถ้าเราได้อยู่ในสังคมที่ประเทศเป็นบูติค รอบๆ ตัวเราจะมีลักษณะอย่างไร
- วิถีชีวิต ผู้คนมีความเป็นอยู่แบบ มีความสุขกันทั่วหน้า อาชีพและการทำงานในยุคบูติคจะมีความสนุก เร้าใจ น่าทำงาน คนจะทำงานที่บ้านมากขึ้น ผู้คนสดชื่น เบิกบาน และสุขภาพดี แต่ละคนล้วนทาครีมนาโนหน้าเด้ง
- อุตสาหกรรมไม่ปล่อยควันพิษและของเสียอีกต่อไป การผลิตมี ลักษณะเป็น Cottage Industry ที่การผลิตอยู่ในมือของ SME มีความสะอาด และกระจายอยู่ในชุมชนที่เป็นผู้ใช้ เป็นยุคที่ Desktop Manufacturing หรือ ระบบผลิตแบบตั้งโต๊ะ และ โรงงานจิ๋ว (Micro-factory) รวมไปถึงการผลิตแบบ 3D Printing มีความเจริญสูง มีเทคโนโลยี Mass Customizaton ซึ่ง กระบวนการผลิต สามารถทำให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคเป็นรายๆ ในจำนวนมากๆ ได้
- ระบบรักษาพยาบาลเป็นแบบบุคคล (Personal Medicine) มีระบบนำส่งยา (Drug Delivery) ที่มีประสิทธิภาพ
- การคมนาคมขนส่งใช้พลังงานสะอาด ถนนหนทาง บ้านเรือน ตึกรามอาคารต่างๆ ใช้วัสดุนาโนที่ทำความสะอาดตัวเองได้ ทางหลวงเป็น smart highway ที่สื่อสารกับรถยนต์ได้
- อาคาร บ้านเรือน เป็นอาคารฉลาด (Smart Building, Smart Home) มีระบบดูแลการใช้พลังงาน และบรรยากาศภายใน ตัวเมืองประดับประดาด้วยแสงสีจากจอภาพอินทรีย์ พลังงานที่ใช้ก็เป็นพลังงานสะอาด
- สินค้าต่างๆ จะมีการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์ ก่อนทำการผลิต และผู้บริโภคสามารถออกแบบเอง แล้วส่งให้ผู้ผลิตทาง Internet
- เสื้อผ้าอาภรณ์ มีความฉลาด มีสีสันสวยงามและปรับตามสภาพแวดล้อมได้ (Smart Garments)
- อาหารที่รับประทานไม่มีสารพิษ เพราะทุกอย่างผ่านการตรวจด้วยเซ็นเซอร์หมดทุกอย่าง ตั้งแต่ ฟาร์มจนถึงถังขยะ
- เกษตรจะย้ายจากชนบทมาสู่เมือง เป็นเกษตรในอาคารสูง (Vertical Farm) พื้นที่เกษตรกรรมจะถูกคืนให้เป็นป่า ฟาร์มมีความฉลาด (Smart Farm)
ฟังดูเหมือนโลกสวยใช่ไหมครับ แต่ผมเชื่อว่าวันนั้น ยังไงก็ต้องมาถึงแน่ครับ ถ้าเราไม่เลิกฝันเสียก่อน ....
ป้ายกำกับ:
Economy,
new paradigm
16 สิงหาคม 2556
PhyCS 2014 - International Conference on Physiological Computing Systems
กระแสความร้อนแรงของ Google Glass และ Smart Watch ที่กำลังเกิดขึ้นในโลกของคอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์ นับเป็นตัวจุดพลุ ที่จะทำให้ตลาดของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบสวมใส่ได้ (Wearable Electronics) เติบโตในอนาคตอีกไม่นานจากนี้ครับ เมื่อรวมกับแนวโน้มของประชากรสูงวัยที่มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้อุปกรณ์สำหรับช่วยเหลือในการดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง (Pervasive Healthcare) น่าจะได้รับความนิยมมากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งทำให้นักเทคโนโลยีหลายๆ กลุ่มในโลก เร่งมือในการพัฒนาเทคโนโลยีที่เรียกว่า Physiological Computing Systems หรือ ระบบตรวจวัดทางสรีรวิทยา ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการเฝ้าดู และตรวจวัด พารามิเตอร์ทางสุขภาพของมนุษย์ ซึ่งในที่นี้ก็มักจะต้องเป็นอุปกรณ์ที่สวมใส่ได้ เพื่อที่จะสามารถเก็บข้อมูลความเป็นไปของร่างกายผู้สวมใส่ได้ตลอดเวลา
การประชุมประจำปีที่มีชื่อว่า International Conference on Physiological Computing Systems จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยน เรียนรู้ระหว่างวิศวกร นักคอมพิวเตอร์ศาสตร์ แพทย์ และ บุคลากรทางสาธารณสุข ที่มีความสนใจในการพัฒนาระบบตรวจวัดทางสรีรวิทยา โดยการประชุม PhyCS 2014 นี้จะจัดขึ้นที่กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส ระหว่างวันที่ 7-9 มกราคม 2557 โดยมีกำหนดส่งผลงานบทความฉบับเต็มในวันที่ 15 กันยายน 2556
หัวข้อที่เป็นที่สนใจของการประชุมก็ได้แก่
AREA 1: DEVICES
Biomedical Devices for Computer Interaction
Haptic Devices
Brain-Computer Interfaces
Health Monitoring Devices
Physiology-driven Robotics
Wearable Sensors and Systems
Cybernetics and User Interface Technologies
AREA 2: METHODOLOGIES AND METHODS
Biosignal Acquisition, Analysis and Processing
Pattern Recognition
Neural Networks
Processing of Multimodal Input
Observation, Modeling and Prediction of User Behavior
Computer Graphics and Visualization of Physiological Data
Video and Image Analysis for Physiological Computing
Motion and Tracking
AREA 3: HUMAN FACTORS
User Experience
Usability
Adaptive Interfaces
Human Factors in Physiological Computing
Learning and Adaptive Control of Action Patterns
Speech and Voice Data Processing
AREA 4: APPLICATIONS
Physiology-driven Computer Interaction
Biofeedback Technologies
Affective Computing
Pervasive Technologies
Augmentative Communication
Assistive Technologies
Interactive Physiological Systems
Physiological Computing in Mobile Devices
ป้ายกำกับ:
biomedical engineering,
bionics,
conference,
sensor networks,
wearable intelligence
09 สิงหาคม 2556
Digital Food - อาหารดิจิตอล (ตอนที่ 4) ตอน Google Burger
(ในภาพ: Sergey Brin หนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัท Google ผู้สนับสนุนโครงการ Google Burger ด้วยวิธีการปลูกเนื้อเยื่อ)
ยุ่งแล้วล่ะสิครับท่านผู้อ่าน ... ในบทความซีรีย์นี้เมื่อตอนที่แล้ว ผมเพิ่งจะพูดไปว่า คอยดูสิ บริษัทที่ทำเกษตรแบบซีพีอีกหน่อยจะล้าสมัย และล้มตายไปจากวงการธุรกิจ แต่บริษัทแบบกูเกิ้ล กับ ไอบีเอ็ม ที่ทำด้านไอที อีกหน่อยจะกลายมาเป็นยักษ์ใหญ่ทางด้านเกษตรและอาหารแทน .... เพิ่งพูดไป ไม่น่าเชื่อว่า เมื่อไม่กี่วันมานี้ กูเกิ้ลได้ออกมาประกาศความสำเร็จในการผลิตแฮมเบอร์เกอร์ที่เกิดจากการเลี้ยงเนื้อเยื่อในหลอดแก้ว เป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งโครงการนี้ได้รับการสปอนเซอร์ด้วยเม็ดเงินมหึมาจาก เซอร์เก้ บริน (Sergey Brin) หนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทกูเกิ้ล ทั้งนี้ในงานเปิดตัว ได้มีการนำเนื้อที่ได้จากการทดลองนี้ มาทอดด้วยเนยและน้ำมันพืชจากดอกทานตะวัน จากนั้นได้ให้นักชิม 2 คน ที่คัดเลือกมาให้ชิมแฮมเบอร์เกอร์แห่งโลกอนาคตนี้ ทำการชิมต่อหน้าผู้ชมจำนวนมาก ฮานนี รุทซเลอร์ (Hanni Rutzler) นักวิทยาศาสตร์ทางอาหารชาวออสเตรียได้บรรจงเคี้ยวแฮมเบอร์เกอร์นี้จำนวน 27 ครั้งก่อนที่จะกลืนเต็มๆ คำ ได้กล่าวว่า "มันเหมือนกับเนื้อจริงๆ มากครับ เพียงแต่ยังต้องปรับปรุงเรื่องรสชาติหน่อย" ส่วนนักชิมอีกท่านหนึ่งคือ จอร์ช ชอนวาลด์ (Josh Schonwald) ซึ่งเป็นนักเขียนเกี่ยวกับเรื่องข้าวปลาอาหาร ได้บอกว่า "สิ่งที่รู้สึกขาดไปคือไขมันครับ แต่ความรู้สึกจากการกัดและเคี้ยว บ่องตง ว่ามันเหมือนแฮมเบอร์เกอร์ที่ทำจากเนื้อจริงมากๆ"
เนื้อที่ปลูกขึ้นมาเหมือนเราปลูกพืชนี้ มีข้อดีมากมาย และมีโอกาสทำการตลาดจากข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่เป็นเนื้อจริงคือ
