03 พฤษภาคม 2556

IEEE Robio 2013 - International Conference on Robotics and Biomimetics




Biomimetic Engineering หรือ วิศวกรรมเลียนแบบธรรมชาติ เป็นศาสตร์ที่กำลังมาแรงแซงขวาขึ้นมาอยู่แถวหน้าของโลกวิศวกรรม อยู่ ณ ขณะนี้ Biomimetics อาจแบ่งออกได้เป็น 3 แนวทาง ได้แก่ 

(1) Mechanism-driven Biomimetics เป็นแนวทางที่ต้องการแก้ปัญหาทางวิศวกรรม โดยแสวงหาตัวอย่างในธรรมชาติ เข้าไปศึกษามันเพื่อให้เข้าใจ จากนั้นนำองค์ความรู้มาแก้โจทย์ที่ตั้งไว้แล้ว เช่น Self-cleaning Materials (Lotus Effect) ที่พยายามหาวัสดุที่ทำความสะอาดตัวเองได้เหมือนใบบัว

(2) Organism-Driven Biomimetics เป็นการศึกษาสิ่งมีชีวิตเพื่อเสาะหา สมบัติเด่นๆ ของมันสักอย่าง แล้วนำคุณสมบัตินั้นมาสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น ตีนตุ๊กแก

(3) Integrative Biomimetics เป็นแนวทางที่ผสมผสานแนวทางทั้งคู่ที่กล่าวมาข้างต้น เช่น การศึกษาการเคลื่อนที่ของแมลงสาบ เพื่อพัฒนาหุ่นยนต์ที่ สามารถเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีข้างเคียง เช่น เซ็นเซอร์ มอเตอร์จิ๋ว กล้ามเนื้อเทียม ก็สามารถพัฒนาไปพร้อมกันได้ด้วย

ศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมเลียนแบบธรรมชาติ (Biomimetic Engineering) ชีววิศวกรรมศาสตร์ (Bioengineering) และ หุ่นยนต์ศาสตร์ (Robotics) รวมไปถึงการหลอมรวมของศาสตร์เหล่านี้เข้าด้วยกัน ได้รับการคาดหมายว่าจะเข้าครอบครองหัวข้อวิจัยในทศวรรษนี้ (ค.ศ. 2010-2020) วันนี้ผมขอนำการประชุมทางวิชาการในศาสตร์แนวหน้าเหล่านี้ มาแนะนำ เผื่อมีใครสนใจจะไปเข้าร่วมนะครับ

การประชุม IEEE Robio 2013 - International Conference on Robotics and Biomimetics ในปีนี้จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-18 ธันวาคม 2556 ที่เมืองเสินเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีกำหนด Full Paper ในวันที่ 15 สิงหาคม 2556 ซึ่งนับว่ายังมีเวลาอีกสักระยะ สำหรับผู้ที่สนใจจะส่งผลงานเข้าร่วมประชุมนะครับ หัวข้อประชุมว่ามีอะไรบ้างยังไม่ประกาศในรายละเอียด  แต่โดยทั่วไป เนื้อหาก็จะเป็นเรื่องราวทั้งหลายเกี่ยวกับ Robotics และ Biomimetics รวมถึงหัวข้อที่เกิดจากการแต่งงานข้ามศาสตร์กัน ระหว่าง 2 สาขานี้ครับ ซึ่งภาพรวมที่เป็นที่สนใจ หรือ Theme ของการประชุมครั้งนี้คือ "Robots living with human being in modern society"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น