ตอนนี้ทั่วโลกกำลังต่อต้านการนำเอาอาหารมาทำเป็นพลังงาน ทั้ง Ethanol จากข้าวโพดและอ้อย ทั้งปาล์มน้ำมัน หรือ แม้กระทั่งพืชที่เป็นอาหารไม่ได้ แต่การปลูกมันมากๆ ก็จะไปรังแกพื้นที่ปลูกอาหาร ผู้คนจึงมาถึงทางตันแล้วว่า ไม่มีทางเลือกอื่นอีกหรือ มีพืชพลังงานอะไรที่ไม่รังแกเกษตรกรรม คำตอบก็คือ มีครับ "สาหร่าย" นี่แหละ เพียงแต่การนำสาหร่ายมาผลิตพลังงานต้องทำแบบฉลาดนะครับ เพื่อไม่ให้มันไปกระทบเกษตรอาหาร ตอนนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกาเริ่มมีความก้าวหน้าด้านนี้ ถึงกับมีบริษัทจัดตั้งใหม่ที่เรียกว่า Start-Up เกิดกันมากมาย เจ้าเซลล์สุริยะสาหร่ายจะเปลี่ยนพลังงานแสงอาฑิตย์ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ให้เป็นน้ำมันไบโอดีเซล หรือ เอธานอล ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของสาหร่าย โดยนักพันธุวิศวกรรมสามารถปรับเปลี่ยน ตกแต่งยีนของสาหร่ายเหล่านี้ จนกระทั่งได้พันธุ์ที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากสาหร่ายมีอัตราการเติบโตที่เร็วมากๆ ประมาณ 30 เท่าของพืชทั่วไป มันจึงสามารถผลิตพลังงานได้เร็วกว่าพืชพลังงานทุกอย่างเลยครับ เนื่องจากสาหร่ายเหล่านี้กินคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้นหากสร้างฟาร์มสาหร่ายใกล้ๆ กับโรงไฟฟ้าถ่านหิน เราก็สามารถนำคาร์บอนไดออกไซด์ที่ผลิตจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน มาใช้เลี้ยงสาหร่าย เพื่อจะผลิตน้ำมันไบโอดีเซลต่ออีกทอดหนึ่งครับ ไอเดียดังกล่าวเริ่มเป็นที่สนใจในสหรัฐฯ โดยบริษัท Sunflower ซึ่งเป็นธุรกิจโรงไฟฟ้าถ่านหิน ได้ตกลงจะสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 40 เมกะวัตต์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและป้อนคาร์บอนไดออกไซด์ให้ ฟาร์มสาหร่าย ซึ่งทุกๆ 1.8 ตันของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จะผลิตสาหร่ายได้ 1 ตัน
วิเคราะห์สถานภาพทางด้านนาโนศาสตร์ และ นาโนเทคโนโลยี ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับ ประเทศคู่แข่ง เพื่อช่วยผลักดันให้ประเทศไทย เป็น Nano Valley of ASEAN
30 พฤษภาคม 2551
28 พฤษภาคม 2551
ยุคของ Indoor Climate Control มาถึงแล้ว
เมื่อตอนเด็กๆ ผมยังจำได้ว่าในการ์ตูนญี่ปุ่นมีการพูดถึงเมืองที่อยู่ในโดมกระจกที่สร้างขึ้นมา เพื่อปกป้องผู้อยู่อาศัยภายในให้รอดพ้นจากมลภาวะที่เลวร้าย โดมกระจกนี้ใหญ่มาก บรรจุเมืองทั้งเมืองเข้าไปได้เลย มีผู้คนอยู่อาศัยในนั้นหลายแสนคน หรืออาจเป็นล้านๆ เลย ในสมัยนั้นถึงแม้เรื่องภาวะโลกร้อนยังไม่เป็นที่รู้จักกันเลยก็ตาม แต่ความคิดเกี่ยวกับเรื่องสภาพบรรยากาศที่ถูกทำลายจากสารพิษต่างๆ รวมทั้งฝุ่นนิวเคลียร์ ทำให้สถาปนิกเริ่มมีไอเดียในเรื่องดังกล่าว
ผ่านมาเกือบ 30 ปีนับตั้งแต่ผมได้เห็นจินตนาการเหล่านั้นในการ์ตูน สิ่งก่อสร้างใหญ่โตเหล่านั้นกำลังจะถูกทำให้เป็นความจริงขึ้นมาแล้วครับ ที่สำคัญมันจะไม่เกิดเพียงหนึ่งหรือสองแห่ง แต่มันกำลังจะกลายเป็นกระแสที่บูม ฮ็อตฮิต เพราะว่าด้วยสภาพภูมิอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป มนุษย์ไม่อยากทนทุกข์กับ Climate Change หรอกครับ วิธีการหนึ่งก็คือ การไปควบคุม Climate เสียเลย ด้วยการสร้างโดมใหญ่ๆ มาครอบคลุมตัวเอง คราวนี้อยากให้ฤดูกาลข้างในเป็นอย่างไรก็ทำได้เลย ไม่ต้องไปรอหน้าร้อน หน้าหนาวเหมือนสมัยก่อน หากจำกันได้ ผมเคยพูดถึง Masdar City ที่เป็นเมืองพลังงานสะอาดที่สร้างขึ้นในทะเลทราย ของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมัน แต่อยากทำให้เมืองนี้ทั้งเมืองไม่ใช้น้ำมันเลย เมืองที่ควบคุม Climate ได้นี้จะบรรจุประชากร 50,000 คน
อีกโครงการยิ่งใหญ่ก็คือ Kazakhstan's Pleasure Dome หรืออีกชื่อหนึ่งว่า Khan Shatyry Entertainment Center ในประเทศคาซัคสถาน ซึ่งมีรูปร่างเหมือนเต้นท์สูงครอบคลุมอาณาบริเวณ 100,000 ตารางเมตร โดมกระจกแห่งนี้จริงๆ ก็ไม่ได้ทำด้วยกระจกหรอกครับ แต่เป็นพลาสติกชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Ethylene tetrafluoroethylene (ETFE) เป็นพลาสติกใสที่ทนทานต่อการกัดกร่อน และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ วันหลังค่อยมาเล่าให้ฟังถึงความพิเศษของมันครับ ภายในโดมมีทั้งสนามกอล์ฟ สระว่ายน้ำ ชายหาด สวนน้ำเล่นคลื่น ร้านค้ากว่า 250 ร้าน โรงภาพยนตร์ โดมอันยิ่งใหญ่แห่งนี้จะทำให้ประชากรของคาซัคสถาน สามารถมาเที่ยวชมเพื่อรับบรรยากาศทะเลของภูเก็ตแบบไม่ต้องบินมาจริงๆ ได้ตลอดปี ทั้งๆที่อากาศข้างนอกอาจหนาวถึง -35 องศาเซลเซียส
ไอเดียเกี่ยวกับ Climate Control ยังมีอีกครับ วันหลังจะมาเล่าให้ฟังต่อครับ .... ก็โลกมันร้อนนี่ครับ ...............
ผ่านมาเกือบ 30 ปีนับตั้งแต่ผมได้เห็นจินตนาการเหล่านั้นในการ์ตูน สิ่งก่อสร้างใหญ่โตเหล่านั้นกำลังจะถูกทำให้เป็นความจริงขึ้นมาแล้วครับ ที่สำคัญมันจะไม่เกิดเพียงหนึ่งหรือสองแห่ง แต่มันกำลังจะกลายเป็นกระแสที่บูม ฮ็อตฮิต เพราะว่าด้วยสภาพภูมิอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป มนุษย์ไม่อยากทนทุกข์กับ Climate Change หรอกครับ วิธีการหนึ่งก็คือ การไปควบคุม Climate เสียเลย ด้วยการสร้างโดมใหญ่ๆ มาครอบคลุมตัวเอง คราวนี้อยากให้ฤดูกาลข้างในเป็นอย่างไรก็ทำได้เลย ไม่ต้องไปรอหน้าร้อน หน้าหนาวเหมือนสมัยก่อน หากจำกันได้ ผมเคยพูดถึง Masdar City ที่เป็นเมืองพลังงานสะอาดที่สร้างขึ้นในทะเลทราย ของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมัน แต่อยากทำให้เมืองนี้ทั้งเมืองไม่ใช้น้ำมันเลย เมืองที่ควบคุม Climate ได้นี้จะบรรจุประชากร 50,000 คน
อีกโครงการยิ่งใหญ่ก็คือ Kazakhstan's Pleasure Dome หรืออีกชื่อหนึ่งว่า Khan Shatyry Entertainment Center ในประเทศคาซัคสถาน ซึ่งมีรูปร่างเหมือนเต้นท์สูงครอบคลุมอาณาบริเวณ 100,000 ตารางเมตร โดมกระจกแห่งนี้จริงๆ ก็ไม่ได้ทำด้วยกระจกหรอกครับ แต่เป็นพลาสติกชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Ethylene tetrafluoroethylene (ETFE) เป็นพลาสติกใสที่ทนทานต่อการกัดกร่อน และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ วันหลังค่อยมาเล่าให้ฟังถึงความพิเศษของมันครับ ภายในโดมมีทั้งสนามกอล์ฟ สระว่ายน้ำ ชายหาด สวนน้ำเล่นคลื่น ร้านค้ากว่า 250 ร้าน โรงภาพยนตร์ โดมอันยิ่งใหญ่แห่งนี้จะทำให้ประชากรของคาซัคสถาน สามารถมาเที่ยวชมเพื่อรับบรรยากาศทะเลของภูเก็ตแบบไม่ต้องบินมาจริงๆ ได้ตลอดปี ทั้งๆที่อากาศข้างนอกอาจหนาวถึง -35 องศาเซลเซียส
ไอเดียเกี่ยวกับ Climate Control ยังมีอีกครับ วันหลังจะมาเล่าให้ฟังต่อครับ .... ก็โลกมันร้อนนี่ครับ ...............
