วิธีการสร้างฟิล์มบางของโมเลกุลอินทรีย์ขนาดเล็กบนแผ่นพลาสติกที่ดีที่สุดคือ การเคลือบด้วยไอระเหย (vapor deposition) โดยการให้ความร้อนแก่สารประกอบเกิดเป็นไอระเหยและลอยไปเคลือบบนแผ่นฐาน (substrate) ที่เป็นพลาสติกในสภาวะสูญญากาศ ซึ่งเทคนิคการเคลือบแบบนี้เป็นวิธีการเดียวกันกับการเคลือบถุงขนมคบเคี้ยวเพื่อป้องกันการแพร่ผ่านของออกซิเจนเข้ามาภายใน นอกจากนี้ยังมีเทคนิคอื่นๆ อีก เช่น การ spin coating โดยการหยดสารเคมีที่เป็นของเหลวลงบนจานหมุนและอาศัยแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ทำให้สารเคมีแผ่ออกเป็นฟิล์มบางและสามารถนำไปทำขั้นตอนอื่นต่อไป แต่ปัญหาหนึ่งที่พบในปัจจุบันคือ การขาดแคลนตัวทำละลายของสารอินทรีย์ที่ใช้งานง่าย เช่น polyethylenedioxythiophene หรือเรียกอย่างย่อว่า PEDOT จะละลายในตัวทำละลายที่เป็นกรดจึงทำให้เกิดปัญหาการกัดกร่อนเมื่อนำไปใช้งานจริง จึงมีการค้นคว้าวิจัยหา PEDOT แบบใหม่ที่สามารถละลายในตัวทำลายที่ไม่กัดกร่อน นอกจากนี้ยังสามารถเกิด cross-link กลายเป็นสภาวะแข็งตัวได้เมื่อโดนฉายด้วยแสง ultraviolet หรือ UV ทำให้เหมาะกับการสร้างลวดลายบนพลาสติกด้วยเทคนิคการฉายด้วยแสง (photolithography) แบบเดียวกันกับที่ใช้ในการสร้างชิปด้วยซิลิคอน
นอกจากนี้มันยังสามารถใช้เทคนิคการพิมพ์ด้วยหมึกแบบ inkjet คล้ายกับการพิมพ์ภาพทั่วไปแต่แทนที่จะพ่นหมึกสีลงบนกระดาษ แต่กลับกลายเป็นโพลิเมอร์นำไฟฟ้าจะถูกพ่นลงบนแผ่นพลาสติก วิธีการนี้ทำให้เราสามารถผลิตวงจรอิเล็กทรอนิกส์และผลิตอุปกรณ์ได้ในราคาถูกมาก หลายบริษัทต่างพยายามที่จะใช้วิธีการนี้ในการสร้างวงจร เช่น Palo Alto Research Center (PARC) ได้ประสบความสำเร็จในการแสดงสาธิตวงจรทรานซิสเตอร์แบบพลาสติกที่สร้างด้วยเทคนิคการพิมพ์แบบ inkjet สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก ถึงแม้ว่ามันจะมีขนาดที่ใหญ่กว่าทรานซิสเตอร์แบบซิลิคอนและทำงานช้ากว่ามาก แต่กินไฟน้อยกว่ามาก ปัจจุบันบริษัท Dow, Motorola และ Xerox ได้ร่วมมือกันพัฒนาหมึกโพลิเมอร์และการผลิตวงจรด้วยการพิมพ์ เช่นเดียวกันกับบริษัท Dupont และ Lucent Technologies ก็มุ่งพัฒนาในทิศทางเดียวกัน ในปี ค.ศ. 2003 บริษัท Plastic Logic ได้สาธิตจอภาพแสดงผลแบบ matrix ที่สร้างด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์แบบพลาสติกสำเร็จเป็นแห่งแรกของโลก ซึ่งมีขนาดเพียง 63x48 จุด และมีการพัฒนาให้มีขนาดใหญ่มากขึ้นและใช้พลาสติกเป็นแผ่นฐานรองเพื่อพัฒนาเป็นจอภาพแบบโค้งงอได้ต่อไป
นอกจากนี้มันยังสามารถใช้เทคนิคการพิมพ์ด้วยหมึกแบบ inkjet คล้ายกับการพิมพ์ภาพทั่วไปแต่แทนที่จะพ่นหมึกสีลงบนกระดาษ แต่กลับกลายเป็นโพลิเมอร์นำไฟฟ้าจะถูกพ่นลงบนแผ่นพลาสติก วิธีการนี้ทำให้เราสามารถผลิตวงจรอิเล็กทรอนิกส์และผลิตอุปกรณ์ได้ในราคาถูกมาก หลายบริษัทต่างพยายามที่จะใช้วิธีการนี้ในการสร้างวงจร เช่น Palo Alto Research Center (PARC) ได้ประสบความสำเร็จในการแสดงสาธิตวงจรทรานซิสเตอร์แบบพลาสติกที่สร้างด้วยเทคนิคการพิมพ์แบบ inkjet สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก ถึงแม้ว่ามันจะมีขนาดที่ใหญ่กว่าทรานซิสเตอร์แบบซิลิคอนและทำงานช้ากว่ามาก แต่กินไฟน้อยกว่ามาก ปัจจุบันบริษัท Dow, Motorola และ Xerox ได้ร่วมมือกันพัฒนาหมึกโพลิเมอร์และการผลิตวงจรด้วยการพิมพ์ เช่นเดียวกันกับบริษัท Dupont และ Lucent Technologies ก็มุ่งพัฒนาในทิศทางเดียวกัน ในปี ค.ศ. 2003 บริษัท Plastic Logic ได้สาธิตจอภาพแสดงผลแบบ matrix ที่สร้างด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์แบบพลาสติกสำเร็จเป็นแห่งแรกของโลก ซึ่งมีขนาดเพียง 63x48 จุด และมีการพัฒนาให้มีขนาดใหญ่มากขึ้นและใช้พลาสติกเป็นแผ่นฐานรองเพื่อพัฒนาเป็นจอภาพแบบโค้งงอได้ต่อไป