(1) เนื้อหลอดแก้วปลูกจากเซลล์เนื้อวัว แล้วทำให้มันโตขึ้นมาด้วยการป้อนอาหารเข้าไปที่เซลล์โดยตรง ทำให้มีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรสูงมาก จึงเป็นเนื้อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิทยาศาสตร์คำนวณว่า วัวตัวเต็มวัยตัวหนึ่ง ผายลมเอาก๊าซมีเธนออกมาปีละ 180 กิโลกรัม ซึ่งก๊าซมีเธนนี้เป็นก๊าซเรือนกระจก ที่ดักจับความร้อนในชั้นบรรยากาศของโลกได้ดีกว่า คาร์บอนไดออกไซด์ถึง 25 เท่า การผลิตเนื้อวัวนั้นทำลายสิ่งแวดล้อมมากที่สุด เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับเต้าหู้ ซึ่งเป็นอาหารหลักของนักมังสวิรัติแล้ว มันใช้พื้นที่เกษตรกรรมมากกว่าเป็น 17 เท่า ใช้น้ำมากกว่า 26 เท่า ใช้เชื้อเพลิงมากกว่า 20 เท่า แถมยังใช้สารเคมีมากกว่าอีก 6 เท่า จากรายงานขององค์กรอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (UN's FAO) พบว่าอุตสาหกรรมปศุสัตว์ปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาทั้งหมด 18% ซึ่งมากกว่ารถยนต์ รถไฟ เรือ และเครื่องบิน รวมกันเสียอีก ดังนั้น การผลิตเนื้อวัวด้วยการปลูกเนื้อเยื่อ จะทำให้ผู้บริโภคที่มีความเป็นห่วงสิ่งแวดล้อมเลิกกินเนื้อวัวจริง แล้วหันมาบริโภคเนื้อปลูกมากขึ้นเรื่อยๆ
(2) การปลูกเนื้อในหลอดแก้ว ไม่ต้องมีการฆ่าวัวจริงๆ เป็นการผลิตอาหารไม่ต่างจากการปลูกพืช ซึ่งจะทำให้ตลาดมังสวิรัติยอมรับการทานเนื้อ เป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่ไม่ผิดศีลข้อที่ 1 จึงน่าจะมีอนาคต
(3) ถึงแม้เนื้อแฮมเบอร์เกอร์นี้จะเป็นเนื้อวัว แต่เกิดจากการปลูกขึ้นมา ไม่ได้มีการฆ่าวัว จึงน่าจะเจาะตลาดผู้ที่ทานเนื้อสัตว์แต่ไม่ทานเนื้อวัว โดยเฉพาะคนจีนที่นับถือพระโพธิสัตว์กวนอิม รวมไปถึงคนไทยส่วนใหญ่ที่ไม่ทานเนื้อวัวเพราะมีกลิ่น เนื้อที่ปลูกนี้เราสามารถ engineer กลิ่นให้เหมาะกับจมูกคนไทยได้
(4) เนื้อที่ปลูกปราศจากเชื้อโรค โดยเฉพาะโรควัวบ้า
(5) เทคโนโลยีนี้คิดโดยคนตะวันตก ดังนั้นอีกไม่นานเราจะเริ่มเห็นมาตรการต่างๆ ของประเทศตะวันตกที่จะกีดกันทางการค้า และสร้างเงื่อนไขใหม่ๆ ที่จะไม่ยอมรับเนื้อสัตว์ที่เกิดจากการเลี้ยง อีกไม่นาน การปลูกเนื้อสัตว์จะเริ่มระบาดไปสู่เนื้อหมู และ เนื้อไก่ ซึ่งประเทศไทยเป็นผู้นำในการส่งออก ทำให้การส่งเนื้อไก่ (จริงๆ) ไม่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค ไม่ว่าจะในเรื่องของความสะอาด ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และในเรื่องศีลธรรม ... คอยดูนะครับว่าเมื่อเขาทำเป็นอุตสาหกรรมได้เมื่อไหร่ ประเทศไทยรับผลกระทบเต็มๆ แน่ครับ
พระพุทธองค์ได้ทรงบัญญัติมรรคมีองค์ 8 ว่าเป็นทางสายกลางที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น สัมมาอาชีวะก็เป็นมรรคข้อหนึ่ง นั่นคือ การมีอาชีพที่สุจริตไม่เบียดเบียนผู้อื่น อาชีพการเลี้ยงสัตว์อย่างที่ทำกันในปัจจุบันเป็นอาชีพสุจริตแต่ก็ยังต้องเบียดเบียนชีวิตสัตว์ จึงอาจจะไม่ใช่สัมมาอาชีวะที่สมบูรณ์ แต่ในอนาคตการเลี้ยงสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหารจะเป็นสัมมาอาชีวะได้ เพราะเราจะไม่เลี้ยงสัตว์ แต่จะใช้การ "ปลูกสัตว์" แทนครับ
ป้ายกำกับ:
electronic nose,
food,
nano-agriculture,
nano-business,
nano-industry,
new paradigm,
synthetic biology
02 สิงหาคม 2556
Memetics Engineering - วิศวกรรมเปลี่ยนความคิดคน (ตอนที่ 1)
(Picture from http://www.npr.org/ แสดงให้เห็นการพับกระดาษชำระหน้าชักโครก ในโรงแรมต่างๆ ทั่วโลก ที่มักจะพับเป็นรูป V shape ไม่มีใครรู้ว่าใครเป็นคนพับคนแรก แล้วพับเพื่ออะไร แต่ Meme อันนี้มันได้ระบาดไปทั่วโลก แล้วยังมีวิวัฒนาการออกเป็นรูปร่างต่าง ๆ อย่างที่เห็นในภาพ)
ในปี ค.ศ. 1976 ริชาร์ด ดอว์กิน (Richard Dawkins) ปรมาจารย์ทางด้านชีววิทยาวิวัฒนาการ ได้ตีพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งที่มีชื่อว่า The Selfish Gene (ยีนเห็นแก่ตัว) หนังสือเล่มนี้ซึ่งเป็นหนังสือที่ขายดีมากๆ (Bestseller) ได้มีการเสนอแนวคิดที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง ซึ่งดอว์กินเรียกมันว่า "มีม" (Meme) โดยเขาได้นิยามว่า มันเป็นอาการทางนามธรรม ที่มีความสามารถในการแพร่พันธุ์หรือขยายจำนวนได้ ไม่ว่าจะเป็น แนวความคิด สัญลักษณ์ อาการต่างๆ พฤติกรรม เมโลดี้ของดนตรี ถ้อยคำ ความเชื่อทางศาสนา แฟชั่น แบบบ้าน และอื่นๆ อีกมากมาย สิ่งต่างๆ เหล่านี้ พอเกิดขึ้นมาแล้ว มันจะมีวิวัฒนาการ มีการขยายตัว มี mutation มีการคัดเลือกตามธรรมชาติ เสมือนมันเป็นสิ่งมีชีวิต มันอาจอยู่ได้นาน หรือ อาจตายไปในเวลาอันสั้น บางครั้ง meme มันขยายจำนวนไปมากๆ จนกลายมาเป็นสิ่งที่นิยมปฏิบัติกันไปเลย
ผมจะขอยกตัวอย่าง Meme ที่เกิดขึ้น จากนั้นก็แพร่พันธุ์ และวิวัฒนาการ ในสมองของคนไทย
- การทำบุญ 9 วัด เป็น meme ที่เกิดขึ้นจากคนกลุ่มเล็กๆ จากนั้นมันได้ขยายตัว และมีวิวัฒนาการไปด้วยระหว่างที่มันเพิ่มจำนวน จากเดิมการทำบุญ 9 วัด ทำกันในหมู่ผู้สูงอายุ แต่ตอนนี้คนหนุ่มสาวก็นิยม กลายเป็นทัวร์ แถมมีทัวร์ไปเมืองจีนไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ 9 แห่งเข้าไปอีก
- การที่คนนิยมไปเที่ยวปาย ต่อมาก็เชียงคาน ตอนนี้กำลังจะไปบูมที่เมืองน่าน การที่คนแห่แหนกันไปเที่ยวอัมพวา เดอะปาลิโอที่เขาใหญ่ ซานโตรินีพาร์คที่ชะอำ ล้วนเป็นการเอาอย่างกัน ทำตามกันทั้งสิ้น นั่นก็เพราะเจ้า Meme ได้แพร่ระบาดไปในสมองของคนเหล่านั้นนั่นเอง
- การมีกิ๊ก ก็เป็นการเอาอย่างกัน เป็น Meme ที่แพร่พันธุ์ในสมองคนไทยมาสักประมาณไม่น่าจะเกิน 10 ปีครับ แต่ก่อนนั้นเราเรียกการกระทำนี้ว่า "ชู้" แต่พอเปลี่ยนมาเป็น "กิ๊ก" แล้วดูเก๋ไก๋ ทำให้เจ้า Meme นี้ขยายตัวมากจนเกินขอบเขตและสร้างปัญหาสังคมขึ้นมามากมาย
- การเต้นโคโยตี้อย่างเอิกเกริกในงานต่างๆ แต่ก่อนเราเรียกการเต้นอย่างนี้ว่าจั๊มบ๊ะ ซึ่งต้องเต้นกันในสถานที่บันเทิงที่ขออนุญาต ไม่ได้เต้นโชว์กันอย่างเปิดเผยในงานมอเตอร์โชว์เหมือนเดี๋ยวนี้ คำว่า "โคโยตี้" มันก็มาจากภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดเรื่อง "Coyote Ugly" ที่นางเอก 3 คนเต้นโชว์ในผับ ซึ่งจากนั้น การเต้นจั๊มบ๊ะก็มาเปลี่ยนเป็นเต้นโคโยตี้ ซึ่งทำให้ฟังดูดี แล้วสังคมยอมรับมันมากขึ้นจนสามารถมาเต้นในที่สาธารณะได้ ... นี่ก็เป็นวิวัฒนาการของเจ้า Meme ตัวนี้นั่นเองครับ
- ความนิยมในการใช้ Line ก็เป็น Meme อย่างหนึ่งครับ คนส่วนใหญ่ ไม่ได้มีความจำเป็นต้องใช้ แค่เอาอย่างกัน
- ลัทธิธรรมกาย นี่ก็เป็น Meme อย่างหนึ่ง ซึ่งฝังตัวในสมองของคนกลุ่มหนึ่งอย่างเหนียวแน่น ซึ่งมันได้พยายามแพร่พันธุ์ไปสู่ผู้คนจำนวนมาก คนที่ถูกเจ้า Meme นี้ยึดครองจะยอมมอบกายถวายเงินให้แก่เจ้าลัทธิโดยไม่รู้ตัว
จะเห็นได้ว่า Meme เป็นอาการนามธรรมคล้ายๆ กับซอฟต์แวร์ ซึ่งต้องอาศัยบนฮาร์ดแวร์ที่เป็นสมอง จะมองว่า Meme นั้นเป็นไวรัสแบบหนึ่งก็ได้ครับ คือเมื่อมันฝังตัวบนพาหะได้แล้ว มันจะพยายามเพิ่มจำนวนให้มากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ใช่ว่ามันจะประสบความสำเร็จเสมอไป Meme บางตัวเพิ่มจำนวนรวดเร็วแต่แล้วกลับลดจำนวนลงแล้วสูญพันธุ์ไปในเวลาไม่นาน Meme บางตัวเพิ่มจำนวนไปเรื่อยๆ แต่ถูกรุกรานจาก Meme ตัวใหม่แล้วกลายพันธุ์ไป การเข้าใจศาสตร์ของ Meme แล้วดัดแปลงให้มันทำงานตามที่เราต้องการ กำลังจะกลายเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่มีทั้งประโยชน์มากมายมหาศาล และมีโทษภัยที่น่ากลัวมากครับ แล้วผมจะนำมาเล่าให้ฟังในวันหลังครับ
ป้ายกำกับ:
memetics,
mind sciences,
neuroscience
25 กรกฎาคม 2556
Smart Environment - สภาพแวดล้อมอัจฉริยะ (ตอนที่ 4): ตอน Smart Toilet
สภาพแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) หรือ สภาพแวดล้อมที่ตอบสนอง (Responsive Environment) หรือ สถาปัตยกรรมแบบอันตรกริยา (Interactive Architecture) เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการทำให้สิ่งแวดล้อม ที่อยู่อาศัย อาคารบ้านช่อง มีความฉลาด ทำงานตอบสนองต่อผู้อยู่อาศัย ทั้งในเชิงกายภาพ เชิงจิตใจ และ อารมณ์ สิ่งแวดล้อมที่เราอาศัยอยู่นี้จะรับรู้ด้วยสัมผัสของมันว่า เราใช้ชีวิตอยู่อย่างไร กำลังทำอะไร มีความสุขหรือหงุดหงิดไหม นอนหลับดีหรือว่ากระสับกระส่าย ใช้เวลาอยู่กับสิ่งไหนมากน้อยอย่างไร แล้วมันก็จะพยายามเอาใจใส่เรา ทำในสิ่งที่เราต้องการ ด้วยการดูแลเรา และช่วยเหลือเราให้อยู่อย่างมีความสุข