ป้ายกำกับ:
climate change,
nano-construction,
smart city,
smart environment
26 พฤษภาคม 2551
Energy Fantasia - สวรรค์แห่งพลังงาน
ช่วงนี้ผมพูดเรื่องวิกฤตน้ำมันบ่อยครับ เพราะนับวันภาพมันยิ่งชัดเจนขึ้นทุกทีๆ ว่า ยุคแห่งพลังงานราคาถูกได้จบลงแล้ว จะว่าไปแล้วเราอาจจะไม่รู้ตัวครับว่า ในศตวรรษที่ผ่านมาเราอยู่ในยุคแห่ง Energy Fantasia คือมีพลังงานให้ใช้ในราคาถูกมากๆ พลังงานที่ว่านี้ก็มาจากน้ำมันนี่แหล่ะครับ ราคาที่ถูกแสนถูกของมันน่ะทำให้อารยธรรมของเราเจริญได้ขนาดนี้ น้ำมันเป็นวัตถุดิบสำคัญของระบบทุนนิยม และ Globalization เลยล่ะครับ ไม่มีมันเมื่อไหร่ ระบบทุนนิยมสูญสลายเป็นแน่แท้ทีเดียว จะหาพลังงานอะไรที่ถูกแบบนี้อีก ผมยังจำวันที่น้ำมันเบนซินราคาแค่ 7-8 บาทต่อลิตร เมื่อตอนสมัยเรียนมหาวิทยาลัย ยังคิดเลยว่าเวลาผ่านไปหลายๆ ปี อะไรต่ออะไรก็แพงขึ้น แต่ทำไมน้ำมันยังถูกอยู่เลย วันนี้แพงสมใจแล้วครับ ราคาน้ำมันได้สะท้อนราคาที่แท้จริงของมันแล้วครับ ผู้คนมักบอกว่าน้ำมันแพงแสนแพง ถ้ามันแพงจริง แล้วทำไมพลังงานอื่นยังสู้น้ำมันไม่ได้ล่ะครับ ทำไมพลังงานแสงอาฑิตย์ พืชพลังงาน พลังงานชีวมวลถึงยังไม่มาเสียที เพราะอะไรครับ ..... ก็เพราะว่าพลังงานพวกนั้นก็ยังไม่ถูกกว่าน้ำมันจริงๆ ถึงตอนนี้เรากำลังจะกลับมาอยู่ในยุคที่ต้นทุนพลังงานสูงขึ้น ยุคแห่ง Energy Fantasia จบลงแล้วครับ เพราะเมื่อเราพยายามหาพลังงานอื่นๆมาทดแทนมากขึ้นเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งตระหนักว่าพลังงานนั้นมีต้นทุนที่แพงจริงๆ พลังงานจากฟอสซิลเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์มากเลยครับ มันเก็บเกี่ยวและบรรจุตัวเนื้อพลังงานไว้สูงมากๆ จนการนำเอาออกมาใช้สามารถทำได้ในราคาที่แสนถูก ถูกจนไร้คู่แข่ง ทั้งในอดีต และอนาคต ......
(ภาพบน - เมื่อโลกไร้น้ำมัน อารยธรรมก็ถึงกาลดับสูญ เพราะไม่เพียงแต่มันจะใช้ขับเคลื่อนยานยนตร์บนท้องถนนเท่านั้น เสื้อผ้าสมัยใหม่เป็นผลผลิตจากปิโตรเคมีทั้งนั้น)
(ภาพบน - เมื่อโลกไร้น้ำมัน อารยธรรมก็ถึงกาลดับสูญ เพราะไม่เพียงแต่มันจะใช้ขับเคลื่อนยานยนตร์บนท้องถนนเท่านั้น เสื้อผ้าสมัยใหม่เป็นผลผลิตจากปิโตรเคมีทั้งนั้น)
ป้ายกำกับ:
crisis,
Economy,
energy,
oil,
petrochemicals
24 พฤษภาคม 2551
ร่วมกันแก้วิกฤตอาหารโลก
เรื่องวิกฤตข้าวยากหมากแพงที่กำลังเกิดขึ้นอย่างรุนแรงอยู่ในขณะนี้ ว่ากันว่ามันก็มีสัญญาณเตือน มีลางบอกเหตุมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ไม่มีผู้นำประเทศไหนในโลกที่ใส่ใจ ถึงตอนนี้วิกฤตนี้ลามไปทั่วโลกแล้ว วิกฤตอาหารครั้งนี้มีสาเหตุหลักๆ 4 ประการคือ (1) การเกษตรในประเทศกำลังพัฒนามีกำลังผลิตลดต่ำลง อันเป็นสาเหตุมาจากไม่มีเงินมาซื้อเมล็ดพันธุ์ดีๆ ปุ๋ย รวมทั้งระบบชลประทาน (2) ปัญหาจากการอุดหนุนให้มีการปลูกพืชพลังงานเพื่อเป็น Biofuel ทำให้พืชที่เป็นอาหารถูกนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง ไม่ว่าจะเป็น Ethanol หรือ Biodiesel ก็แย่พอกันครับ ยกเว้นจะผลิตเพื่อใช้อย่างพอเพียงในชุมชน แต่ถ้าคิดจะทำระดับอุตสาหกรรม ถือว่าคิดผิดครับ (3) Climate Change ทำให้ความสามารถในการทำเกษตรลดต่ำลง (4) การบริโภคอาหารเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าการผลิตอาหาร โดยเฉพาะจีนและอินเดียมีรายได้สูงขึ้น รวมทั้งมีการบริโภคเนื้อสัตว์มากขึ้นในประเทศเหล่านี้ ทำให้อาหารจำพวกธัญพืชถูกนำไปใช้ผลิตเนื้อสัตว์ โลกจึงขาดแคลนธัญพืชสำหรับให้มนุษย์กิน โดยเฉพาะในประเทศจนๆ อย่างแอฟริกา
วิธีแก้วิกฤตอาหารโลกอาจทำได้ 3 ทาง แต่ต้องทำพร้อมๆกันครับคือ (1) จัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในประเทศกำลังพัฒนา ให้สามารถซื้อปุ๋ยและเมล็ดพันธุ์ชั้นดี ที่ทนแล้งทนโรคได้ (2) ยกเลิกการอุดหนุนการปลูกพืชพลังงานที่ทำร้ายเกษตรกรรมทั้งหมด (ฝรั่งถึงกับประณามโดยใช้คำพูดว่า Biofuel Nonsense เลยครับ) นั่นคือ ไม่เอาพืชอาหารไปทำเชื้อเพลิง ไม่ปลูกพืชพลังงานในพื้นที่ปลูกพืชอาหาร รวมไปถึงไม่ทำลายป่าเพื่อปลูกพืชพลังงาน (3) นำเทคโนโลยีไปช่วยเหลือเกษตรกรรมให้มากขึ้น เพื่อให้การเกษตรในยุต Climate Change มีภูมิคุ้มกันสูงขึ้น ทำให้เกษตรมีความแม่นยำและทำนายได้มากขึ้น
(ภาพบน - ในฟิลิปปินส์ ทหารต้องเฝ้าโกดังเก็บข้าวอย่างเข้มข้น เพื่อมิให้ประเทศนี้เกิดกลียุค)
ป้ายกำกับ:
crisis,
Economy,
food,
nano-agriculture,
precision agriculture,
precision farming
น้ำมันลิตรละ 70 บาท
