วิเคราะห์สถานภาพทางด้านนาโนศาสตร์ และ นาโนเทคโนโลยี ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับ ประเทศคู่แข่ง เพื่อช่วยผลักดันให้ประเทศไทย เป็น Nano Valley of ASEAN
07 เมษายน 2555
IEEE NANO 2012 - 12th International Conference on Nanotechnology
ในปีหนึ่งๆ นั้น มีงานประชุมวิชาการทางนาโนเทคโนโลยีไม่รู้กี่งาน แต่งานใหญ่ๆ ที่จัดมาตั้งแต่เรื่องของนาโนเทคโนโลยียังบูมใหม่ๆ และต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ และเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักนาโนเทคโนโลยีว่าถ้ามีโอกาสแล้วก็ต้องไปให้ได้คือ IEEE Nano ซึ่งปีนี้จัดเป็นครั้งที่ 12 แล้วครับ โดย IEEE NANO 2012 ปีนี้จะจัดที่ประเทศอังกฤษ ที่เมืองเบอร์มิงแฮม ระหว่างวันที่ 20-23 สิงหาคม พ.ศ. 2555 โดยมีกำหนดส่งบทคัดย่อภายในวันที่ 16 เมษายน 2555 ซึ่งจะตอบรับว่าผลงานผ่านมาตรฐานหรือไม่ในวันที่ 25 เมษายน โดยผู้ที่ได้รับการตอบรับว่าผ่านนั้น จะต้องส่งผลงานฉบับเต็มภายในวันที่ 20 มิถุนายน 2555 ครับ
สิ่งที่น่าสนใจของการประชุมนี้คือ องค์ปาฐกเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ปี 2010 ท่านเซอร์ คอนสแตนติน โนโวเซลอฟ (Sir Konstantin Novoselov) แห่งมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ (University of Manchester) ประเทศอังกฤษ ซึ่งโด่งดังในเรื่องของเตรียมโครงสร้างกราฟีนชั้นเดียว ซึ่งเป็นโครงสร้างนาโนที่มีความโดดเด่น และมีอนาคตสามารถนำไปใช้งานประยุกต์ได้มากมาย นอกจากนั้นยังมีผู้บรรยายพิเศษท่านอื่นที่น่าสนใจ เช่น Professor Zhong Lin Wang จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งจอร์เจีย (Geogia Institute of Technology) ซึ่งท่านมีชื่อเสียงในเรื่องของอุปกรณ์นาโนที่ใช้เปลี่ยนพลังงานกล ไปเป็นพลังงานไฟฟ้า เช่น การนำอุปกรณ์เหล่านี้มาบูรณาการใส่ในเสื้อผ้า รองเท้า เพื่อเปลี่ยนการเคลื่อนไหวต่างๆ ของร่างกายให้เป็นพลังงานไฟฟ้า สำหรับชาร์จอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่เป็นอุปกรณ์แบบสวมใส่ได้ (wearable devices)
หัวข้อที่เป็นที่สนใจของการประชุม IEEE NANO 2012 นั้นค่อนข้างกว้างมากครับ การประชุมแบบนี้ พักหลังๆ ผมก็ไม่ค่อยอยากไปแล้วครับ เพราะเนื้อหาบางทีก็กว้างเกินไปแบบน้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหลงเหลง ซึ่งผมชอบไปการประชุมประเภทเจาะลึกในเนื้อหาเชิงเทคนิคไปเลยเสียมากกว่า ทั้งที่เป็นในสาขาเดียวกับที่ผมทำ หรือข้ามสาขาไปก็ยิ่งดี จะได้รู้เรื่องที่คนอื่นๆ ทำมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่แสวงหาไอเดียจากคนอื่นๆ เพื่อนำมาต่อยอดงานวิจัยของตัวเอง การประชุมกว้างๆ นี้ก็มีประโยชน์มากๆ ครับ
Education
Energy: Photovoltaics, Storage
Environment health safety (EHS) and standards
Heat dissipation in nanocomputing
Industrial applications and commercialization
Nano/bio-medicine
Nanoelectronics: Devices - SETs, RTDs, QDs, Molecular etc
Nanoelectronics: Graphene, CNTs, Nanowires
Nanoelectronics: Nanocircuits, Architectures
Nanoelectronics: Reliability and Yield
Nanofabrication
Nanofluidics
Nanomagnetics
Nanomaterials: Nanomaterial/nanoparticles synthesis
Nanomaterials: Nanomaterials/nanoparticles, Characterization and Application
Nanometrology, Characterization
Nanopackaging
Nanophotonics and plasmonics
Nanorobotics, Nanomanufacturing
Nanosensors, Actuators
Quantum computing
Simulation and modelling of nanostructures and nanodevices
Spintronics
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น