ในกลุ่มวิจัยของผมมีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลายชนิด ที่จะทำงานในสภาพแวดล้อมอัจฉริยะ ได้แก่ ถุงมือรับส่งข้อมูล (Interactive Data Glove) รองเท้าอัจฉริยะ (Smart Shoe) หมอนอัจฉริยะ (Smart Pillow) เตียงอัจฉริยะ (Smart Bed) จมูกอัจฉริยะ (Smart Nose) ซึ่งยังมีเทคโนโลยีอีกชนิดหนึ่งที่สำคัญมาก แต่ผมยังศึกษาเรื่องนี้เพียงเล็กน้อย ทั้งๆ ที่เรื่องนี้มีความสำคัญมากทั้งในปัจจุบันและอนาคต นั่นคือ ส้วมอัจฉริยะ (Smart Toilet) ครับ เชื่อสิครับว่าในอนาคต ทั้งส้วมและห้องน้ำ จะกลายมาเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่บูมมากๆ และเราก็เริ่มเห็นเทรนด์นี้แรงขึ้นเรื่อยๆ ครับ ดังที่ผมจะยกตัวอย่างต่อไปนี้
- เราเริ่มเห็นชักโครกฉลาดมากขึ้นเรื่อยๆ ใครที่เคยไปญี่ปุ่นก็จะมีประสบการณ์กับโถส้วมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมันจะทำที่นั่งให้อุ่นเวลาเรานั่งลงไป เมื่อเสร็จภารกิจ ก็จะฉีดน้ำใส่ก้น และเป่าลมอุ่นๆ ทำให้ก้นแห้ง หรือถ้าเป็นสุภาพสตรีก็จะมีหัวพ่นน้ำด้านหน้าให้ใช้งานด้วย ซึ่งโถส้วมรุ่นหลังๆ นั้น มันมีฟังก์ชันที่เจ๋งๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ครับ เช่น มีระบบทำความสะอาดตัวเอง ตัวอุปกรณ์ทั้งหมดเคลือบวัสดุนาโนที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ส้วมจะเปิดเพลงแบบที่เรียกว่า Theme Song ตอนที่เราเดินเข้ามาจะใช้งาน ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนได้ หรือแม้กระทั่งต่อโทรศัพท์ iPhone หรือ Android Phone เข้าไปเพื่ออัพโหลดเพลงใส่เข้าไปในโถส้วม
- Urinal Game System หรือระบบเกมส์โดยใช้ฉี่ เป็นเทรนด์ใหม่ในห้องน้ำตามผับต่างๆ ในอังกฤษ ซึ่งสุภาพบุรุษสามารถที่จะฉี่ไปเล่นเกมส์ไปพร้อมกันได้ โดยจะมีหน้าจอแสดงผล โดยเราจะใช้น้ำปัสสาวะของเราระหว่างที่เราฉี่นี่แหล่ะครับ เป็นตัวเล่นเกมส์ เช่น อาจจะมีเกมส์ขับรถหลบสิ่งกีดขวาง ซึ่งเราสามารถเอี้ยวตัวไปซ้าย ไปขวา เพื่อให้น้ำปัสสาวะของเราสะบัดไปซ้าย-ขวา ได้ ซึ่งโถฉี่จะมีเซ็นเซอร์ที่ตรวจจับน้ำฉี่ของเรา ทำให้เราสามารถควบคุมเกมส์ได้ ซึ่งก็จะทำให้สุภาพบุรุษที่ดื่มมากๆ แล้วอั้นปัสสาวะนานๆ ได้เปรียบ สามารถเล่นเกมส์ได้นาน ซึ่งเทคโนโลยีตัวนี้ได้สร้างรายได้เพิ่มให้กับผับต่างๆ ทางอ้อมเลยครับ เพราะน่าจะขายเบียร์ได้มากขึ้น เพื่อให้สามารถฉี่ได้เยอะๆ
- ผับหลายๆ แห่งในสิงคโปร์มีการติดตั้งเซ็นเซอร์ที่โถปัสสาวะท่านชาย เพื่อตรวจสอบระดับแอลกอฮอล์ในปัสสาวะ ซึ่งมันจะมีหน้าจอเตือนให้เรียกแท็กซี่ หรือ ให้เพื่อนขับแทน หากมันตรวจพบว่าเราดื่มมากเกินไปจนไม่น่าจะขับรถได้อย่างปลอดภัย
ไอเดียในการทำส้วมให้มีความฉลาดนั้นมีได้มากมายเกินจินตนาการเลยครับ แต่สิ่งที่ผมสนใจคือ การทำให้ส้วมเป็นอุปกรณ์ตรวจสุขภาพประจำบ้าน เพราะคนเราใช้ห้องส้วมทุกวัน และสิ่งที่เราปลดปล่อยออกมาจากร่างกาย มันบ่งชี้สถานะทางสุขภาพของเราได้เป็นอย่างดี งานวิจัยเบื้องต้นที่เราเคยทำคือ การตรวจสอบสภาวะน้ำตาลจากกลิ่นปัสสาวะ ซึ่งสามารถนำเซ็นเซอร์ไปติดตั้ง และเก็บข้อมูลปัสสาวะได้ทุกครั้งๆ ที่เราฉี่ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อเข้าคอมพิวเตอร์ประจำบ้าน เข้าสมาร์ทโฟน หรือ รายงานใน Facebook
10 กรกฎาคม 2556
อาภรณ์อัจฉริยะ - Wearable Intelligence (ตอนที่ 7)
(Picture from wired.com)
ในอดีตเรามีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่กี่อย่างที่สวมใส่ได้ (Wearable Electronics) ที่ผมพอยกตัวอย่างได้ก็มีนาฬิกาดิจิตอล ซึ่งแสดงตัวเลขแบบอาระบิกแทนเข็มนาฬิกา มีเสียงปลุกเป็นเสียงดนตรี สามารถจับเวลาได้มีความละเอียดถึง 1 ส่วน 100 วินาที ซึ่งผมรู้จักครั้งแรกตอนอายุสัก 10 ขวบ มั๊งครับ เป็นยี่ห้อคาสิโอ กาลเวลาผ่านมา 30 ปี นาฬิกาคาสิโอก็ไม่ได้พัฒนาขึ้นมากเท่าไหร่นัก เพียงแต่รุ่นหลังอย่างแบบที่ผมใช้ จะมีเซ็นเซอร์เพิ่มขึ้นมาหลายชนิด เช่น มีเทอร์โมมิเตอร์ เข็มทิศ บารอมิเตอร์ และ โซลาร์เซลล์ ผมเคยคิดมานานแล้วว่า ทำไมนาฬิกาข้อมือ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จริงๆ แล้วมีความใกล้ชิดกับมนุษย์มากกว่าโทรศัพท์มือถือเสียอีก (เพราะมันไม่ต้องพก สามารถสวมใส่ไปไหนมาไหนได้เลย) แต่นาฬิกาข้อมือกลับไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร จนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น ซัมซุง โซนี่ และ แอปเปิ้ล ต่างประกาศตัวว่าจะพัฒนานาฬิกาฉลาด หรือ smart watch ออกมาขาย
ทำไมผู้คนถึงเริ่มมาสนใจที่จะพัฒนานาฬิกาให้มันฉลาดขึ้นในช่วงนี้หล่ะครับ ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากกระแสความต้องการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มันติดตัวไปไหนมาไหนได้ (Mobile & Ubiquitous) คือมีความคล่องตัว ใช้ง่ายได้ทุกที่ ทุกเวลา และทำได้หลายอย่าง อีกส่วนหนึ่งมาจากแนวโน้มการดูแลรักษาสุขภาพของผู้คน ที่มีความต้องการจะรู้ข้อมูลสุขภาพของตนเองแบบใช้ง่าย ใช้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ทำให้เราเริ่มเห็นอุปกรณ์รูปแบบใหม่ที่เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่ใช้งานเหมือนเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ (และบางครั้งก็อาจเป็นเครื่องประดับได้ในตัว) มากขึ้นเรื่อยๆ ครับ และอย่างหลังนี้เองที่ทำให้เกิดเทคโนโลยีที่เรียกว่า Physiological Computing Systems หรือ ระบบตรวจวัดทางสรีรวิทยา ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการเฝ้าดู และตรวจวัด พารามิเตอร์ทางสุขภาพของมนุษย์ ซึ่งในที่นี้ก็มักจะต้องเป็นอุปกรณ์ที่สวมใส่ได้ เพื่อที่จะสามารถเก็บข้อมูลความเป็นไปของร่างกายผู้สวมใส่ได้ตลอดเวลา ซึ่งจะนำมาสู่การวิเคราะห์สถานภาพทางสุขภาพของเราได้แบบทุกที่ ทุกเวลา ไงหล่ะครับ
ในการตรวจวัดสถานภาพของสรีระของผู้ใส่ เราอาจจะแบ่งการตรวจวัดออกเป็น 4 ชนิด ซึ่งอุปกรณ์บางชนิดอาจจะตรวจวัดประเภทเดียว แต่บางอุปกรณ์อาจตรวจวัดสถานภาพได้หลายประเภท
(1) Bioelectrical Signals เป็นการตรวจวัดสถานภาพของร่างกาย จากการวัดสัญญาณไฟฟ้าของร่างกาย เช่น สัญญาณสมอง สัญญาณไฟฟ้าหัวใจ สัญญาณประสาทกล้ามเนื้อ ซึ่งในอดีต อุปกรณ์ประมวลผลสัญญาณเหล่านี้แพงมาก แต่ในปัจจุบันสามารถซื้อหามาเล่นในราคาที่เป็นมิตรขึ้นครับ ซึ่งจะทำให้ทราบว่าหัวใจเต้นดีมั้ย สมองมีกิจกรรมการคิดเป็นอย่างไร ระบบประสาทเป็นอย่างไร เป็นต้น
(2) Biomechanical Signals เป็นการตรวจวัดสถานภาพของร่างกาย จากสัญญาณทางชีวกล เช่น การขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวของร่างกาย ซึ่งจะทำให้รู้กิจกรรมเชิงกลของร่างกายได้ เช่น การเดิน นั่ง นอน วิ่ง การหายใจ เป็นต้น กลุ่มวิจัยของผมเองก็พัฒนาอุปกรณ์หลายอย่างที่อาศัยการวัดสัญญาณทางชีวกลครับ เช่น รองเท้าที่ติดเซ็นเซอร์ซึ่งตรวจวัดอากัปกริยาการเดิน สามารถที่จะตรวจวัดความผิดปกติในการเดินได้ โดยสามารถตรวจหาโรคพาร์กินสันได้ นอกจากนั้นก็ยังมี หมอนอัจฉริยะที่สามารถตรวจวัดสถานภาพการนอน ว่านอนหลับดีหรือไม่ อัตราการหายใจเป็นอย่างไร มีประสิทธิภาพการหลับมากน้อยแค่ไหนในแต่ละคืน เป็นต้น