เมื่อ 2 ปีก่อน กลุ่มนักวิเคราะห์น้ำมันจำนวนหนึ่ง ได้ทำนายว่าน้ำมันดิบจะมีราคาพุ่งสูงขึ้นไปอยู่ที่ 200 เหรียญสหรัฐต่อบาห์เรลในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ณ วันนั้นราคาน้ำมันยังไม่ถึง 60 เหรียญต่อบาห์เรลเลยด้วยซ้ำ น้ำมันเบนซิน 95 ลิตรละไม่เกิน 25 บาท ตอนนี้น้ำมันเบนซิน 95 ลิตรละเกือบ 40 บาท กับราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยที่ 120 เหรียญต่อบาห์เรล ประมาณกันว่าหากราคาน้ำมันดิบขึ้นไปถึง 200 เหรียญ ราคาน้ำมันเบนซินก็น่าจะไปถึงลิตรละ 70 บาท แน่ๆ นักวิเคราะห์ได้กล่าวตลกๆ ว่า กระบวนการ Globalization จะเกิดย้อนกลับไปสู่กระบวนการ Localization นั่นก็คือ ผลิตที่ไหนก็ใช้ที่นั่น ปลูกที่ไหนก็กินที่นั่น เพราะการขนส่งข้ามเขต ข้ามประเทศไปไกลๆ จะมีราคาสูงกว่าของที่ผลิตอยู่ใกล้ๆ วัตถุดิบต่างๆ จะมีการใช้ในประเทศมากขึ้น เพราะไม่คุ้มค่าขนส่งอีกต่อไป สายการบินส่วนใหญ่จะล้มละลายและหยุดกิจการ อาจรวมไปถึงการบินไทยด้วย จะเหลือแต่สายการบินของอาหรับ เช่น เอมิเรตส์ แอร์ไลน์ ชีวิตความเป็นอยู่หน้าที่การงานจะกระทบหมด คนจะทำงานที่บ้านมากขึ้น ย้ายโรงเรียนลูกมาอยู่ใกล้บ้านมากขึ้น กระบวนการทุนนิยมจะย้อนกลับ คนจะซื้อของที่โชห่วยมากกว่าจะขับรถไปโลตัส
น้ำมันลิตรละ 70 บาทจะมาถึงเมื่อไหร่ล่ะครับ เมื่อเร็วๆนี้เอง Goldman Sachs ได้ออกมาประกาศว่าราคาน้ำมันดิบน่าจะวิ่งไปถึง 200 เหรียญสหรัฐต่อบาห์เรล ในเดือนธันวาคม 2551 นี้แล้วครับ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกาได้ออกมาอ้อนวอน OPEC ให้เพิ่มกำลังการผลิต ที่ OPEC ปฏิเสธพร้อมกล่าวโทษกองทุนต่างๆที่เก็งกำไรน้ำมัน รวมไปถึงค่าเงินของสหรัฐฯเองที่อ่อนลง เตรียมตัวเตรียมใจไว้นะครับ กับน้ำมันลิตรละ 70 บาท ที่กำลังจะมาถึง ........
23 พฤษภาคม 2551
Solar Farm - ตอนที่ 5
ในตอนที่แล้ว ผมได้เล่าว่าอเมริกาเขามีแผนว่าภายในปี ค.ศ. 2050 หรืออีก 40 กว่าปีข้างหน้า พลังงานไฟฟ้าจำนวน 69% ที่ใช้ในประเทศ จะต้องผลิตจาก Solar Farm ประเทศนี้มีพื้นที่ว่างเปล่าเยอะแยะเลยครับ อย่างน้อยประมาณ 250,000 ตารางไมล์ แถบทะเลทรายทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศซึ่งไม่รู้จะเอาไปทำอะไร พื้นที่แถบนี้กว้างใหญ่มาก มีขนาดใหญ่กว่าประเทศไทยเสียอีก เขาคำนวณแล้วว่าหากแค่แปรเปลี่ยนพลังงานแสงอาฑิตย์สัก 2.5% ที่ตกกระทบบริเวณดังกล่าวให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ก็จะให้พลังงานพอสำหรับอเมริกาใช้ทั้งประเทศได้ ก็ลองคิดดูสิครับ แสงอาฑิตย์ที่ตกกระทบพื้นโลกของเราเพียง 40 นาทีนั้น ให้พลังงานเท่ากับที่โลกทั้งใบต้องการภายในเวลา 1 ปี (คำนวณจากความต้องการพลังงานในปี ค.ศ. 2007) วิสัยทัศน์ที่ว่านี้ต้องการการลงทุนจากรัฐบาลทั้งหมด 400 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการลงทุนที่มหาศาล แต่ถ้าคำนึงถึงผลลัพธ์ที่ว่า อเมริกาไม่จำเป็นต้องนำเข้าน้ำมันอีกต่อไป ยังไงก็คุ้ม
เทคโนโลยีสำคัญสำหรับโครงการนี้ได้แก่ Photovoltaics หรือเซลล์เปลี่ยนพลังงานแสงเป็นไฟฟ้า Compressed-Air Energy Storage ทำหน้าที่เก็บกักพลังงานที่ได้จากเซลล์แสงอาฑิตย์ให้อยู่ในรูปของอากาศอัดเก็บเอาไว้ เพื่อนำออกมาใช้ในเวลากลางคืน หรือ เวลาที่มีเมฒมาก Concentrated Solar Power เป็นเซลล์สุริยะอีกแบบหนึ่ง ใช้การรวมแสงอาฑิตย์เพื่อถ่ายพลังงานความร้อนไปสู่แกนกลางที่บรรจุสารตัวนำความร้อน เพื่อนำไปถ่ายทอดให้เครื่องปั่นกระแสไฟฟ้าแบบกังหันไอน้ำอีกทอดหนึ่ง DC Transmission เป็นเทคโนโลยีในการส่งกระแสไฟฟ้าแบบไฟฟ้ากระแสตรง ซึ่งเหมาะกับการส่งกระแสไฟฟ้าเป็นระยะทางไกลๆ จะสูญเสียพลังงานน้อยกว่าไฟกระแสสลับมาก แถมยังถูกกว่าอีกด้วย
เทคโนโลยีสำคัญสำหรับโครงการนี้ได้แก่ Photovoltaics หรือเซลล์เปลี่ยนพลังงานแสงเป็นไฟฟ้า Compressed-Air Energy Storage ทำหน้าที่เก็บกักพลังงานที่ได้จากเซลล์แสงอาฑิตย์ให้อยู่ในรูปของอากาศอัดเก็บเอาไว้ เพื่อนำออกมาใช้ในเวลากลางคืน หรือ เวลาที่มีเมฒมาก Concentrated Solar Power เป็นเซลล์สุริยะอีกแบบหนึ่ง ใช้การรวมแสงอาฑิตย์เพื่อถ่ายพลังงานความร้อนไปสู่แกนกลางที่บรรจุสารตัวนำความร้อน เพื่อนำไปถ่ายทอดให้เครื่องปั่นกระแสไฟฟ้าแบบกังหันไอน้ำอีกทอดหนึ่ง DC Transmission เป็นเทคโนโลยีในการส่งกระแสไฟฟ้าแบบไฟฟ้ากระแสตรง ซึ่งเหมาะกับการส่งกระแสไฟฟ้าเป็นระยะทางไกลๆ จะสูญเสียพลังงานน้อยกว่าไฟกระแสสลับมาก แถมยังถูกกว่าอีกด้วย
แผนการใหญ่ของอเมริกาครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรกตั้งแต่ตอนนี้ไปจนถึงปี 2020 ตั้งใจจะพัฒนาโรงงาน Solar Farm กำลังผลิตทั้งหมด 84 GW และสร้างสายส่งแบบ DC ขนานไปกับทางหลวงสายหลัก โดยจะเริ่มทยอยสร้าง Solar Farm จากเล็กไปใหญ่ เพื่อดึงดูดให้เอกชนหันมาสนใจสร้างมากขึ้น จนต้นทุนพลังงานไฟฟ้าถูกลงเรื่อยๆ ซึ่งหลังปี 2020 อเมริกาก็จะอยู่ตัว และการสร้าง Solar Farm หลังปี 2020 จะเป็นเรื่องปกติไม่ต้องใช้แรงมาก เพราะใครๆก็อยากใช้พลังงานสะอาดประเภทนี้ Solar Farm ของอเมริกาไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เพราะใช้ที่ดินในทะเลทราย ไม่มีการถากถางป่า ไม่มีการรุกล้ำพื้นที่เกษตรด้วยครับ
ป้ายกำกับ:
alternative energy,
Economy,
energy,
renewable energy,
solar cell,
USA
18 พฤษภาคม 2551
Natural Intelligence - ศาสตร์แห่งศตวรรษเหนือโลกนาโน
