วิเคราะห์สถานภาพทางด้านนาโนศาสตร์ และ นาโนเทคโนโลยี ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับ ประเทศคู่แข่ง เพื่อช่วยผลักดันให้ประเทศไทย เป็น Nano Valley of ASEAN
04 สิงหาคม 2554
AROB2012 - The 17th International Symposium on Artificial Life and Robotics
อย่างที่ผมมักจะพูดเสมอครับว่า เรื่องของการบูรณาการระหว่างมนุษย์และจักรกล (Man-Machine Integration) และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างจิตใจกับวัสดุ (Mind-Materials Interaction) เป็นกระบวนทัศน์ใหม่ที่กำลังจะพัฒนาขึ้นมาจนอาจจะกลายเป็นกระแสหลักของโลกในศตวรรษที่ 21 นี้ ยิ่งในระยะหลังๆ เราจะเห็นมีการประชุมทางด้านวิชาการของศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเยอะมาก ปีหนึ่งมีการประชุมหลายๆ แห่งที่ใช้ keywords คล้ายๆ กัน ไม่ว่าจะเป็น HCI (Human-Computer Interactions), HRI (Human-Robot Interactions), BCI (Brain-Computer Interface), Neurocognitive Science, Biorobotics เป็นต้น
ในช่วงปีหน้า หรือปี 2012 แนวโน้มก็ยังเป็นเช่นนั้นครับ มีการประชุมทางด้านนี้มากมายที่จะเกิดขึ้นทั่วโลก วันนี้ผมขอนำการประชุมที่น่าสนใจหนึ่งมานำเสนอครับ นั่นคือ AROB2012 - The 17th International Symposium on Artificial Life and Robotics ซึ่งจะจัดขึ้นที่เมือง Beppu ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 19-21 มกราคม พ.ศ. 2555 โดยกำหนดส่งบทคัดย่อในวันที่ 1 กันยายน 2554 ที่ใกล้เข้ามานี้ หลังจากนั้นจะมีการตอบรับในวันที่ 15 กันยายน 2554 พร้อมกำหนดส่งบทความฉบับเต็มภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2554 ครับ .... ลองดูเนื้อหากันนะครับ ยังมีเวลา
หัวข้อที่เป็นที่สนใจของการประชุมนี้ก็มีดังนี้ครับ
Artificial brain research
Artificial intelligence
Artificial life
Artificial living
Artificial mind research
Bioinformatics
Bipedal robot
Brain science
Chaos
Cognitive science
Complexity
Computer graphics
Control techniques
Date mining
DNA computing
Evolutionary computations
Fuzzy control
Genetic algorithms
Human-machine cooperative systems
Human-welfare robotics
Image Processing
Intelligent control&modeling
Learning
Management of Technology
Medical surgical robot
Micromachines
Mobile vehicles
Molecular biology
Multi-agent systems
Nano-biology
Nano-robotics
Neurocomputing technologies
Neural networks and its application for hardware
Pattern recognition
Quantum computing
Resilient infrastructure systems
Robotics
Soccer robot
Virtual reality
Visualization
จะเห็นว่าหัวข้อค่อนข้างกว้าง แต่แนวโน้มของศาสตร์จะไปทางเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ไม่เคยอยู่ในสาขาหุ่นยนต์มาก่อน อย่างเช่น Nano-robotics, Nano-biology, Quantum Computing, Neurocomputing technologies, Molecular biology ซึ่งจะมีความเป็นชีววิทยาเพิ่มมากขึ้นกว่าแต่ก่อน จริงๆ แล้วในมุมมองจากชีววิทยานั้น หุ่นยนต์ก็มีแนวโน้มที่จะเหมือนสิ่งมีชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ และในที่สุดก็อาจจะกลายเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ในขณะที่หากมองจากมุมของหุ่นยนต์ศาสตร์ สิ่งมีชีวิตต่างๆ ก็ทำงานคล้ายๆ กับเป็นหุ่นยนต์ ลองสังเกตมดสิครับ มันเดินเรียงแถวกันไปหาอาหาร เดินกลับรัง เอาอาหารมาเก็บแล้วออกไปใหม่ มันใช้ชีวิตไม่ต่างอะไรจากหุ่นยนต์เลย ....
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น