(3) Biochemical Signals เป็นการตรวจวัดสถานภาพของร่างกาย จากสัญญาณทางชีวเคมีในร่างกาย ซึ่งจะทำให้ทราบสถานะทางสุขภาพภายในร่างกาย เช่น มีสุขภาพดีไหม มีโรคภัยไข้เจ็บหรือป่าว เช่น เซ็นเซอร์ตรวจวัดปริมาณออกซิเจนในเลือด เซ็นเซอร์ตรวจวัดปริมาณกลูโคสในกระแสเลือด เป็นต้น ในกลุ่มวิจัยของผมเอง ก็มีการพัฒนาอุปกรณ์ประเภทนี้อยู่อย่างหนึ่งคือ เซ็นเซอร์ดมกลิ่นแบบสวมใส่ได้ ในรูปของอาร์มแบนด์ และ เสื้อสุขภาพ ซึ่งมันจะตรวจวัดกลิ่นตัวทำให้ทราบว่าสถานภาพทางเคมีในร่างกายปกติหรือไม่ หรือมีโรคอะไรอยู่ เพราะร่างกายที่ปกติ กับ ร่างกายที่เป็นโรค มีการปล่อยกลิ่นออกมาไม่เหมือนกัน
(4) Biophysical Signals เป็นการตรวจวัดสถานภาพของร่างกาย จากสัญญาณทางชีวฟิสิกส์ เช่น การตรวจวัดสภาพเนื้อเยื่อด้วยการส่งคลื่นเสียงเข้าไป การเปลี่ยนสีของผิวจากการใช้ครีม whitening เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันอุปกรณ์แบบสวมใส่ได้เพื่อตรวจสัญญาณประเภทนี้ยังไม่ค่อยมีครับ
เอาไว้วันหลัง ผมมีเวลา จะมาเล่ารายละเอียดของเทคโนโลยีสวมใส่ได้ที่น่าสนใจเพิ่มเติมนะครับ
05 กรกฎาคม 2556
Digital Food - อาหารดิจิตอล (ตอนที่ 3)
(Picture from spectrum.ieee.org)
ถ้าผมจะบอกว่า "ในอนาคต กูเกิ้ลและไอบีเอ็ม จะเป็นยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ส่วนบริษัทซีพี จะหายไปจากประเทศไทย" ท่านผู้อ่านจะเชื่อไหมครับ วันนี้ผมจะขอกลับมาคุยต่อในเรื่องของเทคโนโลยี Digital Food ที่กำลังจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมนุษย์ โดยผมจะขอเสนอมุมมองในภาพใหญ่ว่า Digital Food จะเข้ามาเปลี่ยนวิธีการกินของลูกหลานเราอย่างไร ซึ่งผมจะเสนอแนวคิดแบ่งเป็นระดับต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ดังนี้ครับ
(1) ในระดับต้นน้ำ ก็คือ การปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้ได้อาหารเกิดขึ้น จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ที่ผมจะขอยกตัวอย่างให้ดูดังนี้ครับ
- แนวโน้มใหญ่อันหนึ่งน่าจะมาครับ นั่นคือ การ "ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์" จะเปลี่ยนไปเป็นการ "ปลูกสัตว์ เลี้ยงพืช" เปลี่ยนยังไง อ่านต่อข้างล่างครับ
- การปลูกสัตว์คืออะไร คือการที่เราผลิตเนื้อสัตว์ขึ้นมาโดยไม่ต้องมีการเลี้ยงสัตว์จริง มีการเสนอเทคโนโลยีขึ้นมาหลายชนิด ตั้งแต่การเลี้ยงเนื้อเยื่อสัตว์ โดยเพาะให้โตขึ้นมาจากสเต็มเซลล์ แบบเดียวกับการเพาะเมล็ดให้โตมาเป็นพืช เราอยากจะกินส่วนไหนมาก ก็ปลูกส่วนนั้น เช่น คนชอบกินน่องไก่ ก็ปลูกน่องไก่ขึ้นมาเยอะๆ การปลูกสัตว์ทำให้เราไม่ต้องฆ่าสัตว์ ไม่ต้องผิดศีลข้อ 1 ซึ่งก็จะทำให้คนที่กินมังสวิรัติหันมากินเนื้อปลูก นอกจากนั้นแล้วยังมีการเสนอแนวคิดในการเลี้ยงสัตว์แบบในภาพยนตร์เรื่อง The Matrix คือมีแต่ตัว แต่ไม่มีจิตใจ เพราะมีการตัดสมองส่วนความรู้สึกนึกคิดออกไป ทำให้สัตว์เลี้ยงมีแต่ตัว แต่ไม่มีหัวใจ (การคิด)
- การเลี้ยงพืช คือ การดูแลพืชจากเดิมที่เคยปลูกแล้วทิ้งๆ ไว้ ก็จะเป็นการดูแลเอาใจใส่อย่างแม่นยำ เหมือนการเลี้ยงสิ่งที่มีจิตใจ เพราะในระยะไม่กี่ปีมานี้ นักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานใหม่ๆ ว่าพืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสามารถเชิงตรรกะ เรียกว่ามี Intelligence หรือ ปัญญานั่นเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่เคยคาดคิดมาก่อน ดังนั้นความเข้าใจในเรื่องนี้มากขึ้น จะนำมาสู่การเลี้ยงพืชที่ให้ผลผลิตตามที่เราต้องการ
- การเกษตรแม่นยำสูง (Precision Farming) จะเข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญ เทคโนโลยีดิจิตอล จะช่วยให้การผลิตมีตรรกะ มีการประมวลผล มีการสนับสนุนด้วยข้อมูล เกษตรกรจะใช้ข้อมูลต่างๆ มากมายในการจัดการฟาร์ม ฟาร์มจะถูกเชื่อมโยงเข้ากับระบบคลาวด์ ฟาร์มจะเชื่อมโยงกับเขื่อนที่ปล่อยน้ำ เชื่อมโยงกับห้างสรรพสินค้า และผู้ใช้ผ่าน Sensor and Social Networks
(2) ในระดับกลางน้ำ คือการแปรรูปอาหาร การนำอาหารไปทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ แนวโน้มใหม่ที่น่าจะเกิดขึ้นคือ
- การผลิตอาหารจะใช้ระบบดิจิตอล และระบบติดตามมากขึ้น อาหารจากต้นน้ำจะมีระบบติดตามจนมาถึงการแปรรูป และไปสู่ผู้บริโภค เช่น หมูที่เลี้ยงจะมีไมโครชิพที่เรียกว่า RFID ติดไว้กับตัว เมื่อหมูถูกนำไปชำแหละเป็นเนื้อหมูใส่ในแพ็คเกจวางขายในห้างสรรพสินค้า ในแพ็คเกจจะมีแถบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถติดตามได้ว่า เนื้อหมูนี้มาจากหมูตัวไหน ที่ฟาร์มอะไร เมื่อผู้ซื้อซื้อไปแล้วเกิดปัญหาเช่น ป่วยจากแบคทีเรียในเนื้อหมู จะสามารถติดตามได้เลยว่ากินหมูตัวไหน เลี้ยงที่ไหนเข้าไป
- อาหารจะผูกโยงกับเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เมื่อมีการนำเซ็นเซอร์ตรวจวัดไปใช้ในกระบวนการต้นน้ำมากขึ้น จะทำให้ผู้บริโภคสามารถรู้รายละเอียดของอาหารไปจนถึงว่าอาหารที่จะกิน มีส่วนเกี่ยวข้องกับโลกร้อนมากแค่ไหน ใช้พลังงานเท่าไหร่ในการผลิตต่อกิโลกรัม ผู้บริโภคจะปฏิเสธที่จะกินเนื้อไก่ที่เกิดจากการเลี้ยงไก่แบบแออัดยัดเยียด เหมือนที่บริษัทซีพีทำอยู่ในขณะนี้
- มีการนำเซ็นเซอร์มาใช้กับอาหารมากขึ้น เกิดเป็นบรรจุภัณฑ์ฉลาด (Smart Packaging) ที่มีการตรวจวัดอาหารแบบเรียลไทม์ เช่น เซ็นเซอร์ตรวจวัดความสุกของผลไม้ จะบอกว่าถ้าซื้อไปจะต้องกินภายในวันไหน เนื้อหมูสดหรือไม่ อาหารที่บรรจุเคยผ่านโกดังที่มีอุณหภูมิสูงเกินไปหรือไม่ แม้กระทั่งคุณภาพความน่ากินของอาหารที่ลดลงไปหากวางไว้นาน ก็อาจนำมาใช้ในการลดราคาอาหารลงแบบเรียลไทม์ก็ได้ (ในอนาคต ป้ายบอกราคาก็เป็นดิจิตอล LED กันหมด ผู้ซื้อสามารถใช้โทรศัพท์มือถือสแกนที่อาหาร เพื่อขอข้อมูลรายละเอียดได้ โดยนำมือถือไปแตะของที่จะซื้อ)
- จะมีสูตรอาหารใหม่ๆ มากขึ้น จะมีการนำเอาเทคโนโลยีเช่น จมูกอิเล็กทรอนิกส์ ลิ้นอิเล็กทรอนิกส์ มาใช้ทำมาตรฐานความอร่อย อาหารแต่ละแพ็คเก็จ แต่ละจานที่ออกไปจะรู้ความอร่อยเลยครับ มากไปกว่านั้นคือ คอมพิวเตอร์จะถูกนำมาใช้ออกแบบอาหารใหม่ๆ ที่มีรสถูกปากมนุษย์ เราจะมีตำหรับอาหารแปลกๆ ใหม่ๆ ออกมามากมายที่ไม่เคยมีมาก่อน
(3) ในระดับปลายน้ำ คือ ระดับผู้บริโภคอาหาร สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นคือ
- ระบบติจิตอลจะมาอยู่ในครัวมากขึ้น ตู้เย็นจะมีความฉลาดมากขึ้น มันจะเชื่อมโยงกับระบบอินเตอร์เน็ต ตู้เย็นฉลาดนี้จะต่อเชื่อมกับเซ็นเซอร์ตรวจวัดสุขภาพของบุคคลต่างๆ ในบ้าน มันจะแนะนำเมนูอาหารที่ควรรับประทาน หากผู้ใช้ยินยอม มันจะเชื่อมต่อสั่งของจากเทสโก้ โลตัสให้มาส่งของที่บ้าน มันจะคอยตรวจเช็คว่าอาหารใกล้หมดหรือยัง แล้วคอยจัดการตารางการสั่งของให้ ในตู้เย็นจะมีเซ็นเซอร์คอยตรวจจับคุณภาพของอาหารให้สดอยู่เสมอ
- จะมีสิ่งที่เรียกว่า Robot Chef เกิดขึ้น เราอาจจะเรียกว่าเป็น พ่อครัวหุ่นยนต์ หรือ พ่อครัวอิเล็กทรอนิกส์ มันจะเป็นเครื่องที่สร้างอาหารให้เรากิน โดยในเครื่องจะมีส่วนผสมอาหารต่างๆ เป็นตลับ คล้ายๆ ตลับหมึกในเครื่องพรินเตอร์นั่นหล่ะครับ เครื่องที่มีความซับซ้อนมากๆ ก็จะมีตลับวัตถุดิบจำนวนมาก โดยในตลับจะมีทั้งวัตถุดิบต่างๆ รสชาติ กลิ่น เมื่อเราอยากกินอะไร เราก็ไปกดโปรแกรม เจ้าเครื่องนี้ก็จะทำการพิมพ์อาหารออกมาโดยใช้วัสดุจากตลับนั้นแหล่ะครับ มันจะสร้างอาหาร ผสมส่วนผสมต่างๆ แล้วใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่ออุ่น ทำให้สุก หรือ ใช้แผ่นเย็นเพื่อทำให้เย็น ในกรณีที่เราสั่งของเย็น เช่น เฟรปเป้ ไอศกรีม เป็นต้น เอาไว้ผมจะค่อยเล่าเรื่องนี้อีกครั้งครับ วันนี้มีเวลาแค่นี้
เตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมท้อง เอาไว้กิน Digital Food กันได้เลยครับ .....