ถ้าถามว่าหลังยุคนาโนเทคโนโลยีบูมแล้ว จะมีศาสตร์อะไรขึ้นมาแทนที่ ผมเชื่อสุดเชื่อว่าศาสตร์นั้นจะต้องเป็นเรื่องของ Natural Intelligence ซึ่งชื่อในภาษาไทยยังไม่มี แต่ผมจะลองเรียกว่า "ปัญญาธรรมชาติ" แล้วกันครับ คอยดูนะครับ อีกไม่กี่ปีต่อจากนี้ กระแสนาโนจะค่อยๆ จางหายไป กลายเป็นเรื่องของการทำวิจัยตามระบบ (Mainstream Research) ไปเรื่อยๆ แต่เรื่องที่จะฮ็อตฮิตติดตลาด จะเป็นเรื่องของ Natural Intelligence ซึ่งมนุษย์จะนำเอาศาสตร์ต่างๆ เทคโนโลยีสารพัด แม้กระทั่งปรัชญาทางด้านมนุษย์ศาสตร์ และ ศาสนา มาค้นหาเพื่อเข้าใจกลไกการทำงานของธรรมชาติ เพื่อนำไปสู่การวิศวกรรมสรรสร้างสิ่งใหม่ ดังนั้นในอนาคตศาสตร์ทางด้านนี้ ทั้ง วิทยาศาสตร์ของจิตใจ (Mind Science) วิศวกรรมเลียนแบบธรรมชาติ (Biomimetics) อวัยวกล (Bionics) สภาพล้อมรอบอัจฉริยะ (Ambient Intelligence) วัสดุอัจฉริยะ (Materials Intelligence) จะกลายมาเป็นกระแสหลักของเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-Based Economy) และเศรษฐกิจฐานปัญญา (Wisdom Based Economy) ของอารยธรรมเรา
Natural Intelligence เป็นเรื่องของความเข้าใจพฤติกรรมของธรรมชาติ ความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิต ตั้งแต่ สิ่งมีชีวิตเดี่ยวๆ ไปจนถึงการรวมเป็นฝูง เป็นสังคม เป็นอารยธรรม การเข้าใจการรวมฝูงของนก หรือ การว่ายน้ำเป็นกลุ่มของปลา สามารถนำมาสร้างเทคโนโลยีที่สามารถลดความเสียหายจากการตื่นตูมในตลาดเงิน หรือ ช่วยลดภัยภิบัติยามเกิดวิกฤติการณ์ได้ การทำความเข้าใจปัญญาของธรรมชาติจะต้องลงไปศึกษาวิเคราะห์ว่า สภาพแวดล้อมในธรรมชาติทำงานอย่างไร แล้วธรรมชาตินั้นขึ้นต่อปัจจัยอะไรบ้าง ธรรมชาติต้องการ input อะไรเพื่อให้ทำงานได้ และธรรมชาติเรียนรู้และจดจำรูปแบบได้อย่าง และทำอย่างไรในการรู้จำ ธรรมชาติทำอะไรในการนวัตกรรมสิ่งใหม่ๆ นี่แหล่ะครับศาสตร์ที่กำลังจะมาแทนที่นาโน
Natural Intelligence เป็นเรื่องของความเข้าใจพฤติกรรมของธรรมชาติ ความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิต ตั้งแต่ สิ่งมีชีวิตเดี่ยวๆ ไปจนถึงการรวมเป็นฝูง เป็นสังคม เป็นอารยธรรม การเข้าใจการรวมฝูงของนก หรือ การว่ายน้ำเป็นกลุ่มของปลา สามารถนำมาสร้างเทคโนโลยีที่สามารถลดความเสียหายจากการตื่นตูมในตลาดเงิน หรือ ช่วยลดภัยภิบัติยามเกิดวิกฤติการณ์ได้ การทำความเข้าใจปัญญาของธรรมชาติจะต้องลงไปศึกษาวิเคราะห์ว่า สภาพแวดล้อมในธรรมชาติทำงานอย่างไร แล้วธรรมชาตินั้นขึ้นต่อปัจจัยอะไรบ้าง ธรรมชาติต้องการ input อะไรเพื่อให้ทำงานได้ และธรรมชาติเรียนรู้และจดจำรูปแบบได้อย่าง และทำอย่างไรในการรู้จำ ธรรมชาติทำอะไรในการนวัตกรรมสิ่งใหม่ๆ นี่แหล่ะครับศาสตร์ที่กำลังจะมาแทนที่นาโน
16 พฤษภาคม 2551
เซลล์สุริยะสาหร่าย - Algae Solar Cell (ตอนที่ 1)
เชื้อเพลิงฟอซซิล หรือ น้ำมัน เป็นเชื้อเพลิงที่น่ามหัศจรรย์ เพราะถูกและใช้ง่าย เบื้องหลังความสำเร็จของเศรษฐกิจทุนนิยม ก็มาจากการมีใช้อย่างเหลือเฟือของมันนี่เอง ที่ทำให้การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ต่างๆ สามารถทำได้จำนวนมากๆ และสามารถแพร่หลายให้กระจัดกระจายไปใช้กันได้ทั่วโลก แทนที่จะผลิตที่ไหนใช้ที่นั่นเหมือนในอดีต เมื่อราคาของเชื้อเพลิงชนิดนี้แพงขึ้น เราจึงต้องหาพลังงานทางเลือกอื่นๆ (Alternative Energy) มาใช้ แต่ไม่ว่าจะเป็น ไบโอดีเซล เอธานอล solar cell พลังงานลม พลังงานคลื่นทะเล อะไรต่ออะไรก็ดูเหมือนจะสู้น้ำมันไม่ได้ การตัดใจเลิกใช้น้ำมันมันช่างยากเย็นเสียจริง
ในจำนวนของพลังงานทางเลือกทั้งหมด เซลล์สุริยะอาจจะเป็นทางเลือกที่สะอาดและช่วยโลกให้หายร้อนได้มากที่สุด พวก Biofuels แม้จะเป็นพลังงานแบบ Carbon-neutral โดยทฤษฎี คือปล่อยคาร์บอนออกไปเท่ากับที่นำกลับมาใช้ แต่ในความเป็นจริง การเพาะปลูกพืชพลังงานไม่ว่าจะเป็นสบู่ดำ ปาล์มน้ำมัน เพื่อทำไบโอดีเซล หรือการนำข้าวโพด และ อ้อย มาทำเอธานอล ล้วนเป็นการเบียดเบียนพื้นที่เกษตรกรรมสำหรับผลิตอาหาร และทำลายสิ่งแวดล้อม โดยการบุกพื้นที่ป่าที่เป็น Carbon Reservoir อีกด้วย เท่ากับปล่อยคาร์บอนออกมามากกว่าที่เก็บเข้าไป แต่เซลล์สุริยะมีภาพลักษณ์ในทางลบตรงที่มีราคาแพง ผลิตไฟฟ้าได้ไม่มากพอที่จะกลบต้นทุนได้ ทำให้ปัจจุบันการนำเซลล์สุริยะมาใช้ดูเหมือนจะเน้นไปทาง การสร้างภาพลักษณ์ความเป็น Green Company ของผู้ใช้ มากกว่าจะใช้งานได้จริง
จากการที่พืช Biofuels ก็ไปเบียดเบียนสิ่งแวดล้อม เซลล์สุริยะก็แพง ขณะนี้จึงเกิดทางเลือกใหม่คือการเก็บเกี่ยวแสงอาฑิตย์ด้วยสาหร่าย หรือ เซลล์สุริยะสาหร่าย จริงๆ เซลล์สุริยะชนิดนี้ไม่เหมือนกับ Solar Cell ที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาฑิตย์ไปเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ได้เลยนะครับ แต่มันเปลี่ยนแสงแดดให้เป็นน้ำมัน ซึ่งนำไปแยกสกัดได้ง่ายกว่าสบู่ดำ หรือ ปาล์มน้ำมันมาก อีกทั้งการปลูกก็สามารถนำมาเรียงในท่อใสเป็นแผงๆ คล้าย Solar Cell ซึ่งสามารถ Scale Up เพื่อการพาณิชย์ได้ไม่ยาก วันหลังผมจะมาเล่าให้ฟังครับว่าความก้าวหน้า ณ ขณะนี้ไปถึงไหนแล้ว ........
