ห้องปฏิบัติการจิ๋วหรือ LOC นี้สามารถนำไปใช้แทนที่ห้องปฏิบัติการจริงในหลายๆ ด้าน ซึ่งก็จะทำให้การตรวจวินิจฉัยต่างทำได้รวดเร็วขึ้น เช่น โรคฉี่หนู มาลาเรีย ไข้เลือดออก ไข้หวัดนก สามารถตรวจสอบได้ในพื้นที่เลย ไม่ต้องมีการเคลื่อนย้ายตัวอย่างโรคออกมา หน่วยทหารของสหรัฐอเมริกาได้เริ่มนำห้องปฏิบัติการจิ๋วไปใช้ในสนามรบ ทำให้ลดความเสี่ยงของหน่วยแพทย์ไม่ต้องไปอยู่ใกล้แนวข้าศึกมากเกินไป องค์การนาซาก็เริ่มมีการพัฒนาเพื่อนำไปใช้ในกิจการอวกาศ เพราะสะดวกสามารถนำห้องปฏิบัติการไปอยู่ในอวกาศได้หลายๆห้อง ไม่ต้องกังวลเรื่องพื้นที่และน้ำหนักบรรทุก
ถามว่าในเมืองไทยเริ่มมีคนทำเรื่องนี้ไหม คำตอบคือก็พอมีบ้างคือที่ ห้องปฏิบัติการนาโนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องกลจุลภาค หรือ MEMS Lab ของศูนย์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) จริงๆ แล้วห้องปฏิบัติการบนชิพนี่จะใช้โครงสร้างพื้นฐานเดียวกันกับไมโครชิพ นั่นคือแทนที่ลายวงจรของไมโครชิพซึ่งเป็นที่วิ่งของกระแสไฟฟ้า ก็กลายมาเป็นลู่วิ่งของๆ เหลว พวกอุปกรณ์เช่นตัวต้านทาน ไดโอด ทรานซิสเตอร์ ที่อยู่บนไมโครชิพ ก็เปลี่ยนมาเป็นปั๊ม คอลัมน์แยก ถังบรรจุสาร คอนเทนเนอร์สำหรับทำปฏิกริยา เป็นต้น บางคนก็จะเรียกเทคโนโลยีนี้ว่า Micro Total Analysis System หรือ u-TAS ดังนั้นผู้ที่สามารถจะทำงานวิจัยในเรื่องนี้ได้จึงกลายเป็นวิศวกรไฟฟ้าที่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการประกอบชิพ ซึ่งก็ต้องทำงานร่วมกับนักเคมีและนักชีววิทยาโมเลกุลหรือนักเทคนิคการแพทย์ในการชิพไปใช้ประโยชน์ เจ้าห้องปฏิบัติการจิ๋วนี้ นอกจากมันจะมีประโยชน์ในตัวมันเองแล้ว หากมีการนำมันไปบูรณาการกับเทคโนโลยีก่อกำเนิดตัวอื่นๆที่กล่าวมาแล้ว เช่น เซ็นเซอร์ใยแมงมุม หรือ หุ่นยนต์จิ๋ว ก็จะเป็นการเพิ่มสมรรถนะของอุปกรณ์เหล่านั้นขึ้นไปอีก โดยผู้ที่จะถูกตรวจไม่จำเป็นต้องเคลื่อนที่มาที่โรงพยาบาล การเข้ามาของเทคโนโลยี LOC ทำให้ในอนาคต การตรวจวินิจฉัยโรคจะเขยิบออกจากโรงพยาบาลไปสู่ที่ๆ โรคนั้น หรือ คนเป็นโรคนั้น หรือ สิ่งมีชีวิตอื่นๆที่เป็นโรคนั้นใช้ชีวิตอยู่ หรือที่เรียกว่า Point of Care นั่นเอง เทคโนโลยี LOC จึงมีส่วนช่วยให้ Personal Medicine หรือ การแพทย์ส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่ใกล้ความเป็นจริงขึ้นทุกทีๆ ความสำคัญของแพทย์ในอนาคตจะค่อยๆ ลดลงมาสู่ Intelligent Systems แทน ในอนาคตนักชีววิทยาเชิงโมเลกุล หรือ Molecular Biologist จะเข้ามาแบ่งตลาดสุขภาพจากคุณหมอไปแล้วล่ะครับ .......
ถามว่าในเมืองไทยเริ่มมีคนทำเรื่องนี้ไหม คำตอบคือก็พอมีบ้างคือที่ ห้องปฏิบัติการนาโนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องกลจุลภาค หรือ MEMS Lab ของศูนย์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) จริงๆ แล้วห้องปฏิบัติการบนชิพนี่จะใช้โครงสร้างพื้นฐานเดียวกันกับไมโครชิพ นั่นคือแทนที่ลายวงจรของไมโครชิพซึ่งเป็นที่วิ่งของกระแสไฟฟ้า ก็กลายมาเป็นลู่วิ่งของๆ เหลว พวกอุปกรณ์เช่นตัวต้านทาน ไดโอด ทรานซิสเตอร์ ที่อยู่บนไมโครชิพ ก็เปลี่ยนมาเป็นปั๊ม คอลัมน์แยก ถังบรรจุสาร คอนเทนเนอร์สำหรับทำปฏิกริยา เป็นต้น บางคนก็จะเรียกเทคโนโลยีนี้ว่า Micro Total Analysis System หรือ u-TAS ดังนั้นผู้ที่สามารถจะทำงานวิจัยในเรื่องนี้ได้จึงกลายเป็นวิศวกรไฟฟ้าที่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการประกอบชิพ ซึ่งก็ต้องทำงานร่วมกับนักเคมีและนักชีววิทยาโมเลกุลหรือนักเทคนิคการแพทย์ในการชิพไปใช้ประโยชน์ เจ้าห้องปฏิบัติการจิ๋วนี้ นอกจากมันจะมีประโยชน์ในตัวมันเองแล้ว หากมีการนำมันไปบูรณาการกับเทคโนโลยีก่อกำเนิดตัวอื่นๆที่กล่าวมาแล้ว เช่น เซ็นเซอร์ใยแมงมุม หรือ หุ่นยนต์จิ๋ว ก็จะเป็นการเพิ่มสมรรถนะของอุปกรณ์เหล่านั้นขึ้นไปอีก โดยผู้ที่จะถูกตรวจไม่จำเป็นต้องเคลื่อนที่มาที่โรงพยาบาล การเข้ามาของเทคโนโลยี LOC ทำให้ในอนาคต การตรวจวินิจฉัยโรคจะเขยิบออกจากโรงพยาบาลไปสู่ที่ๆ โรคนั้น หรือ คนเป็นโรคนั้น หรือ สิ่งมีชีวิตอื่นๆที่เป็นโรคนั้นใช้ชีวิตอยู่ หรือที่เรียกว่า Point of Care นั่นเอง เทคโนโลยี LOC จึงมีส่วนช่วยให้ Personal Medicine หรือ การแพทย์ส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่ใกล้ความเป็นจริงขึ้นทุกทีๆ ความสำคัญของแพทย์ในอนาคตจะค่อยๆ ลดลงมาสู่ Intelligent Systems แทน ในอนาคตนักชีววิทยาเชิงโมเลกุล หรือ Molecular Biologist จะเข้ามาแบ่งตลาดสุขภาพจากคุณหมอไปแล้วล่ะครับ .......