ป้ายกำกับ:
electronic nose,
food,
nano-agriculture,
nano-business,
nano-industry,
new paradigm,
synthetic biology
01 กรกฎาคม 2556
BIG DATA - ยุคข้อมูลใหญ่มหึมา มาถึงแล้ว (ตอนที่ 3)
(Picture from http://www.mushroomnetworks.com/)
ปัจจุบันเราอยู่ในยุคแห่งข้อมูลใหญ่มหาศาล และนับวันมันก็จะใหญ่มากขึ้นไปเรื่อยๆ เอาเฉพาะ Facebook อย่างเดียว ในแต่ละวันมีคนกดไลค์กันวันละ 4.5 พันล้านครั้ง อัพโหลดรูปภาพขึ้นไปวันละ 350 ล้านรูป ส่วนแอพรูปภาพที่เป็นที่นิยมอย่าง Instagram มีการอัพโหลดรูปภาพขึ้นไปวันละ 40 ล้านรูป โดยแต่ละวินาทีมีคนกดไลค์กัน 8500 ครั้ง และคอมเม้นท์กันมากถึง 1000 ครั้ง ส่วนบริการวีดิโออนไลน์อย่าง Youtube นั้น ทุกๆ วินาที มีการอัพโหลดคลิปวีดิโอความยาวอย่างน้อย 1 ชั่วโมงขึ้นไป ในหนึ่งวันมีการกดเข้ามาดู 4 พันล้านคลิป และในแต่ละเดือน คลิปวีดิโอถูกเปิดคิดเป็นเวลานานถึง 3 พันล้านชั่วโมง
เมื่อก่อนบนระบบอินเตอร์เน็ตจะมีเพียงเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้นที่เชื่อมโยงอยู่บนอินเตอร์ และก็มีเฉพาะมนุษย์เท่านั้น ที่เชื่อมต่อใช้งานและปฏิสัมพันธ์กันบนอินเตอร์เน็ต แต่ปัจจุบันนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์กำลังจะกลายเป็นประชากรส่วนน้อยที่เชื่อมต่อบนอินเตอร์เน็ตไปแล้ว เพราะตอนนี้มีอุปกรณ์อื่นๆ มากมายได้เข้ามาเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ แทปเล็ต ไอพอต ทีวี ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องเล่นเกมส์ กล้องวงจรปิด (ซึ่งกลายเป็นกล้องวงจรเปิดไปแล้ว) เซ็นเซอร์ต่างๆ รถยนต์ รถไฟ อากาศยานทั้งมีนักบินและไร้นักบิน ว่ากันว่าตอนนี้มีอุปกรณ์ประมาณ 8.7 พันล้านตัว เชื่อมโยงอยู่บนอินเตอร์เน็ต เอาง่ายๆ ที่บ้านผมบ้านเดียว ซึ่งมีประชากรจำนวน 5 คน ตอนนี้มีคอมพิวเตอร์ PC จำนวน 2 เครื่อง คอมพิวเตอร์ Notebook จำนวน 5 เครื่อง ไอโฟน 2 เครื่อง ไอพอด 2 เครื่อง มือถือแอนดรอยด์ 3 เครื่อง แทปเล็ต 4 เครื่อง อินเตอร์เน็ตทีวี 2 เครื่อง ระบบกล้องวงจรปิด ระบบกันขโมย เซ็นเซอร์ตรวจวัดสุขภาพ สมาร์มิเตอร์ (เซ็นเซอร์ตรวจวัดการใช้ไฟฟ้า) อีกอย่างละหนึ่ง รวมทั้งหมดเป็น 29 อุปกรณ์ ซึ่งในอนาคตมันจะมากขึ้นไปเรื่อยๆ ครับ มีการคาดการณ์กันว่าในอนาคต การคุยกันบนอินเตอร์เน็ต จะเป็นการคุยกันระหว่าง Machine to Machine หรือจักรกลคุยกับจักรกล มากกว่ามนุษย์คุยกับมนุษย์เสียอีก เช่น เขื่อนขอข้อมูลระดับน้ำจากเซ็นเซอร์ตรวจวัดน้ำของกรมชลประทาน และ ข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้า (ซึ่งข้อมูลการใช้ไฟฟ้าก็ได้มาจากสมาร์ทมิเตอร์ ที่ติดตั้งอยู่ในแต่ละบ้าน) เพื่อนำมาควบคุมการปล่อยน้ำอัตโนมัติ หรือ รถยนต์ที่วิ่งอยู่คุยกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลการจราจรที่รถยนต์คันอื่นๆ ประสบมา เป็นต้น
จริงๆ แล้ว Big Data ไม่ใช่แค่เรื่องของขนาดข้อมูลที่ใหญ่เท่านั้น แต่มันยังเป็นเรื่องของปฏิสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ ด้วย เช่น ข้อมูลการใช้ไฟฟ้าที่อ่านด้วยสมาร์ทมิเตอร์ที่ส่งมาที่การไฟฟ้านั้น มันมีนัยแอบแฝงมากมาย เช่น พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าในแต่ละวัน ซึ่งการไฟฟ้าสามารถนำไปใช้ออกแบบ วางแผน การผลิตไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพ จำนวนและชนิดของเครื่องใช้ไฟฟ้าของแต่ละบ้าน ซึ่งทำให้ทราบว่าแต่ละครัวเรือนมีเครื่องปรับอากาศกี่ตัว มีการเพิ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในแต่ละปี มีการใช้ไฟฟ้าเพื่อแสงสว่างเป็นอัตราส่วนเท่าไหร่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นที่ต้องการของบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้า บริษัทผลิตโซลาร์เซลล์ และ บริษัทขายหลอดไฟ LED มาก ซึ่งหากทุกครัวเรือนติดสมาร์ทมิเตอร์กันหมด โรงไฟฟ้าสามารถเดินเครื่องอัตโนมัติ ตามความต้องการใช้ไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละเครื่องอย่างเรียลไทม์เลยครับ
การที่แนวโน้มของ Big Data ได้เข้าไปมีบทบาทในทางธุรกิจมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ตอนนี้ เกิดความต้องการบุคลากรอาชีพหนึ่งที่เรียกว่า นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) เป็นอย่างมาก เป็นอาชีพที่ขาดแคลนที่สุดอาชีพหนึ่งในสหรัฐอเมริกา หน้าที่หรือภารกิจของนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลก็คือ การนำข้อมูลขนาดมหึมามาใช้ประโยชน์ ด้วยการใช้อัลกอริทึมต่างๆ เพื่อค้นหานัยยะ ความหมาย ตัวบ่งชี้ต่างๆ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจในทางธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้เกิดความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง ตัวอย่างเช่น นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลจะเข้าไปดูว่าตอนนี้ ผู้คนกำลังคุยอะไรกันใน Facebook แชร์ภาพอะไรใน Instagram ส่งข้อความอะไรใน Twitter พวกเขาเหล่านั้นมีแนวโน้มในความสนใจเรื่องอะไรมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วนำเทรนด์เหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ เช่น การออกแบบสินค้า ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่จะได้รับความสนใจ เกิดเป็น Talk of the Town ว่ากันว่าการที่ประธานาธิบดี บารัค โอบามา เอาชนะการเลือกตั้งมาได้ 2 สมัยนั้น ก็เพราะว่าทีมงานมีการใช้หลักการของวิทยาศาสตร์ข้อมูล เพื่อใช้ประโยชน์จาก Big Data นั่นเอง
Big Data กำลังเป็นกระแสที่แรงที่สุดในภาคธุรกิจขณะนี้ และใครก็ตามที่ขึ้นรถไฟขบวนนี้ไม่ทัน ก็อาจจะถึงกลับสูญพันธุ์กันเลยทีเดียว ......
ป้ายกำกับ:
business,
computational science,
Economy,
new paradigm
19 มิถุนายน 2556
Disruptive Education - การศึกษาแบบทะลุทะลวงโลก (ตอนที่ 5)
(Picture from www.stanford.edu)
เห็นเด็กมัธยมสมัยนี้แห่กันไปเรียนกวดวิชา เพื่อที่จะสามารถทำคะแนนสอบเข้าไปเรียนมหาวิทยาลัย แล้วผมรู้สึกสงสารประเทศไทยเหลือเกินครับ สถาบันกวดวิชาที่เปิดเป็นดอกเห็ดเหล่านั้น ก็ไม่ได้สอนให้เด็กฉลาดหรือเก่งขึ้นเลย แต่เป็นการสอนเคล็ดลับการทำโจทย์ข้อสอบมากกว่า ซึ่งเด็กที่ไปเรียน นอกจากเสียทั้งเงินจำนวนมากแล้ว ยังเสียเวลา แทนที่จะเอาเวลาเหล่านั้นไปเรียนรู้สิ่งที่จะมีประโยชน์ ที่จะสามารถใช้ทำมาหากินในอนาคตได้ ทว่า ... เด็กๆ พ่อแม่ผู้ปกครองก็ยอมเสียเงิน เสียเวลา ด้วยความหวังว่า การได้เข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยมีชื่อ จะช่วยคืนทุนในอนาคตได้ .... แต่เปล่าเลยครับ เด็กๆ ที่เคยชินกับการป้อนความรู้แบบจานด่วนเหล่านี้ จะไม่มีทักษะในการเรียนรู้เองได้ในระดับมหาวิทยาลัย เขาเหล่านั้นจะมุ่งเรียนเพื่อเอาเกรดไม่ใช่ความรู้ หรือ ทักษะที่ทำให้เกิดการได้เปรียบในการทำงานในอนาคต เมื่อเด็กเหล่านี้จบมาก็จะรับเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท เหมือนคนอื่นๆ
น่าสงสารประเทศไทยที่เราเลี้ยงดูเด็กด้วยระบบติวเตอร์ แทนที่จะให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้ด้วยตัวเอง ยกตัวอย่างนะครับ การแข่งขัน คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยาโอลิมปิก ประเทศไทยมีเด็กไปได้เหรียญทอง เงิน ทองแดง มานับไม่ถ้วน บางปีเราได้เหรียญมากกว่าประเทศที่ฉลาดกว่าเรา ไม่ว่าญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เป็นต้น เราอาจจะเผลอคิดว่า เด็กไทยเราฉลาดนะเนี่ยสามารถคว้าเหรียญมาได้ตั้งเยอะ แต่ .... เปล่าเลยครับ เด็กโอลิมปิกเหล่านั้นไม่ได้ฉลาดกว่าเด็กประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น แต่เพราะการติวโจทย์ต่างหาก เราใช้ทีมอาจารย์มหาวิทยาลัย ครูพี่เลี้ยง จำนวนมาก เพื่อติวข้อสอบเด็กเหล่านั้นจนได้เหรียญ ไม่ใช่เพราะเด็กเหล่านั้นฉลาด ... ไม่งั้นประเทศไทยก็คงเจริญกว่านี้ไปไหนต่อไหนแล้วครับ ไม่ต้องเป็นประเทศรายได้ปานกลางแบบนี้หรอกครับ แล้วไงครับ ผ่านมาหลายๆ ปีแล้ว เด็กเหรียญทองโอลิมปิกพวกนี้หายไปไหนกันหมด ทำไมเราไม่มีนักประดิษฐ์ นวัตกร วิศวกรเก่งๆ ที่มาจากเด็กเหล่านี้เลย กลายเป็นว่า คนรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จ สร้างตัว สร้างกิจการ เป็นวัยรุ่นพันล้าน กลับเป็นคนที่ครั้งหนึ่งเกือบเรียนไม่จบ ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น
ลองมาดูอีกตัวอย่างหนึ่งกันครับ ในยุคหลังเราเริ่มมีโรงเรียนวิทยาศาสตร์มากขึ้น บางโรงเรียนก็เป็นระบบกิน-นอน คือ เรียนและใช้ชีวิตในโรงเรียนไปเลย สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เด็กที่ไปเรียนโรงเรียนเหล่านี้ ก็ไม่พ้นถูกครอบงำด้วยระบบติวเตอร์ เด็กๆ ถูกอัดด้วยเนื้อหาวิชาอย่างเข้มข้น อีกทั้งยังเรียนเกินวัย เช่น เรียนวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ที่สอนในชั้นปี 2 ของมหาวิทยาลัย โรงเรียนมีการส่งเด็กเหล่านี้ไปฝึกทำวิจัยกับอาจารย์ในมหาวิทยาลัยด้วย สิ่งที่ผมได้มีโอกาสเรียนรู้จากเด็กๆ 2-3 รุ่นก็คือ
- เด็กเหล่านี้ไม่มีความเป็นเด็ก ขาดจินตนาการ คิดนอกกรอบไม่เป็น
- เด็กเหล่านี้ไม่มีความสดชื่น หน้าตาตึงเครียดตลอดเวลา พูดเล่นด้วยไม่หัวเราะ
- เด็กเหล่านี้มีความคิดว่าตนเองเก่ง ฉลาด และมีความคาดหวังสูงในการได้รับการยอมรับจากคนรอบข้าง เมื่อได้รับคำชมเด็กเหล่านี้จะรู้สึกว่าตนเองสมควรได้รับอยู่แล้ว แต่เมื่อได้รับการติเตียน เด็กเหล่านี้จะทำใจไม่ได้
- เด็กเหล่านี้ถูกโอ้โลมมาเยอะ ได้รับการเอาใจใส่สูงในระบบติวเตอร์ เด็กจึงไม่พร้อมจะผิดพลาดหรือล้มเหลว ทั้งๆ ที่การล้มเหลวคือกระบวนการเรียนรู้ และสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน แก่ผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตเกือบทั้งนั้น
- เด็กเหล่านี้มีจริยธรรมในการทำงานไม่ได้มาตรฐาน เด็กมีตารางกิจกรรมแน่น แต่อยากจะทำให้ได้ทุกอย่าง ทำให้มากหรือเก่งกว่าเพื่อน เด็กหลายคนไม่รู้จักเรื่องของบุญคุณ
- เด็กเหล่านี้ขาดทักษะทางสังคม มีปัญหาในการสื่อสารกับคนอื่นๆ
สำหรับเด็กๆ ของ คุณพ่อ คุณแม่ทั้งหลาย ที่ไม่ได้ใช้บริการระบบติวเตอร์เหล่านี้ ผมก็ขอแสดงความยินดีด้วยนะครับ ที่บุตรหลานของท่านมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในตลาดแรงงานยุคใหม่ในอีก 10 ปีข้างหน้าครับ เพราะยุคหน้า เด็กๆ ที่เรียนรู้แบบทะลุทะลวงโลกเท่านั้นครับ จึงจะประสบความสำเร็จ !!!