ในจำนวนของพลังงานทางเลือกทั้งหมด เซลล์สุริยะอาจจะเป็นทางเลือกที่สะอาดและช่วยโลกให้หายร้อนได้มากที่สุด พวก Biofuels แม้จะเป็นพลังงานแบบ Carbon-neutral โดยทฤษฎี คือปล่อยคาร์บอนออกไปเท่ากับที่นำกลับมาใช้ แต่ในความเป็นจริง การเพาะปลูกพืชพลังงานไม่ว่าจะเป็นสบู่ดำ ปาล์มน้ำมัน เพื่อทำไบโอดีเซล หรือการนำข้าวโพด และ อ้อย มาทำเอธานอล ล้วนเป็นการเบียดเบียนพื้นที่เกษตรกรรมสำหรับผลิตอาหาร และทำลายสิ่งแวดล้อม โดยการบุกพื้นที่ป่าที่เป็น Carbon Reservoir อีกด้วย เท่ากับปล่อยคาร์บอนออกมามากกว่าที่เก็บเข้าไป แต่เซลล์สุริยะมีภาพลักษณ์ในทางลบตรงที่มีราคาแพง ผลิตไฟฟ้าได้ไม่มากพอที่จะกลบต้นทุนได้ ทำให้ปัจจุบันการนำเซลล์สุริยะมาใช้ดูเหมือนจะเน้นไปทาง การสร้างภาพลักษณ์ความเป็น Green Company ของผู้ใช้ มากกว่าจะใช้งานได้จริง
จากการที่พืช Biofuels ก็ไปเบียดเบียนสิ่งแวดล้อม เซลล์สุริยะก็แพง ขณะนี้จึงเกิดทางเลือกใหม่คือการเก็บเกี่ยวแสงอาฑิตย์ด้วยสาหร่าย หรือ เซลล์สุริยะสาหร่าย จริงๆ เซลล์สุริยะชนิดนี้ไม่เหมือนกับ Solar Cell ที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาฑิตย์ไปเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ได้เลยนะครับ แต่มันเปลี่ยนแสงแดดให้เป็นน้ำมัน ซึ่งนำไปแยกสกัดได้ง่ายกว่าสบู่ดำ หรือ ปาล์มน้ำมันมาก อีกทั้งการปลูกก็สามารถนำมาเรียงในท่อใสเป็นแผงๆ คล้าย Solar Cell ซึ่งสามารถ Scale Up เพื่อการพาณิชย์ได้ไม่ยาก วันหลังผมจะมาเล่าให้ฟังครับว่าความก้าวหน้า ณ ขณะนี้ไปถึงไหนแล้ว ........
ป้ายกำกับ:
alternative energy,
biofuel,
energy,
nanobiotechnology,
oil,
renewable energy,
solar cell
15 พฤษภาคม 2551
The Post-American World - โลกยุคใหม่ที่ไม่คลั่งไคล้อเมริกา
เมื่อตอนผมเป็นเด็ก จำได้ว่าผมเคยคลั่งไคล้ประเทศสหรัฐอเมริกาเอามากๆ ตอนเรียนอยู่ประถมศึกษาปีที่ 5 ที่โรงเรียนเซ็นหลุยส์ จ.ฉะเชิงเทรา ผมเคยเขียนจดหมายถึงท่านเอกอัครราชฑูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย แสดงความชื่นชมประเทศของท่าน และอยากได้ข้อมูลประเทศของท่านมาศึกษา เพราะที่โรงเรียนไม่ค่อยมีให้อ่าน ท่านก็ใจดี ตอบจดหมายกลับและยังส่งแผนที่ฉบับใหญ่แบบโปสเตอร์ของอเมริกามาให้ แถมด้วยหนังสือเกี่ยวกับประเทศนี้อีกกอง ยิ่งทำให้ความฝันและลุ่มหลงประเทศที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้เพิ่มเป็นทวีคูณ
ในยุคนั้น เด็กๆในรุ่นผมล้วนมีทัศนคติแบบนี้ ฝันที่จะได้ไปเยี่ยมชม ฝันที่จะได้ไปเรียนต่อที่อเมริกา ผมได้ไปอเมริกาครั้งแรกหลังจากจบปริญญาเอกที่ยุโรป รู้สึกตื่นตาตื่นใจมาก แต่ในช่วงที่ผมเดินทางไปอเมริกานั้น กลับเป็นช่วงไม่กี่เดือนก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ 9/11 ซึ่งเวลา ณ จุดนั้น อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการเสื่อมถอยของประเทศนี้ ประเทศที่ผมเคยรักและเคยชื่นชมเมื่อครั้งยังเด็ก
อเมริกาเคยเป็นประเทศที่หนึ่งในทุกๆ ด้าน แต่ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่คนอเมริกันภาคภูมิใจในความเป็นมหาอำนาจของเขา ประเทศอื่นๆ ก็พัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้งด้วยผลของ Globalization นี่เอง ที่ทำให้ความร่ำรวยได้กระจายออกไปยังประเทศอื่นๆ เช่นกัน ในปัจจุบัน ตึกที่สูงที่สุดในโลกไม่ได้อยู่ในอเมริกา แต่อยู่ที่ไทเปและกำลังจะย้ายไปยังดูไบ บริษัทมหาชนที่มีการซื้อขายหุ้นกันมากที่สุดในโลกอยู่ที่ปักกิ่ง โรงกลั่นน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ที่อินเดีย เครื่องบินโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกสร้างโดยประเทศยุโรป บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่ อาบู ดาบี อุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดคือ Bollywood ไม่ใช่ Hollywood โลกยุคต่อไปนี้ จึงเป็นยุคที่ประเทศต่างๆ เพิ่มศักดิ์ศรีขึ้นมาเพื่อแข่งกับอเมริกาครับ จริงอยู่ในด้านการทหารนั้น อเมริกายังเป็นมหาอำนาจหนึ่งเดียว แต่ในยุคที่การทำสงครามเป็นเรื่องล้าสมัยนี้ ทุกๆประเทศในโลกเขาแข่งขันกันที่ความสามารถทางเศรษฐกิจ ติดตามต่อไปครับ เรื่องความเสื่อมถอยของมหาอำนาจนี้เป็นกระแสที่กำลังเกิดขึ้น และประเทศไทยเองต้องนำมาขบคิด เพราะเศรษฐกิจการเมืองของเขา มีความเชื่อมโยงกับของเราค่อนข้างมากครับ แม้กระทั่งเรื่องของ Mindset หรือฐานคิด ทางด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เราก็เอาของเขามาเยอะ ได้ยินว่าตอนนี้ สกอ. มีนโยบายให้ทุนไปศึกษาต่อในประเทศอื่นๆ ที่ไม่ใช่สหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นแล้วครับ
13 พฤษภาคม 2551
Academy Fantasia - เศรษฐกิจฐานจินตนาการแบบไทยๆ
เปิดฤดูกาลใหม่มาแล้วครับสำหรับ AF5 หรือ Academy Fantasia Season 5 ซึ่งก็เข้าบ้านแม็กโนเลียร์ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2551 นี้ ออกอากาศที่ช่อง True Vision และบน website http://trueaf.truelife.com/ สดๆ แบบ 24 ชั่วโมง ผ่านมาเป็นปีที่ 5 แล้ว ตามวงจรของการบันเทิงแล้ว คนน่าจะเบื่อและให้ความสนใจน้อยลง แต่กลับไม่ใช่นะครับ ปีนี้ความน่าสนใจ ความน่าติดตามยิ่งกลับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นักล่าฝันที่คัดเข้ามานั้นล้วนมีความสามารถสูงทางด้านการร้องเพลงกันทุกคน แถมมีหน้าตาอินเทรนด์ ที่สำคัญคือมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้มากขึ้นเลยครับ Website ของ AF5 มีการปรับปรุงหน้าตาให้ดูจ๊าบขึ้นมาก ในบ้านแม็กโนเลียร์เองมีการนำเทคโนโลยีส่องสว่างแบบ LED ของฟิลิปส์เข้าไปติดตั้ง ซึ่งทำให้แสงในบ้านมีความนุ่มนวล ให้อารมณ์ของความเป็นกลางวัน กลางคืน ได้เนื่องจากนักล่าฝันต้องเก็บตัวในบ้านแบบไม่เห็นดาวเห็นตะวัน ทำให้ Bio Clock อาจทำงานได้ไม่เต็มที่ ฟิลิปส์ยังนำเอาเทคโนโลยีนี้ไปตกแต่งเวทีคอนเสริทอีกด้วย หลายๆคนคงเคยเห็นความสวยงามของเวทีแบบนี้ในเกาหลีนะครับ
ลักษณะสินค้าแบบนี้แหล่ะครับ ที่เราเรียกว่าเป็นส่วนหนึ่งของ Experience Economy หรือ เศรษฐกิจฐานจินตนาการ เจ้า Experience Economy นี้เป็นเศรษฐกิจที่มูลค่าของสินค้าขึ้นกับ ความรู้สึก ความฝัน จินตนาการ ประสบการณ์ ที่ผู้บริโภคได้รับ ลองดู Nokia สิเขามีสโลแกนว่า Connecting People เขาไม่ได้ขายมือถือ แต่เขาขายประสบการณ์ของการอยู่ในโลก แห่งการปฏิสัมพันธ์อย่างไร้ขอบเขต บริษัทผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่ที่สุดของโลก ก็คือ Samsung เขาพยายามสื่อสารกับลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์ของเขาว่า สิ่งที่ลูกค้าซื้อไปจาก Samsung ไม่ใช้สินค้าที่เป็นสิ่งของ แต่เป็นประสบการณ์ที่ดีในการใช้สินค้านั้นๆ โลกส่วนตัวที่ลูกค้าได้รับตั้งแต่ในห้องนอน ได้แก่ จอ LCD, TV, DVD แอร์ เครื่องฟอกอากาศ มาถึงห้องนั่งเล่น ที่มีโฮมเธียเตอร์ ห้องครัวที่มี ตู้เย็นของ Samsung ให้ประสบการณ์ที่บูติค ออกไปทำงานก็พกโทรศัพท์มือถือของ Samsung ที่มีนวัตกรรมล้ำยุคเทียบเท่า i-Phone
(ล่าง - น้องกรีน นักล่าฝัน V16)
ลักษณะสินค้าแบบนี้แหล่ะครับ ที่เราเรียกว่าเป็นส่วนหนึ่งของ Experience Economy หรือ เศรษฐกิจฐานจินตนาการ เจ้า Experience Economy นี้เป็นเศรษฐกิจที่มูลค่าของสินค้าขึ้นกับ ความรู้สึก ความฝัน จินตนาการ ประสบการณ์ ที่ผู้บริโภคได้รับ ลองดู Nokia สิเขามีสโลแกนว่า Connecting People เขาไม่ได้ขายมือถือ แต่เขาขายประสบการณ์ของการอยู่ในโลก แห่งการปฏิสัมพันธ์อย่างไร้ขอบเขต บริษัทผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่ที่สุดของโลก ก็คือ Samsung เขาพยายามสื่อสารกับลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์ของเขาว่า สิ่งที่ลูกค้าซื้อไปจาก Samsung ไม่ใช้สินค้าที่เป็นสิ่งของ แต่เป็นประสบการณ์ที่ดีในการใช้สินค้านั้นๆ โลกส่วนตัวที่ลูกค้าได้รับตั้งแต่ในห้องนอน ได้แก่ จอ LCD, TV, DVD แอร์ เครื่องฟอกอากาศ มาถึงห้องนั่งเล่น ที่มีโฮมเธียเตอร์ ห้องครัวที่มี ตู้เย็นของ Samsung ให้ประสบการณ์ที่บูติค ออกไปทำงานก็พกโทรศัพท์มือถือของ Samsung ที่มีนวัตกรรมล้ำยุคเทียบเท่า i-Phone
