วิเคราะห์สถานภาพทางด้านนาโนศาสตร์ และ นาโนเทคโนโลยี ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับ ประเทศคู่แข่ง เพื่อช่วยผลักดันให้ประเทศไทย เป็น Nano Valley of ASEAN
03 กรกฎาคม 2555
Floating Nations - ประเทศลอยน้ำ (ตอนที่ 2)
เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา บริษัท Blueseed ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ออกมาประกาศว่า ในราวกลางปี ค.ศ. 2013 บริษัทจะเปิดเมืองลอยน้ำ ห่างจากชายฝั่งเมืองซาน ฟรานซิสโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ออกไป 12 ไมล์ทะเล ซึ่งเป็นเขตของน่านน้ำสากล โดยเมืองลอยน้ำนี้ (ซึ่งเริ่มแรกน่าจะดัดแปลงจากเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่) จะรองรับบริษัทต่างๆ ที่ต้องมีการจ้างพนักงานต่างชาติที่ไม่สามารถจะได้วีซ่าเข้าทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ โดยมากเป็นบริษัทใน Silicon Valley โดยพนักงานต่างชาติเหล่านี้สามารถพำนักได้บนเมืองลอยน้ำนี้ โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายของสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี พนักงานสามารถได้รับวีซ่าประเภท B1 เพื่อเข้าสหรัฐฯ ได้ ในลักษณะการเดินทางเพื่อไปพบลูกค้า ประชุม หรือปฏิบัติงานเชิงธุรกิจ หรือไปท่องเที่ยว โดยจะมีเรือเฟอรี่เดินทางระหว่างเมืองลอยน้ำนี้ กับ ชายฝั่งแคลิฟอร์เนีย ทุกวัน เมืองลอยน้ำนี้จะมีการจ้างลูกเรือเข้ามาดูแลวิถีชีวิต และความเป็นอยู่ของประชากร เพื่อให้เมืองพึ่งพาตัวเองได้อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็น ตำรวจ แพทย์-พยาบาล พ่อครัวชั้นยอด ทนาย ช่าง นักดนตรี และอื่นๆ อีกมากมาย
สิ่งที่บริษัท Blueseed กำลังทำอยู่ นับว่าเป็นปฐมบทของแนวโน้มใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นในโลกครับ แนวโน้มที่ว่านี้ก็คือ ประเทศลอยน้ำ (Floating Nations หรือ Floating Countries) ซึ่งเป็นแนวคิดในการสร้างประเทศลอยน้ำได้ขึ้นมาในทะเลหรือมหาสมุทรที่เป็นน่านน้ำสากล ประเทศขนาดจิ๋ว (Micronation) แบบนี้สามารถกำหนดกฎหมายของตัวเองได้ สามารถที่จะคัดเลือกประชากรของประเทศตัวเองได้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะเลือกคนที่มีอันจะกิน กับ คนฉลาดๆ ที่สามารถจะเข้ามาพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศตัวเองได้ ในอนาคตเราจะเริ่มเห็นเมืองหรือประเทศลอยน้ำแบบ Blueseed นี้ลอยเป็นดอกเห็ด ตามชายฝั่งประเทศต่างๆ ทั่วโลก
แน่นอนว่า ถึงแม้ประเทศลอยน้ำนี้จะลอยไปอยู่ที่ไหนในโลกก็ได้ที่เป็นน่านน้ำสากล แต่ในความเป็นจริง ประชากรของประเทศลอยน้ำมักจะมีความผูกพันกับประเทศที่เป็นถิ่นกำเนิด (Host Nation) ซึ่งเป็นประเทศที่มันอยากลอยอยู่ใกล้ๆ เพราะอย่างไรเสีย ประเทศลอยน้ำนี้ก็ยังต้องพึ่งพาอาศัยทรัพยากรหลายๆ อย่างจากประเทศถิ่นกำเนิด โดยจะตอบแทนกลับคืนในแง่ของมูลค่าทางเศรษฐกิจต่างๆ เช่นเดียวกับที่ Blueseed ส่งกลับคืนในรูปของผลงานนวัตกรรมต่างๆ แก่ประเทศสหรัฐอเมริกา
ดังนั้นประเทศลอยน้ำที่เกิดใหม่จะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
(1) ความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศแม่ (Host Nation)
(2) การมีผลประโยชน์ร่วมกันกับชุมชนแนวชายฝั่งที่ประเทศลอยน้ำไปลอยอยู่ใกล้ๆ เช่น การเป็นแหล่งท่องเที่ยว การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
(3) ความสามารถทางเศรษฐกิจ ประเทศลอยน้ำนี้มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสูง จึงต้องสามารถสร้างรายได้มาชดเชยรายจ่ายทางด้านนี้
(4) ศีลธรรม ประเทศลอยน้ำจะอยู่ไม่ได้ถ้าเป็นแหล่งรวมคนที่ขาดศีลธรรม ประเทศลอยน้ำจึงต้องมีความเข้มงวดต่อกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอบายมุข หรือ ผิดกฏหมายสากล เช่น การหนีภาษี การค้ามนุษย์ ซ่องโจร เป็นต้น
(5) มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อธุรกิจ ไม่มีกฎหมายจุกจิก
(6) ลอยไปหาที่อยู่ใหม่ได้เมื่อถึงเวลา เช่น เมื่อเกิดปัญหากับประเทศที่ไปลอยอยู่ใกล้ๆ เป็นต้น
อีกไม่นานหรอกครับ เราคงจะได้ยินข่าวว่ามีคนไทยคนหนึ่งไปสร้างประเทศใหม่ เพราะกลับเข้าประเทศไทยไม่ได้ และเมื่อถึงวันนั้น ประเทศลอยน้ำอันนี้อาจมาลอยอยู่แถวปากอ่าวไทยก็ได้ .....
ป้ายกำกับ:
climate change,
climate engineering,
crisis,
Economy,
geoengineering,
new paradigm,
water
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ได้ความรู้มากครับนำมาลงเยอะๆน่ะครับ
ตอบลบขอบคุณครับผม
ตอบลบ