วิเคราะห์สถานภาพทางด้านนาโนศาสตร์ และ นาโนเทคโนโลยี ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับ ประเทศคู่แข่ง เพื่อช่วยผลักดันให้ประเทศไทย เป็น Nano Valley of ASEAN
12 มีนาคม 2554
Intelligent Battlefield - เทคโนโลยีสนามรบอัจฉริยะ (ตอนที่ 8)
ในปี พ.ศ. 2308 กองทัพพม่าภายใต้การนำของเนเมียวสีหบดี ได้ยกทัพมาตั้งในเขตเมืองวิเศษชัยชาญ (จ. อ่างทอง ในปัจจุบัน) เพื่อรวบรวมอาหารและไพร่พลเตรียมเข้าตีกรุงศรีอยุธยา ระหว่างนั้น นายจันหนวดเขี้ยว นายโชติ นายดอก นายทองแก้ว นายทองเหม็น นายทองแสงใหญ่ นายแท่น นายเมือง พันเรือง ขุนสรรค์ และนายอิน ได้เป็นหัวหน้ารวบรวมชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงตั้งค่ายต่อสู้พม่าที่บ้านบางระจัน โดยมีพระอาจารย์ธรรมโชติเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิทยาคมบำรุงขวัญเหล่านักรบ ชาวบ้านบางระจันได้ทำทุกวิถีทางในการต่อต้านพม่า จนได้ชัยชนะในการรบถึง 7 ครั้ง แม้ในที่สุดค่ายบางระจันจะถูกตีแตกเพราะมีกำลังรบน้อยกว่าฝ่ายศัตรูมาก แต่การต่อต้านของชาวบางระจัน ก็เป็นส่วนหนึ่งของแรงบันดาลใจในการกู้ชาติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในเวลาต่อมา
ในช่วงเวลาระหว่างรบ ชาวบ้านบางระจันได้เปลี่ยนบริเวณค่ายบางระจัน ให้เป็นพื้นที่ผลิตกรรม (Manufacturing) ไม่ว่าจะเป็นการปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ ตีเหล็ก การผลิตยุทโธปกรณ์ต่างๆ ไปจนถึงการหล่อปืนใหญ่ ก็กระทำกันในที่รบทั้งสิ้น ทำให้ชาวบ้านบางระจันสามารถยืนหยัดต่อสู้กับทัพพม่าที่มีกำลังมากกว่าได้ การสร้างผลิตกรรมต่างๆ ในสมรภูมิรบทำให้ชาวบ้านบางระจันสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้ ว่าตอนนี้ต้องการอะไร เพื่อใช้ทำอะไร ค่ายบางระจันจึงสามารถปรับเปลี่ยนยุทธวิธีได้ตลอดเวลา ตามความจำเป็น ซึ่งมีผลทำให้ได้รับชัยชนะเหนือทัพพม่าถึง 7 ครั้ง
เมื่อประมาณสัปดาห์ที่แล้ว ราชนาวีสหรัฐฯ ได้ประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการทหาร ซึ่งได้ประกาศหัวข้อที่กองทัพสนใจออกมาจำนวนกว่า 39 หัวข้อ เช่น การพัฒนาเรดาห์ขนาดเล็ก แบตเตอรีแบบฟิล์มบาง ระบบเซ็นเซอร์ใต้น้ำ เทคโนโลยีไมโครกริด (ระบบนำส่งกระแสไฟฟ้าสำหรับสนามรบ) เป็นต้น แต่ที่ผมอยากนำมากล่าวในวันนี้เป็นหัวข้อหนึ่งที่น่าสนใจมากๆ และอาจจะทำให้รูปแบบการรบในอนาคตเปลี่ยนไป หัวข้อนั้นมีชื่อว่า Desktop Manufacturing with Micro-robot Swarm ซึ่งจะเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้สนามรบสามารถผลิตสิ่งของเพื่อใช้ในการสู้รบ ในระหว่างการรบได้ ซึ่งเป็นยุทธวิธีที่ชาวบ้านบางระจันเคยใช้ในการยุทธ์อย่างประสบความสำเร็จเมื่อ 200 กว่าปีที่แล้ว
ประกาศเปิดรับข้อเสนอโครงการหัวข้อนี้ มีเนื้อหาว่าต้องการให้คณะวิจัยทำการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตวัสดุหรืออุปกรณ์ต่างๆ โดยการใช้หุ่นยนต์ขนาดเล็กๆ ที่สามารถทำงานเป็นฝูง เพื่อสังเคราะห์วัสดุ สร้างชิ้นส่วนต่างๆ และประกอบชิ้นส่วนต่างๆ เหล่านั้นขึ้นเป็นอุปกรณ์ที่ซับซ้อนมากขึ้น โดยหุ่นยนต์เล็กๆ เหล่านั้นแต่ละตัวอาจจะทำงานง่ายๆ ไม่ต้องฉลาดมากนัก แต่สามารถทำงานประสานงานกันเป็นทีมขนาดใหญ่ได้ จนสามารถที่จะทำงานที่ซับซ้อนมากๆ ได้ โดยระบบผลิตนี้ จะมีขนาดไม่ใหญ่โตอะไรนัก สามารถบรรจุระบบทั้งหมดลงบนโต๊ะได้ หรือที่เรารู้จักกันในนามของ Desktop Manufacturing นั่นเองครับ
ตอนนี้หัวข้อ Desktop Manufacturing กำลังเป็นที่สนใจในวงการเทคโนโลยีทั่วโลก และเทคโนโลยีหนึ่งที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญ และถือว่าเป็นเทคโนโลยีก่อกำเนิดของระบบผลิตแบบตั้งโต๊ะนี้ก็คือ Printed Electronics หรือ Printed Manufacturing ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการผลิตสิ่งของด้วยการใช้วิธีการพิมพ์ ซึ่งผมมักจะกล่าวถึงอยู่บ่อยๆ ในบล็อกนี้นั่นเองครับ .....
ป้ายกำกับ:
intelligent battlefield,
military,
printed electronics,
swarm intelligence
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
อาจารย์นอยค่ะ
ตอบลบเริ่มจะติดใจบทควาทของอาจารย์แล้วค่ะ อ่านแล้วได้ความรู้และรู้สึกสนุกค่ะ
ต้องอ่านบ่อยๆแล้วเนี่ย
ขอบคุณค่ะ
ขอบคุณที่ติดตามนะครับ
ตอบลบWEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB
ตอบลบWEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB WEB
ตอบลบ