(ล่าง - น้องกรีน นักล่าฝัน V16)
ป้ายกำกับ:
Economy,
technology transfer
11 พฤษภาคม 2551
2008 IEEE/ASME International Conference on Mechatronic and Embedded Systems and Applications
วันนี้ผมขอนำการประชุมหนึ่งที่น่าสนใจมาฝากกันนะครับ งานนี้เขาจะจัดกันที่ กรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 12-15 ตุลาคม 2551 งานประชุม The 4th IEEE/ASME International Conference on Mechatronic and Embedded Systems and Applications ที่มีชื่อเล่นว่า MESA08 (Mechatronic and Embedded Systems and Applications) ได้แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ศาสตร์ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และ วิศวกรรมเครื่องกล ได้มาเข้าพิธีแต่งงานกันอย่างเอิกเกริก โดยมี การแพทย์ การเกษตร สมุทรศาสตร์ การกลาโหม การขนส่งคมนาคม มาร่วมเป็นสักขีพยาน หัวข้อของการประชุมมีความน่าสนใจเป็นอย่างมากครับ งานนี้แบ่งการประชุมออกเป็น Symposium ย่อยๆ ดังนี้ครับ
Sensor Networks (Chair: Bo Chen, Michigan Technological University, USA) Modeling and simulation of sensor networks;Hardware, architecture, and protocol;Topology, location and synchronization;Wireless sensor/micro-sensor networks;Ad-hoc networks, mobile sensor networks;Energy aware wireless sensor networks;Self-organizing sensor network;Scalability of sensor networks;Multi-tier sensor networks;Applications of sensor networks
Embedded System Infrastructure and Theory (Chair: Martin Horauer, Univ. of Applied Sciences Technikum Vienna, Austria) Design and Validation of Embedded Systems;Models of Embedded Computation and Formal Methods;System-on-Chip and Network-on-Chip Design;Networked Embedded Systems;Hardware/software co-design;Power-aware Design issues;Design and Programming of Embedded Multiprocessors;Real-time issues;Operating System & Middleware Support;Software architecture for Embedded Systems
Mechatronic and Embedded System Applications (Chair: Primo Zingaretti, Polytechnic University of Marche, Italy) Challenges, requirements, model problems, and constraints associated with various application domains;Use of mechatronic and embedded technologies in meeting particular system requirements, performance, scalability, reliability, and security;Assessments of mechatronic and embedded technologies for particular application domains;Technology transition lessons learned;Applications in intelligent transportation systems;Applications in intelligent manufacturing and automation systems;Applications in underwater, flying and aerospace systems;Applications in medical systems
Development, Verification, Debug Tools for Mechatronic & Embedded Systems (Chair: Tianmiao Wang, Beihang University, China ) Compilers, assemblers and cross assemblers;System design tools;Test and debug strategies;Emulators and Simulators;Debuggers;Software simulations of hardware components
Mechatronics Control and Manufacturing (Chair: YangQuan Chen, Utah State University, USA ) Advanced control;Analysis, modelling and simulation;Autonomous systems;Nonlinearity compensation in mechatronics;Mechatronics in advanced manufacturing;Automation technologies
Mechatronic and Embedded Systems in Education (Chair: Zhaoqing Wang, Zhejiang Sci-Tech University, China) Innovations in course, curriculum, laboratory development;Development of teaching tools and innovative teaching strategies;Integration of emerging technologies into the undergraduate and graduate programs
Mechatronic Systems (Chair: Jian Dai, King's College London, UK) Mechatronic systems principles and integration;Mechatronics systems design and methodology;Analysis, modelling and simulation;Open architecture system integration;Multi-objective integrated design of mechatronic systems;Design for control of mechatronic systems
Sensors and MEMS (Chair: V. Sundarrajan, University of California, Riverside, USA) Analysis, modelling and simulation;MEMS, NEMS;Sensor design, integration and fusion;Microsensors and microactuators;Actuator networks;Bio-medical and biological imaging;Bio-sensors
Machines for Precision Farming (Chair: Uriel A. Rosa, University of California, Davis, USA) Automation and robotization in agriculture;Agricultural robots for planting, harvesting, pruning, thinning, spraying, and tillage;Agricultural Service robots;Agricultural monitoring systems;Modeling, simulation, and analysis of electro-mechanics / bio-material interactions
Robotics and Mobile Machines (Chair: Ying Chen, Hangzhou Dianzi University, China) Climbing and walking machines;Underwater robots;Service robots, medical robots;Bionic robots, animal-inspired robots;Micro-robots and micro-manipulation;Tele-robotics, tele-operation, and virtual presence;Perception, path planning, and navigation
Robotics for Human Augmentation and Rehabilitation (Chair: Sunil Agrawal, University of Delaware, USA) Biomechatronics;Human augmentation;Rehabilitation systems;Man-machine interface;Man-in-the-loop systems
Micro aerial vehicles (Chair: Xinyan Deng, University of Delaware, USA) Modelling, simulation and analysis of aerial vehicles;Design methods of micro aerial vehicles;On-board sensing and instrumentation;Flight control;Autonomous navigation
Intelligence in Mechatronic and Embedded Systems (Chair: Hyo-Sung Ahn, Gwangju Institute of Science and Tech, Korea) Smart Sensors/Actuators;Intelligent controllers for mechatronics and embedded systems;Soft computing;Information processing and decision making
Special Topics and Sessions (Chair: Hami Kazerooni, University of California, Berkeley, USA; Xudong Hu, Zhejiang Sci-Tech University, China) Emerging mechatronics and embedded technologies
Sensor Networks (Chair: Bo Chen, Michigan Technological University, USA) Modeling and simulation of sensor networks;Hardware, architecture, and protocol;Topology, location and synchronization;Wireless sensor/micro-sensor networks;Ad-hoc networks, mobile sensor networks;Energy aware wireless sensor networks;Self-organizing sensor network;Scalability of sensor networks;Multi-tier sensor networks;Applications of sensor networks
Embedded System Infrastructure and Theory (Chair: Martin Horauer, Univ. of Applied Sciences Technikum Vienna, Austria) Design and Validation of Embedded Systems;Models of Embedded Computation and Formal Methods;System-on-Chip and Network-on-Chip Design;Networked Embedded Systems;Hardware/software co-design;Power-aware Design issues;Design and Programming of Embedded Multiprocessors;Real-time issues;Operating System & Middleware Support;Software architecture for Embedded Systems