ป้ายกำกับ:
Education,
new paradigm
13 มิถุนายน 2556
HRI 2014 - The 9th International Conference on Human-Robot Interaction
(Picture from http://www.wired.com/)
เมื่อประมาณ 200 ปีที่แล้ว 70% ของคนอเมริกันทำงานอยู่ในฟาร์ม แต่หลังจากการประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ ซึ่งนำมาสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมในอีกไม่กี่สิบปีต่อมา ระบบอัตโนมัติได้เข้ามาเปลี่ยนภูมิทัศน์ของอาชีพมนุษย์ และทำให้อาชีพชาวไร่ ชาวนา ของชาวอเมริกันหดหายไปเรื่อยๆ จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ประเทศสหรัฐอเมริกามีเกษตรกรเพียง 1% เท่านั้น แล้วคน 69% เหล่านั้นเปลี่ยนไปทำมาหากินอะไรหล่ะครับ ... ก็มาเป็นคนขับรถแท็กซี่ นักบิน โบรคเกอร์ในตลาดหลักทรัพย์ ช่างภาพ นักเคมี นักออกแบบเว็บไซต์ วิศวกรหุ่นยนต์ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งล้วนเป็นอาชีพที่ไม่เคยมีมาก่อน ชาวไร่ ชาวนา เหล่านั้น คงคาดไม่ถึงว่างานที่หายไปเพียงอาชีพเดียว จะถูกแทนที่ด้วยอาชีพที่มากมายจนยากที่จะจินตนาการ
ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า เมื่อสิ้นศตวรรษที่ 21 มากกว่า 70% ของอาชีพและงานที่เรารู้จักในปัจจุบัน จะถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์ และสิ่งที่เคยเกิดขึ้นกับอาชีพที่หายไปในสมัยที่เกษตรกรครองโลก ก็จะเกิดขึ้นอีกครั้ง กล่าวคือ อาชีพที่หายไปก็จะถูกแทนที่ด้วยอาชีพใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งมันก็ยากที่จะจินตนาการตอนนี้ว่าอาชีพนั้นจะมีอะไรบ้าง ขนาดผมซึ่งเป็นคนที่ค่อนข้างจะจินตนาการสูง ก็คิดไม่ออกเหมือนกันครับว่าอีก 80 ปีข้างหน้า มันจะมีอาชีพอะไรบ้าง แต่ที่แน่ๆ อาชีพที่จะถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์นี่มีมากมายเลยครับ ได้แก่ นักบิน (ถูกแทนที่ด้วย auto-pilot และพวก drone ทั้งหลาย) ทหาร (ถูกแทนที่ด้วยกองทัพหุ่นยนต์) ศัลยแพทย์ (ถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์ผ่าตัด) พยาบาล (ถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์พยาบาล) โบรคเกอร์ในตลาดหลักทรัพย์ (ถูกแทนที่ด้วยโปรแกรมบอท) คนขับรถบรรทุก (ถูกแทนที่ด้วยรถบรรทุกขับเอง) เภสัชกรร้านขายยา (ถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์จ่ายยา) ชาวสวน (ถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์เกษตรกร) แม่บ้านทำความสะอาด (ถูกแทนที่ด้วยฝูงหุ่นยนต์ดูดฝุ่น หุ่นทำความสะอาด) พนักงานจัดการของในโกดัง (ถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์เก็บ/หา/โหลด ของ) เมื่อเร็วๆ นี้มีการพูดถึงการจะนำหุ่นยนต์แบบบินได้ หรือ drone มาใช้สำหรับส่งหนังสือพิมพ์ แทนพนักงานส่งหนังสือพิมพ์
โลกอนาคตเป็นโลกที่มนุษย์จะต้องใช้ชีวิตร่วมกับหุ่นยนต์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราจะใกล้ชิดกับหุ่นยนต์มากขึ้นไปเรื่อยๆ แม้แต่อาจจะอยู่กับมันฉันท์ชู้สาวก็อาจเป็นไปได้ นักเทคโนโลยีหุ่นยนต์จึงต้องพยายามพัฒนาให้หุ่นยนต์มีความรู้สึก สัมผัส สามารถเข้าใจมนุษย์ จึงทำให้เกิดสาขาวิชาการที่เรียกว่า Human Robot Interactions เรียกย่อๆ ว่า HRI ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องของปฏิสัมพันธ์ระหว่างหุ่นยนต์ กับ มนุษย์ ซึ่งรวมถึงการสื่อสารระหว่างกัน การใช้ชีวิตร่วมกัน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน เพื่อให้สังคมมนุษย์สามารถใช้ชีวิตร่วมกับสังคมของหุ่นยนต์ได้อย่างปกติสุข
ในประชาคมวิจัยทางด้าน HRI เขามีการจัดการประชุม รวมตัวกัน เพื่ออัพเดตความก้าวหน้าและแลกเปลี่ยนความรู้กันทุกปีครับ ในปีหน้างานนี้จะไปจัดที่เมือง Bielefeld ประเทศเยอรมัน งาน HRI 2014 หรือชื่อเต็มว่า The 9th International Conference on Human-Robot Interaction จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-6 มีนาคม 2557 ครับ กำหนดส่งบทความฉบับเต็มคือวันที่ 9 กันยายน 2556
หัวข้อที่การประชุมนี้สนใจ ได้แก่
Socially intelligent robots
Robot companions
Lifelike robots
Assistive (health & personal care) robotics
Remote robots
Mixed initiative interaction
Multi-modal interaction
Long term interaction with robots
Awareness and monitoring of humans
Task allocation and coordination
Autonomy and trust
Robot-team learning
User studies of HRI
Experiments on HRI collaboration
Ethnography and field studies
HRI software architectures
HRI foundations
Metrics for teamwork
HRI group dynamics
Individual vs. group HRI
Robot intermediaries
Risks such as privacy or safety
Ethical issues of HRI
Organizational/society impact
ป้ายกำกับ:
artificial intelligence,
biorobotics,
cognitive science,
conference,
Germany,
robotics
12 มิถุนายน 2556
Digital Food - อาหารดิจิตอล (ตอนที่ 2)
เมื่อเร็วๆ นี้ผมได้มีโอกาสเข้าไปในงานเลี้ยงงานหนึ่ง ซึ่งมีไวน์ต่างๆ ให้ชิมฟรีตลอดงาน ทำให้ผมได้เรียนรู้ว่า ในสังคมของคนดื่มไวน์นี้ มันมีอาชีพหนึ่งที่เรียกว่า ซอมเมอลิเยร์ (Sommelier) ซึ่งหน้าที่ของคนทำอาชีพนี้คือ เป็นผู้ดูแลและให้คำแนะนำลูกค้าที่เข้ามารับประทานอาหารในร้าน (ซึ่งแน่ละ ต้องเป็นร้านหรูๆ ระดับภัตตาคาร หรือ โรงแรมหรู) โดยพิจารณารสนิยมการดื่มไวน์ของลูกค้า ว่าลูกค้าชอบดื่มไวน์แนวไหน สไตล์การดื่มเป็นอย่างไร ชอบไวน์บอดี้หนักหรือเบา มีองุ่นพันธุ์อะไรชอบเป็นพิเศษมั้ย จากนั้นก็นำเสนอไวน์ที่มีในร้านให้ลูกค้าเลือก ซึ่งจริงๆ แล้ว ซอมเมอลิเยร์ที่เก่ง นอกจากจะรู้เรื่องไวน์ขั้นเซียนแล้ว ยังจะต้องมีจิตวิทยาในการนำเสนอด้วยนะครับ เช่น ซอมเมอลิเยร์ไม่จำเป็นต้องนำเสนอไวน์ตัวที่แพงที่สุด ดีที่สุดในร้าน แต่ต้องนำเสนอไวน์ที่เหมาะสมที่สุด สำหรับความต้องการของลูกค้า ต้องดูว่าลูกค้าเป็นมือใหม่หรือป่าว จะได้แนะนำไวน์ที่ในระดับ Introduction เพื่อให้ลูกค้าเรียนรู้กลิ่นและรสชาติ ถือเป็นการ learning ของลูกค้าไปในตัว ทั้งนี้ หากลูกค้าสนใจอยากรู้อะไร สามารถสอบถามซอมเมอลิเยร์ได้ทุกเรื่อง และซอมเมอลิเยร์จะยินดีให้บริการตอบคำถามที่เขารู้ นี่คือความเป็นมืออาชีพของซอมเมอลิเยร์ เลยครับ นอกจากนี้แล้ว ซอมเมอลิเยร์ ยังรับหน้าที่ดูแล บริหารจัดการไวน์ในร้าน ทั้งการสั่งไวน์มา การเก็บรักษา เพื่อรักษามาตรฐานของร้านอีกด้วย
อีกเรื่องที่ผมเกือบลืมกล่าวถึง (ถ้าลืมหล่ะ แย่เลย) ก็คือ นอกจากซอมเมอลิเยร์จะนำเสนอไวน์ในร้านให้ตอบสนองต่อรสนิยม และความต้องการของลูกค้าแล้ว ซอมเมอลิเยร์ยังจะต้องเลือกไวน์ให้เข้ากับอาหารที่ลูกค้าจะสั่งมารับประทานอีกด้วย ซอมเมอลิเยร์ต้องพิจารณาว่าไวน์ขวดไหนจึงจะเหมาะกับอาหารที่สั่งมา ดื่มแล้วมันจะเข้ากันมั้ย อะไรแบบนี้ครับ อันนี้สิครับ เป็นศาสตร์ที่ผมต้องตั้งข้อสงสัยขึ้นมาแล้วหล่ะสิว่า ซอมเมอลิเยร์ใช้ทักษะอะไร มาตรฐานอะไร มากำหนดว่าอะไรที่เรียกว่าเข้ากัน หรือไปด้วยกันได้ อะไรที่เข้ากันไม่ได้ ดื่มและทานร่วมกันไม่ได้ .... หลักการอะไรล่ะ ที่บอกว่ามันเข้ากันได้ กลมกล่อม หรือ ไม่ได้เรื่อง .... หรือว่าสิ่งนี้มันเป็นแค่ความรู้สึกของซอมเมอลิเยร์เท่านั้น
จริงๆ แล้ว เรื่องของตำรับอาหารที่เป็นที่ชื่นชอบในเรื่องรสชาติ ความเอร็ดอร่อย ความกลมกล่อมและติดลิ้นนั้น จะว่าไปก็อาจจะเป็นเรื่องของภูมิปัญญาชาวบ้านก็ว่าได้ เพราะแต่ก่อนนั้น การที่จะรู้ว่าส่วนประกอบอะไร ควรจะใช้กับอาหารอะไร การจับคู่เอาวัสดุทางอาหาร นู่น นี่ นั่น มาผสมกัน โดยผ่านกระบวนการทางอาหารที่แตกต่างกัน จะตำ คลุก ทอด ปิ้ง ย่าง จนกระทั่งได้ตำรับอาหารที่เป็นที่ถูกอกถูกใจนั้น ล้วนผ่านวิวัฒนาการ การลองผิด ลองถูก มาหลายชั่วคน จนกระทั่งคนรุ่นหลังที่จดจำมา ก็ไม่รู้หรอกว่า ทำไมส่วนประกอบนี้ถึงต้องคู่กับอันนั้น ถึงจะอร่อย
ถ้าเรามองอาหารทั้งจาน เป็นเหมือนที่รวมของวัสดุต่างๆ ซึ่งจริงๆ แล้วก็คือโมเลกุลชนิดต่างๆ นั่นเอง การที่โมเลกุลต่างๆ เหล่านั้นมาอยู่รวมกัน แล้วทำให้ประสาทสัมผัสทางลิ้น และ จมูกที่ได้กลิ่นของเราเกิดชื่นชอบขึ้นมา ล้วนมีเหตุผล มีหลักการในตัวของมันเอง เช่น ต้มยำกุ้ง มีโมเลกุลอาหารและโมเลกุลกลิ่นชนิดต่างๆ ที่สร้างรสชาติและความอร่อยขึ้นมา ซึ่งสัดส่วนที่เหมาะสมของโมเลกุลเหล่านั้นที่มีอยู่ในตัวต้มยำกุ้ง ย่อมทำให้ต้มยำกุ้งเกิดความอร่อยขึ้นมา ทีนี้ หากเราใส่โมเลกุลที่แปลกๆ ลงไป หรือเปลี่ยนสัดส่วนของโมเลกุลที่เหมาะสม ก็อาจทำให้รสชาติของต้มยำกุ้งเปลี่ยนไปจนกระทั่ง "แหลกม่ายล่าย" เลยก็เป็นได้นะครับ