Mechatronic and Embedded System Applications (Chair: Primo Zingaretti, Polytechnic University of Marche, Italy) Challenges, requirements, model problems, and constraints associated with various application domains;Use of mechatronic and embedded technologies in meeting particular system requirements, performance, scalability, reliability, and security;Assessments of mechatronic and embedded technologies for particular application domains;Technology transition lessons learned;Applications in intelligent transportation systems;Applications in intelligent manufacturing and automation systems;Applications in underwater, flying and aerospace systems;Applications in medical systems
Development, Verification, Debug Tools for Mechatronic & Embedded Systems (Chair: Tianmiao Wang, Beihang University, China ) Compilers, assemblers and cross assemblers;System design tools;Test and debug strategies;Emulators and Simulators;Debuggers;Software simulations of hardware components
Mechatronics Control and Manufacturing (Chair: YangQuan Chen, Utah State University, USA ) Advanced control;Analysis, modelling and simulation;Autonomous systems;Nonlinearity compensation in mechatronics;Mechatronics in advanced manufacturing;Automation technologies
Mechatronic and Embedded Systems in Education (Chair: Zhaoqing Wang, Zhejiang Sci-Tech University, China) Innovations in course, curriculum, laboratory development;Development of teaching tools and innovative teaching strategies;Integration of emerging technologies into the undergraduate and graduate programs
Mechatronic Systems (Chair: Jian Dai, King's College London, UK) Mechatronic systems principles and integration;Mechatronics systems design and methodology;Analysis, modelling and simulation;Open architecture system integration;Multi-objective integrated design of mechatronic systems;Design for control of mechatronic systems
Sensors and MEMS (Chair: V. Sundarrajan, University of California, Riverside, USA) Analysis, modelling and simulation;MEMS, NEMS;Sensor design, integration and fusion;Microsensors and microactuators;Actuator networks;Bio-medical and biological imaging;Bio-sensors
Machines for Precision Farming (Chair: Uriel A. Rosa, University of California, Davis, USA) Automation and robotization in agriculture;Agricultural robots for planting, harvesting, pruning, thinning, spraying, and tillage;Agricultural Service robots;Agricultural monitoring systems;Modeling, simulation, and analysis of electro-mechanics / bio-material interactions
Robotics and Mobile Machines (Chair: Ying Chen, Hangzhou Dianzi University, China) Climbing and walking machines;Underwater robots;Service robots, medical robots;Bionic robots, animal-inspired robots;Micro-robots and micro-manipulation;Tele-robotics, tele-operation, and virtual presence;Perception, path planning, and navigation
Robotics for Human Augmentation and Rehabilitation (Chair: Sunil Agrawal, University of Delaware, USA) Biomechatronics;Human augmentation;Rehabilitation systems;Man-machine interface;Man-in-the-loop systems
Micro aerial vehicles (Chair: Xinyan Deng, University of Delaware, USA) Modelling, simulation and analysis of aerial vehicles;Design methods of micro aerial vehicles;On-board sensing and instrumentation;Flight control;Autonomous navigation
Intelligence in Mechatronic and Embedded Systems (Chair: Hyo-Sung Ahn, Gwangju Institute of Science and Tech, Korea) Smart Sensors/Actuators;Intelligent controllers for mechatronics and embedded systems;Soft computing;Information processing and decision making
Special Topics and Sessions (Chair: Hami Kazerooni, University of California, Berkeley, USA; Xudong Hu, Zhejiang Sci-Tech University, China) Emerging mechatronics and embedded technologies
ป้ายกำกับ:
China,
conference,
military
10 พฤษภาคม 2551
Food Science versus Sciences for Food
สวัสดีครับ หายหน้าหายตาไปหลายวันเลยครับ ได้ไปออกภาคสนามที่ จ. กาญจนบุรี มาครับ อากาศร้อนมากๆ ถึงแม้จะเป็นเมืองที่ล้อมรอบด้วยภูเขา แต่อากาศกลับไม่เย็นสบายเหมือนเขาใหญ่ กับ อ.สวนผึ้ง ที่ราชบุรี ได้มีโอกาสโฉบไปสำรวจเกษตรกรรมของเมืองกาญจน์เขามาครับ ได้เปิดหูเปิดตาดูว่า เกษตรสมัยใหม่ของเมืองกาญจน์มีระบบรดน้ำหมดแล้ว ประเภทรอฟ้ารอฝนน่ะ ไม่มีแล้วครับ
พูดถึงประเทศเกษตรกรรมอย่างเรา มักจะถูกปรามาสว่าล้าหลัง ยากจน จนทำให้ประเทศต่างๆทั่วโลกหันไปพัฒนาตนเอง เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรม ทำให้แหล่งผลิตอาหารของโลกลดน้อยถอยลง ที่ราบลุ่มภาคกลางของไทย เคยเป็นแหล่งปลูกข้าวที่อุดมสมบูรณ์ แต่ปัจจุบันกลับถูกรุกรานโดยกิจกรรมอื่นๆ มากมาย โดยเฉพาะอุตสาหกรรม ที่ไปตั้งที่ไหนก็ได้ แต่กลับมาตั้งอยู่บนที่ดินสามารถผลิตอาหารเลี้ยงคนทั้งโลกได้ เกษตรสมัยใหม่จึงต้องหนีไปอยู่ในที่ใหม่ ที่ซึ่งผืนดินอาจไม่ดีที่สุด เทคโนโลยีสมัยใหม่จึงต้องเข้ามาช่วยทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ หรือทำได้ไม่ดี ให้เป็นสิ่งที่ทำดีให้ได้ ช่วงนี้ศาสตร์ของการบูรณาการเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อนำมาช่วยในเรื่องของการผลิตอาหารเลยกำลังฮอตฮิต ประเทศที่ทำเกษตรอยู่อย่างประเทศไทยก็เลยกระดี้กระด้ากับโอกาสทองที่จะมาถึง ในขณะที่ประเทศที่ทิ้งเกษตรกรรมไปนานแล้วอย่างเกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน ก็คิดจะกลับมาหาเกษตรอีก แต่นักวิเคราะห์กล่าวว่า ราคาอาหารโดยเฉพาะข้าว ยังไงก็จะมีแต่แพงขึ้น และไม่ใช่เรื่องง่ายที่ประเทศที่ทิ้งเกษตรไปแล้วจะกลับมาเร่งผลิตอาหารได้อีก คงต้องใช้เวลาอีกยาวนาน
ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการผลิตอาหารที่เรียกกันว่า Food Science นั้น เมื่อก่อนก็คงเป็นเรื่องของเคมี หรือ ชีววิทยา ที่เกี่ยวกับกระบวนการผลิตหรือสร้างสรรอาหาร ในบ้านเรา Food Science ก็เรียนกันแต่เรื่องของกระบวนการแปรรูปอาหาร ด้วยวิธีการต่างๆนานา การใช้จุลินทรีย์ การอบ การทอด การแปรรูปอาหาร แต่ว่าศาสตร์ใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นมาที่เรียกว่า Sciences for Food นี้กำลังจะทำให้ Food Science กลายเป็นเรื่องล้าสมัยไปเลย เพราะศาสตร์ใหม่นี้จะเป็นเรื่องของแนวคิดใหม่ในการสร้างสรรอาหาร ที่ไม่จำกัดอยู่แค่เคมีและชีววิทยาของอาหารเท่านั้น แต่จะไปถึงเรื่องใหม่ๆ ที่จะเข้ามาในวงการผลิตอาหารซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เช่น เกษตรกรรมแม่นยำสูง ไร่นาอัจฉริยะ ฟาร์มฉลาด บรรจุภัณฑ์ฉลาด ฉลากอัจฉริยะ หรือแม้แต่อาหารที่ทำหน้าที่เฉพาะทางได้ ซึ่งแน่นอน นักเทคโนโลยีหน้าใหม่ๆ ไม่ใช่นักเทคโนโลยีอาหารหน้าเดิมๆ ที่จะเข้ามาปฏิวัติวงการอาหาร ทำให้วงการอาหารโลกเปลี่ยนโฉมไปอย่างมากในอีกไม่กี่ปีต่อจากนี้ล่ะครับ .................................
ป้ายกำกับ:
food,
nanobiotechnology,
precision agriculture,
precision farming,
smart farm,
smart packaging
05 พฤษภาคม 2551
AsiaNANO 2008
หายไปหลายวันครับ ผมออกภาคสนามที่ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี สวนทางกับผู้คนที่หนีไปเที่ยวด้านอื่นๆ กันหมด เนื่องจากกลัวอิทธิพลของพายุไซโคลนนาร์กีส ที่พุ่งขึ้นฝั่งพม่า แล้วเกรงว่าแถบตะวันตกจะเจอฝน จริงๆ แล้วก็มีแต่เมฆชั้นสูงเท่านั้นแหล่ะครับที่จะข้ามผ่านเทือกเขาตะนาวศรีมาได้ เมฆชั้นต่ำกับชั้นกลางที่สร้างฝนจะถูกบัง แล้วตกเป็นฝนในฝั่งพม่า ที่ อ. สวนผึ้งเลยอากาศดี มีฝนปรอยๆเท่านั้นเองครับ ประเทศไทยค่อนข้างโชคดี ที่สภาพอากาศที่เรียกว่า Severe Weather ไม่ค่อยรุนแรงเหมือนประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้การเกษตรในบ้านเราเอาตัวรอดไปได้เรื่อยๆ แต่ Climate Change ในระยะหลังๆ คอยย้ำเตือนสิครับว่า ประเทศไทยต้องการไฮเทคมากขึ้นในการทำเกษตร ทั้ง IT, Electronics, Biotechnology, Materials Science, Nanotechnologty, Geo-informatics ต้องเอามาช่วยภาคเกษตรให้มากขึ้นครับ
วันนี้ผมขอแนะนำงานประชุมทางด้านนาโนแห่งปี 2008 ในระดับทวีปเอเชีย นั่นคือ AsiaNANO2008 - The 2008 Asian Conference on Nanoscience and Nanotechnology ซึ่งจะจัดระหว่างวันที่ 3-7 พฤศจิกายน 2551 นี้ที่ Biopolis ประเทศสิงคโปร์ครับ งานนี้เหมือนสิงคโปร์เขาจะประกาศว่า ในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี่ เขาไม่ยอมไทยนะ เพราะเขาเล่นจัดชนกับ NanoThailand 2008 International Conference ซึ่งจะจัดระหว่าง 6-8 พฤศจิกายน 2551 เลยทีเดียว เนื้อหาของการประชุมประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้ครับ
- Carbon nanotubes and related nanomaterials
- Graphene: Materials and devices Nanomagnetics, spintronics and multiferroics
- Nanobioscience and nanobiotechnology
- Functional Nanoassembly: nanoparticles, quantum dots, nanoarchitectures and self-assembled architectures
- Multi-paradigm simulation at the nano-scale: methodology and applications
- Nanofabrication: nanoimprinting, nanolithography and related techniques
- Materials Issues in Hydrogen Storage: From Bulk to Nano and Asian Consortium for Computational Materials Science (ACCMS) Working Group Meeting on Hydrogen Storage Materials
จะเห็นว่าเนื้อหาของการประชุมค่อนข้าง Focus ในเรื่องของ materials และ nanostructure มากกว่างาน NanoThailand2008 ที่ค่อนข้างกว้างกว่า งานนี้เสียเปรียบสิงคโปร์ล่ะครับ เพราะเจาะลึกเทคนิคมากกว่า ต้องทำใจครับ บ้านเราคนทำนาโนแบบเจาะลงไปลึกๆมีน้อย ทำให้งานประชุมวิชาการต้องทำกว้างๆ เอาไว้แบบนี้ล่ะครับ ................
ป้ายกำกับ:
carbon nanotube,
conference,
nanomaterials,
Singapore
01 พฤษภาคม 2551
Solar Farm - ตอนที่ 4
ข้อสรุปที่ว่า พลังงานจากเชื้อเพลิงชีวภาพอย่าง Ethanol และ Biodiesel ไม่ใช่พลังงานสะอาด และกำลังทำลายสิ่งแวดล้อมของโลกอย่างเมามัน เริ่มเป็นสิ่งที่เด่นชัดมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วสิครับ อาหารที่มีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก่อให้เกิดความเดือดร้อนไปทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ ก็เป็นผลมาจากเจ้าเชื้อเพลิง 2 ชนิดนี้แหล่ะครับ แทนที่จะเป็นอาหารของมนุษย์ เรากลับมามันมาเทใส่ถังน้ำมันของเรา สุดท้ายก็ปล่อยคาร์บอนไดออดไซด์อยู่ดี โลกจึงพยายามมองหาพลังงานแสงอาฑิตย์ และวิธีที่จะเก็บเกี่ยวมันมาใช้แบบถูกวิธี ไม่ให้ซ้ำเติมสถานการณ์ที่ Biofuels ทิ้งบาดแผลเอาไว้
ในสหรัฐอเมริกานั้น พลังงานแสงอาฑิตย์เป็นเรื่องที่กำลังถูกถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ว่าอาจเป็นทางเลือกและทางรอดของอเมริกาเลยทีเดียว ว่ากันว่า แสงอาฑิตย์ที่ตกกระทบพื้นโลกของเราเพียง 40 นาทีนั้น ให้พลังงานเท่ากับที่โลกทั้งใบต้องการภายในเวลา 1 ปี (คำนวณจากความต้องการพลังงานในปี ค.ศ. 2007) อเมริกามีพื้นที่ว่างเปล่าเยอะแยะเลยครับ อย่างน้อยประมาณ 250,000 ตารางไมล์ แถบทะเลทรายทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศก็ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ใหญ่กว่าประเทศไทยเสียด้วยซ้ำ เขาคำนวณแล้วว่าหากแค่แปรเปลี่ยนพลังงานแสงอาฑิตย์สัก 2.5% ที่ตกกระทบบริเวณดังกล่าวให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ก็จะให้พลังงานพอสำหรับอเมริกาใช้ทั้งประเทศได้ อเมริกาเขามีแผนว่าภายในปี ค.ศ. 2050 หรืออีก 40 กว่าปีข้างหน้า พลังงานไฟฟ้าจำนวน 69% ที่ใช้ในประเทศ จะต้องผลิตจาก Solar Farm โครงการนี้เป็นอภิมหาเมกะโปรเจคต์ที่โลกควรจับตาดูครับ ผมจะกลับมาเล่าในวันหลังครับว่า เขามีแผนจะทำอะไรบ้างครับ .......
ในสหรัฐอเมริกานั้น พลังงานแสงอาฑิตย์เป็นเรื่องที่กำลังถูกถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ว่าอาจเป็นทางเลือกและทางรอดของอเมริกาเลยทีเดียว ว่ากันว่า แสงอาฑิตย์ที่ตกกระทบพื้นโลกของเราเพียง 40 นาทีนั้น ให้พลังงานเท่ากับที่โลกทั้งใบต้องการภายในเวลา 1 ปี (คำนวณจากความต้องการพลังงานในปี ค.ศ. 2007) อเมริกามีพื้นที่ว่างเปล่าเยอะแยะเลยครับ อย่างน้อยประมาณ 250,000 ตารางไมล์ แถบทะเลทรายทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศก็ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ใหญ่กว่าประเทศไทยเสียด้วยซ้ำ เขาคำนวณแล้วว่าหากแค่แปรเปลี่ยนพลังงานแสงอาฑิตย์สัก 2.5% ที่ตกกระทบบริเวณดังกล่าวให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ก็จะให้พลังงานพอสำหรับอเมริกาใช้ทั้งประเทศได้ อเมริกาเขามีแผนว่าภายในปี ค.ศ. 2050 หรืออีก 40 กว่าปีข้างหน้า พลังงานไฟฟ้าจำนวน 69% ที่ใช้ในประเทศ จะต้องผลิตจาก Solar Farm โครงการนี้เป็นอภิมหาเมกะโปรเจคต์ที่โลกควรจับตาดูครับ ผมจะกลับมาเล่าในวันหลังครับว่า เขามีแผนจะทำอะไรบ้างครับ .......
ป้ายกำกับ:
alternative energy,
biofuel,
crisis,
Economy,
energy,
renewable energy,
solar cell
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)