ถ้าสมมติฐานที่ผมกล่าวมามันมีหลักการที่เป็นไปได้ ทำไมเราจะไม่สามารถสร้างอาหารขึ้นมาจากการเอาโมเลกุลต่างๆ มาผสมกันล่ะครับ ดีไม่ดี เราอาจจะได้ตำรับอาหารแปลกๆ ใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน แถมอร่อยด้วย เผลอๆ ทำออกมาขายดีเป็นเทน้ำ เทท่า รวยไม่รู้เรื่องเลยนะครับ การที่เราสามารถสร้างอาหารด้วยการนำเอาโมเลกุลต่างๆ มาผสมกัน มีข้อดีมากมายคือ
(1) เราสามารถสร้างอาหารอะไรออกมาก็ได้ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่สามารถทำงานแบบอัตโนมัติ เช่น การพิมพ์อาหารออกมาด้วย 3D Printing
(2) เราสามารถทดลองผสมนั่น ผสมนี้ เพื่อให้ได้สูตรอาหารที่อร่อย กลมกล่อม เป็นที่ชื่นชอบ โดยอาจทำบนคอมพิวเตอร์ด้วย Computer Simulation หรือ อาจจะใช้ระบบหุ่นยนต์ทำการทดลองผสมโมเลกุลอาหารในสูตรต่างๆ (Combinatorial Chemistry) เพื่อหาตำรับอาหารที่อร่อย
(3) อาหารจะเป็นสิ่งที่เป็นมาตรฐานมากขึ้น สามารถส่งสูตรอาหารผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อไปทำการผลิตที่ใดก็ได้ ต้มยำกุ้งก็จะมีรสชาติเดียวกันทั่วโลก (แน่นอน สามารถเปลี่ยนแปลงตามรสนิยมของแต่ละชาติได้ โดยให้คอมพิวเตอร์ออกแบบ)
สำหรับวันนี้ แค่นี้ก่อนนะครับ วันหลังผมค่อยมาคุยต่อเรื่องนี้ครับ
ป้ายกำกับ:
food,
nano-agriculture,
new paradigm,
synthetic biology
26 พฤษภาคม 2556
ฤาจะสูญสิ้น กลิ่นกาแฟไทย (ตอนที่ 3) - The End of Thai Coffee
(Picture from http://depositphotos.com/)
เมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2556 ที่ผ่านมา ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้จากพื้นที่ 5 จังหวัด คือ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษ มหาสารคาม และยโสธร เพิ่งได้รับการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) อย่างเป็นทางการจากสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดี เพราะจะทำให้ไทยสามารถส่งออกข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ไปยังกลุ่มตลาดบนของสหภาพยุโรปได้เพิ่มขึ้น
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI เป็นการให้ความคุ้มครองชื่อหรือเครื่องหมายต่างๆ ที่เป็นชื่อเมือง หรือท้องถิ่น ที่ใช้บนฉลากของสินค้าต่างๆ โดยจะต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันทางภูมิศาสตร์ ทั้งนี้ GI มีความแตกต่างจากทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่น กล่าวคือ ผู้เป็นเจ้าของไม่ใช่บุคคลหนึ่งบุคคลใด แต่เป็นกลุ่มชุมชน หรือ ผู้ประกอบการใดๆ ก็ตาม ที่มีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์นั้นๆ จึงจะสามารถใช้ชื่อ GI สำหรับผลิตสินค้านั้นได้ เช่น ไข่เค็มไชยา เฉพาะชาวไชยาเท่านั้นที่ทำขายได้ คนแถวราชบุรีมาทำขายแล้วใช่ชื่อไข่เค็มไชยา ถือว่าว่าละเมิดสิทธิ์ สิทธิในลักษณะดังกล่าวนี้ นักวิชาการบางท่านเรียกว่า “สิทธิชุมชน” ซึ่งไม่สามารถนำสิทธิที่ได้รับไปอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้ต่อได้ ผู้ที่อยู่ในพื้นที่แหล่งภูมิศาสตร์นั้นๆ เท่านั้นที่มีสิทธิใช้
จากข้อมูลของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ทำให้ทราบว่าในปัจจุบันประเทศไทยมีการประกาศขึ้นทะเบียนสินค้า GI ในประเทศไทยแล้วจำนวน 38 รายการ ซึ่งเป็นทั้งสินค้าที่มาจากภาคเกษตรกรรมโดยตรง และสินค้าที่มาจากภาคหัตถกรรมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เช่น ส้มโอนครชัยศรี ผ้าไหมแพรวากาฬสินธุ์ สับปะรดภูแลเชียงราย กาแฟดอยตุง ศิลาดลเชียงใหม่ ผ้าไหมยกดอกลำพูน เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง ร่มบ่อสร้าง สับปะรดนางแล ไวน์ที่ราบสูงภูเรือ ไข่เค็มไชยา ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ หมูย่างเมืองตรัง มะขามหวานเพชรบูรณ์ ชมพู่เพชร เป็นต้น
จากความสำเร็จที่ประเทศไทยสามารถขึ้นทะเบียน GI ของข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ใน EU ได้ ทำให้กรมทรัพย์สินทางปัญญามีดำริที่จะยื่นจดสินค้าอีก 2 ชนิดเพิ่มเติม ได้แก่ กาแฟดอยตุง และ กาแฟดอยช้าง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่น่าสนับสนุน เพราะกาแฟไทย โดยเฉพาะกาแฟ 2 ยี่ห้อนี้ ขึ้นชื่อในเรื่องของความหอมและรสชาติที่อร่อย เปรียบเทียบกับกาแฟที่มาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว และ เวียดนาม แล้ว เหมือนฟ้ากับเหว การจด GI ในยุโรป จะช่วยทำให้กาแฟไทยได้รับความยอมรับในเรื่องคุณภาพ และจะสามารถขายใน EU ที่ราคาแพงๆ ได้ เป็นการยกระดับกาแฟไทยให้ขึ้นไปอยู่แนวหน้าของโลก หนีประเทศคู่แข่งอย่างเวียดนามที่ผลิตกาแฟคุณภาพต่ำในปริมาณมากๆ แน่นอนหล่ะ ... ในอนาคตคนไทยก็คงจะต้องจ่ายแพงขึ้นเพื่อบริโภคกาแฟคุณภาพดีของไทย แต่ผมคิดว่ากาแฟรสชาติดีๆ แล้วจ่ายแพงอีกสักนิด ก็น่าจะดีกว่ากาแฟรสชาติทั่วๆ ไปแต่ขายราคาสตาร์บัค ที่มีอยู่ดาษดื่นตามร้านกาแฟทั้งหลาย
สำหรับกาแฟแล้ว การมี GI หรือ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ถือว่าเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลเป็นอย่างยิ่ง ตัวอย่างเช่น กาแฟดอยตุง ปลูกในสภาพแวดล้อมที่เป็นดอย สูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 800 เมตร อยู่ในละติจูดที่เหมาะสม มีอากาศเย็นและปริมาณน้ำฝนที่เหมาะสม ทำให้เมล็ดกาแฟมีการสะสมสารหอมระเหย (Aroma Molecules) เข้าไปในเมล็ดในจำนวน และสัดส่วนของสารหอมระเหยแต่ละชนิด ที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง นั่นคือ แม้จะเป็นกาแฟพันธุ์เดียวกัน คัดเอาเมล็ดพันธุ์เหมือนๆ กัน แต่ไปปลูกที่อื่น เช่น บนดอยในประเทศเวียดนาม ก็ไม่สามารถที่จะผลิตกา แฟที่มีกลิ่นและรสชาติเหมือนกันได้ .... นั่นคือ กาแฟดอยตุง ต้องปลูกที่ดอยตุงเท่านั้น ที่อื่นเอาไปปลูกยังไง ก็ไม่มีทางทำให้รสชาติเหมือนกาแฟดอยตุง เช่นเดียวกับกาแฟดอยช้าง ที่เมื่อได้ดื่มแล้ว สำหรับคนที่มีความสามารถในการจดจำรสชาติ ก็จะสามารถจำแนกได้ว่าเป็นกาแฟมาจากดอยช้าง ทั้งนี้เป็นเพราะสภาพแวดล้อมของพื้นที่ปลูก ทำให้รสชาติของกาแฟมีความแตกต่างกันนั่นเอง เช่นเดียวกับ เครื่องดื่มประเภทไวน์ ที่มีรสชาติแตกต่างกันตามพื้นที่เพาะปลูก
ดูเหมือนการสร้างอัตลักษณ์ให้แก่กาแฟไทยด้วยการจดทะเบียน GI จะค่อนข้างมาถูกทางแล้ว เพราะถือเป็นการยกระดับมาตรฐานของแบรนด์ไทย หนีคู่แข่งจากประเทศเวียดนาม แต่การมี GI เพียงอย่างเดียวนั้น ไม่สามารถจะการันตีความได้เปรียบในระยะยาวได้ เพราะคู่แข่งก็สามารถจด GI ในภูมิศาสตร์ของเขาได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นกาแฟไทยจะต้องพยายามพัฒนา และรักษาคุณภาพของกลิ่นและรสชาติให้ดีกว่าคู่แข่ง พยายามนำความได้เปรียบในเรื่องของภูมิศาสตร์ที่ทำให้กาแฟของเรามีเอกลักษณ์เหนือคู่แข่งมาใช้ประโยชน์ พยายามรักษาเอกลักษณ์นั้นไว้ ซึ่งเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นแล้วในบ้านเราอย่างระบบ Smart Farm หรือ จมูกอิเล็กทรอนิกส์ จะสามารถเข้ามาช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันตรงนี้ได้
ป้ายกำกับ:
business,
climate change,
crisis,
Economy,
electronic nose,
food,
plant,
smart farm
25 พฤษภาคม 2556
Digital Food - อาหารดิจิตอล (ตอนที่ 1)
(Picture from http://www.dreamstime.com/)
หลายๆ ครั้งที่ผมสังเกตพฤติกรรมการทานอาหารของลูก โดยเฉพาะของกินเล่น หรือ ของหวาน เวลาคุณยายซื้อของหวานมาจากตลาด เช่น ขนมเทียน ข้าวเหนียวถั่วดำ ลอดช่อง ปลากริมไข่เต่า แล้วนำมาเสนอให้เด็กๆ ทาน .... ลูกๆ ของผมจะบอก "กินไม่เป็น" แล้วก็วิ่งไปหยิบเถ้าแก่น้อย หรือ เลย์ คนละถุงแล้วหนีไปเลย ไม่น่าเชื่อว่าขนมไทยเหล่านี้อีกไม่นานก็จะสูญพันธุ์ เพราะเด็กๆ ที่เกิดมาในยุค The New Millenium หรือปี ค.ศ. 2000 ที่เราเรียกว่า Gen M หรือ Gen Z นี้ พวกเขาไม่รู้จักของกินยุคที่ผมเป็นเด็กอีกแล้ว เมื่อไหร่ก็ตามที่คนรุ่นผมตายกันหมด ก็คงไม่มีใครมาทำ ข้าวเหนียวถั่วดำขายแล้วหล่ะครับ คงจะเหลือแต่ขนมถุงอุตสาหกรรมแบบที่ขายในเซเว่น
แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องที่ผมรู้สึกกังวล เพราะพฤติกรรมการกินอาหารของมนุษย์มันก็เปลี่ยนไปตามบริบทโลก และวิถีชีวิตในยุคต่างๆ ไม่เช่นนั้น เราก็คงต้องไปอนุรักษ์การกินเนื้อสัตว์ดิบๆ ของมนุษย์ยุคก่อนค้นพบไฟกันเป็นแน่ และสิ่งที่ผมจะเขียนในบทความซีรีย์นี้ ท่านผู้อ่านจะได้พบกับแนวคิดอันยิ่งสุดโต่งเข้าไปอีก แบบว่าพลิกโลกเลย เพราะอาหารในอนาคต ที่มนุษย์ยุคลูกๆ ของผมจะรับประทาน มันจะเปลี่ยนไปจากอาหารยุคของเราอย่างสิ้นเชิง เราจะกินอาหารที่มีลักษณะเดิมจากวัตถุดิบตั้งต้น เช่น เมล็ดข้าว ขาไก่ ปีกไก่ น้อยลง เราจะกินอาหารแบบที่เรียกว่า processed food เช่น แป้งจากข้าว นักเก็ตจากไก่ กันมากขึ้นเรื่อยๆ โดยอาหารเหล่านั้นจะผลิตขึ้นมาจากกระบวนการใหม่ๆ เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น
- Vertical Farming หรือ การทำไร่ทำนาบนตึกสูง การผลิตอาหารจะเปลี่ยนจากการปลูกพืชผักกลางแจ้ง (Outdoor Agriculture) มาสู่ระบบ (Indoor Agriculture) กันมากขึ้น และจะเริ่มเปลี่ยนจากเกษตรในชนบท มาสู่เกษตรในเมือง (Urban Farming) เพราะอะไรหรือครับ เพราะว่าแนวโน้มในอนาคตนั้น ผู้คนจะย้ายเข้าสู่เมืองมากขึ้น (Urbanization) โดยสหประชาชาติประมาณว่าในปี ค.ศ. 2030 จะมีประชากรอาศัยในเมืองใหญ่ 5,000 ล้านคน จากประชากรทั้งหมด 8 พันล้านคน ดังนั้น หากกิจกรรมการผลิตอาหารย้ายมาอยู่ในเมือง จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน และเป็นการคืนพื้นที่เกษตรกรรมให้กลับสู่ธรรมชาติ การเกิด Vertical Farming ทำให้การผลิตทำในระบบปิด ในอาคารที่ควบคุมสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งแน่หล่ะครับ ระบบดิจิตอลต่างๆ จะเข้ามาช่วยทำให้สิ่งที่เป็นไปได้
- In Vitro Meat หรือ การผลิตเนื้อแบบหลอดแก้ว เป็นการผลิตเนื้อสัตว์ขึ้นมาโดยไม่ต้องเลี้ยงสัตว์ ไม่ต้องฆ่าสัตว์ อยากจะกินอะไร ก็ผลิตสิ่งนั้นขึ้นมา เช่น เนื้ออกไก่ หรือ ปีกไก่ ผลิตขึ้นมาโดยเลี้ยงเนื้อเยื่อนั้นขึ้นมา เป็นการเปลี่ยนจากเลี้ยงสัตว์ -> ปลูกสัตว์ แทน เหมือนปลูกต้นไม้ยังไงยังงั้นล่ะครับ และแน่นอน สิ่งนี้จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับ Vertical Farming คือระบบผลิตสามารถทำในอาคารสูง ในเมือง ไม่มีการปล่อยกลิ่นเหม็นสู่สิ่งแวดล้อมเหมือนฟาร์มหมู ฟาร์มไก่ ในปัจจุบัน และแน่นอนครับ การทำ In Vitro Meat จะต้องมีระบบดิจิตอลเข้ามาช่วยดูแล ถึงจะเป็นไปได้
- Synthetic Biology หรือ ชีววิทยาสังเคราะห์ เป็นการผลิตอาหารโดยการไปดัดแปลงให้สิ่งมีชีวิตบางชนิด เช่น จุลินทรีย์ ทำงานเป็นโรงงานในการผลิตสิ่งที่เราต้องการ ไม่ว่าจะเป็น อาหาร ยา วิตะมิน อาหารเสริม ต่างๆ ทั้งโดยการดัดแปลงพันธุกรรม การไปเปลี่ยนเมตาบอลิซึม หรือ การสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นมาใหม่ (Novel Organism) ซึ่งแน่นอน ระบบดิจิตอลจะเข้ามาช่วยในการตรวจวัด ควบคุม การผลิตแบบใหม่นี้
- Desktop Manufacturing และ 3D Printing เป็นการผลิตอาหารขึ้นมาด้วยกระบวนการพิมพ์แบบ 3 D เช่น เราสามารถดาวน์โหลดสูตรการทำคัพเค้กมาจากอินเตอร์เน็ต แล้วส่งสูตรนี้ผ่าน WiFi ไปยังเครื่องพิมพ์ 3D ในครัวของเรา จากนั้นเครื่องพิมพ์จะทำการพิมพ์ขนมเค้กออกมา ซึ่งก็จะมีรสชาติ ความอร่อย ไม่ต่างจากเค้กที่เราไปซื้อกินตามร้านเบเกอรี่ แต่เราสามารถพิมพ์ทานเองที่บ้าน
นี่เป็นแค่ตัวอย่างที่ผมยกขึ้นมาให้เห็นภาพนะครับ ต่อไปเทคโนโลยี Digital Food จะค่อยๆ เกิดขึ้นอีกมากมาย เตรียมตัวรับกับของอร่อยๆ ใหม่ๆ อาหารของคนยุคอนาคตกันครับ
ป้ายกำกับ:
food,
nano-agriculture,
new paradigm,
synthetic biology
24 พฤษภาคม 2556
Micro Air Vehicle (ตอนที่ 4)
(Picture from http://www.kilowattrc.com/)
ตั้งแต่ต้นปี 2556 เป็นต้นมา หน่วยวิจัยของผมได้เริ่มทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอากาศยานขนาดจิ๋ว (MAV หรือ Micro Air Vehicle) โดยหวังจะนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้งานทางด้านการเกษตร การตรวจวัดสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงงานตรวจเฝ้าระวังภัยคุกคาม จะว่าไป ... ระดับของเทคโนโลยี MAV ในโลกก็พัฒนาไปค่อนข้างมากแล้ว ถ้าเรามัวแต่ไปพัฒนาเทคโนโลยีของเราเองก็ไม่มีทางทันฝรั่งแน่ หน่วยวิจัยของผมจึงเน้นการต่อยอดเทคโนโลยีของฝรั่ง โดยนำเทคโนโลยีของฝรั่งมาเพิ่มเติมเทคโนโลยีของเราเข้าไป เช่น การพัฒนาเซ็นเซอร์ตรวจวัด การใส่ไบโอเซ็นเซอร์ จมูกอิเล็กทรอนิกส์ เข้าไป การพัฒนาระบบควบคุม ระบบซอฟต์แวร์ และระบบอัจฉริยะ เข้าไป ซึ่งก็จะทำให้เราตามหลังฝรั่งในบางเรื่อง แต่ก็เท่าทันหรือก้าวล้ำฝรั่งในบางเรื่องได้ เพราะในเรื่องของ MAV นี้ ต่อไปอีกไม่นาน มันจะเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญของโลก เรียกว่า ประเทศไหนไม่มีใช้ ประเทศนั้นจะกลายเป็นประเทศล้าหลังไปเลยหล่ะครับ
MAV เป็นเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก มันจะทำให้ภูมิทัศน์ของอำนาจ เศรษฐกิจและสังคม เปลี่ยนไปได้พอๆ กับการค้นพบดินปืน และ เครื่องจักรไอน้ำเลยหล่ะครับ ทุกวันนี้ รอบๆ ตัวเราก็มีอากาศยานขนาดจิ๋วบินไป บินมา ไปทั่วอยู่แล้ว ทั้งนก แมลงต่างๆ ผึ้ง แมลงปอ ผีเสื้อ ยุง จะว่าไปแล้ว สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ก็ไม่ต่างจากหุ่นยนต์บินได้ (Flying Robots) หากแต่อากาศยานจิ๋วเหล่านี้ เราไม่สามารถควบคุมและนำมันมาใช้งานได้ ลองคิดดูสิครับ ว่าหากเราสามารถควบคุมอากาศยานจิ๋วเหล่านี้ให้ทำงานตามที่เราต้องการ หรือ เราสามารถสร้างอากาศยานจิ๋วเหล่านี้ขึ้นมาใช้งานเองได้ วิถีชีวิตของมนุษย์เราจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างแน่นอน ลองคิดดูว่าความเป็นส่วนตัวของเราจะหายไปหรือไม่ หากเราไม่สามารถแยกแมลงในธรรมชาติ ออกจากแมลงกล หรือ อากาศยานขนาดจิ๋วที่กำลังบินไปบินมา
ปัจจุบัน การพัฒนา Flying Robots ขนาดจิ๋วนั้น แบ่งออกเป็น 2 แนวทางครับคือ
(1) Bionic Insects คือการนำเอาแมลงในธรรมชาติมาดัดแปลง ด้วยการปลูกถ่ายวงจรอิเล็กทรอนิกส์ลงไปในตัวแมลง แล้วทำให้เราสามารถควบคุมแมลงนั้นให้ทำงานตามคำสั่ง ซึ่งสามารถทำสำเร็จกับแมลงหลายชนิดแล้ว เช่น ด้วง ผีเสื้อ แมลงสาบ เป็นต้น ข้อดีของแนวทางนี้คือ แมลงในธรรมชาติทำตัวเป็นหุ่นยนต์ตามคำสั่งของเราได้ โดยการดัดแปลงระบบประสาท ทำให้เราไม่ต้องไปพัฒนาระบบพลังงานของแมลง รวมทั้งระบบการบินที่มีความซับซ้อน เรียกว่าเป็นการหลอกแมลงในธรรมชาติมาใช้งาน แต่ปัญหาก็คือ แมลงเป็นสัตว์ที่มีอายุสั้น ทำให้อายุการใช้งานแมลงเหล่านี้มีความจำกัด นอกจากนั้น แมลงยังมีความอดทนต่ออุณหภูมิค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะในอากาศเย็น มันจะมีความตื่นตัวน้อยลง ซึ่งทำให้การใช้งานในสภาพแวดล้อมแบบโหดร้ายทำได้ยาก ต่างจากหุ่นยนต์แมลงที่เป็นจักรกล 100 เปอร์เซ็นต์
(2) Micro/Nano Drones เป็นการสร้างหุ่นยนต์บินได้ (Flying Robots) หรือ อากาศยานจิ๋วขึ้นมา โดยอาจจะเลียนแบบธรรมชาติ (Biomimetics) เช่น รูปแบบการบิน หรือ ลักษณะปีกของแมลง แนวทางนี้มีข้อได้เปรียบในเรื่องของอายุการใช้งานที่เหนือแมลงในธรรมชาติ แต่ระดับของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ถูกจำกัดด้วยความจุของแบตเตอรีที่ค่อนข้างน้อย ทำให้การปฏิบัติงานในแต่ละครั้งมีระยะเวลาไม่กี่นาที แต่เชื่อว่าในอนาคต ด้วยเทคโนโลยีของนาโนแบตเตอรีที่มีความก้าวหน้ามากขึ้น อากาศยานจิ๋วเหล่านี้จะมีเวลาในการบินนานขึ้นจนใช้งานได้จริง
จากการที่รัฐบาลของประธานาธิบดีโอบามา ได้ลงนามในกฎหมายที่จะมีการอนุญาตให้อากาศยานไร้นักบิน (Unmanned Aerial Vehicle หรือ UAV) หรือ drone สามารถใช้งานในสหรัฐอเมริกาได้นั้น ทำให้ตลาดของ drone ทั้งแบบที่เป็น UAV และ MAV จะเกิดการเติบโตขึ้นอย่างมหาศาล ปัจจุบันมีการออกใบอนุญาตให้หน่วยงานรัฐ 56 แห่ง หน่วยงานด้านยุติธรรม 22 แห่ง มหาวิทยาลัยอีก 24 แห่ง สามารถใช้งาน drone ได้บนน่านฟ้าสหรัฐฯ นี่ยังไม่นับรวมบริษัทเอกชน และ การใช้งานส่วนบุคคลที่จะเกิดขึ้นอีกมากมายมหาศาล รวมไปถึง nano drone ซึ่งจะมีขนาดที่เล็กกว่า MAV เข้าไปอีก ซึ่งไม่จำเป็นต้องขออนุญาต ทำให้เทคโนโลยีนี้มีมูลค่าตลาดอีกมากมายเหลือเกินครับ ... แน่นอนนี่ยังไม่นับรวมหุ่นยนต์แบบฝูง (Swarm Robots) อื่นๆ ที่ทำงานบนบก และ ในน้ำ ซึ่งจะทำให้สิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเรา มีสภาพแวดล้อมแบบอัจฉริยะ (Ambient Intelligence) เต็มไปหมด
ป้ายกำกับ:
intelligent battlefield,
MEMS,
military,
sensor networks,
swarm intelligence
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)