ในระยะเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมานั้น ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ที่ถือว่าได้เปลี่ยน Landscape ของวงการวิจัยไทยไปตลอดกาล นั่นก็คือ การที่แหล่งทุนต่างๆ ได้หันมาให้ความสำคัญต่องานวิจัยที่ให้ผลผลิตที่จับต้องได้ หรือ เน้น Applications มากขึ้น แม้แต่ สกว. เองก็ไม่อาจต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ จะว่าไปแล้วปรากฏการณ์นี้ไม่ได้เกิดแต่ที่บ้านเราเท่านั้น แม้แต่ประเทศยักษ์ใหญ่ อย่าง สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ก็ล้วนได้รับผลกระทบนี้ ในประเทศอังกฤษเองก็มีการเปลี่ยนแปลงระบบให้ทุนครั้งใหญ่ที่หันมาเน้นผลผลิตจากการวิจัยที่มีผลกระทบสูง
ถึงแม้การเปลี่ยนแปลงในการให้ทุนจะค่อนข้างรุนแรง แต่ก็เกิดอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้นักวิจัยไทยได้มีการปรับตัวมาสักระยะหนึ่งแล้ว เราจะเห็นได้ว่า งานวิจัยพื้นฐานในระยะหลังๆ นอกจากจะมีการผลิตผลงานตีพิมพ์ระดับสากล ยังมีแถมสิทธิบัตรหรือต้นแบบผลิตภัณฑ์ หรือ องค์ความรู้กึ่งสำเร็จรูปที่สามารถนำไปใช้ได้ดีในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามแหล่งทุนวิจัยในระยะ 2 ปีหลังนี้กลับเพิ่มดีกรีของตัวชี้วัดผลผลิตขึ้นไปอีก กล่าวคือ เริ่มผลักดันให้งานวิจัยโยงเข้าหาผู้ใช้ที่เป็นอุตสาหกรรม โดยนำโจทย์ของอุตสาหกรรมมาคิดตั้งแต่ช่วงวิจัยเลย ไม่ใช่วิจัยเสร็จแล้วค่อยนำผลผลิตไปหาผู้ใช้เหมือนแต่ก่อน ทำให้นักวิจัยต้องหาคู่ที่เป็นอุตสาหกรรมในการทำงานวิจัย
เมื่อประเมินสถานการณ์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ นาโนเทคโนโลยี ในปี ค.ศ. 2008 นี้ จะพบว่าทางภาคอุตสาหกรรมไทยกำลังรีบเร่งปรับศักยภาพเพื่อให้ สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ เพราะขณะนี้วัสดุของต่างประเทศที่นำมาใช้ในการภาคการผลิตของไทย เริ่มมีลักษณะเป็นวัสดุผสมที่ใช้นาโนวัสดุมากขึ้น มูลค่าของวัสดุเหล่านั้นล้วนสูงขึ้น ผู้ประกอบการไทยจึงมีความคิดที่จะหานาโนวัสดุที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันหรือดีกว่า ที่สามารถผลิตได้เองในประเทศโดยนักวิจัยไทย เพื่อมาแทนที่ของต่างประเทศ ช่วงหลังๆ นี้พบว่าบริษัทไทยที่มีขนาดอยู่ในระดับ SME ซึ่งส่วนใหญ่รันโดยผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มีหัวก้าวหน้า มีความตระหนักในเรื่องของนวัตกรรมสูงมาก อุตสาหกรรมนาโนวัสดุของไทยจึงเป็นอุตสาหกรรมที่เห็นคุณค่าของการวิจัยและพัฒนา ดังนั้นโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมนาโนวัสดุของไทยให้เป็นที่หนึ่งในย่านนี้จึงมีค่อนข้างสูง เพราะจำนวนนักวิจัยทางด้านนาโนเทคโนโลยีของไทย ทำงานในสาขานาโนวัสดุอยู่ถึง 70% เลยทีเดียว ปี 2008 นี้จึงน่าจะเป็นปีทองของไทย ที่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับนาโนเทคโนโลยีจะถึงเวลา Take Off เสียที
ถึงแม้การเปลี่ยนแปลงในการให้ทุนจะค่อนข้างรุนแรง แต่ก็เกิดอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้นักวิจัยไทยได้มีการปรับตัวมาสักระยะหนึ่งแล้ว เราจะเห็นได้ว่า งานวิจัยพื้นฐานในระยะหลังๆ นอกจากจะมีการผลิตผลงานตีพิมพ์ระดับสากล ยังมีแถมสิทธิบัตรหรือต้นแบบผลิตภัณฑ์ หรือ องค์ความรู้กึ่งสำเร็จรูปที่สามารถนำไปใช้ได้ดีในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามแหล่งทุนวิจัยในระยะ 2 ปีหลังนี้กลับเพิ่มดีกรีของตัวชี้วัดผลผลิตขึ้นไปอีก กล่าวคือ เริ่มผลักดันให้งานวิจัยโยงเข้าหาผู้ใช้ที่เป็นอุตสาหกรรม โดยนำโจทย์ของอุตสาหกรรมมาคิดตั้งแต่ช่วงวิจัยเลย ไม่ใช่วิจัยเสร็จแล้วค่อยนำผลผลิตไปหาผู้ใช้เหมือนแต่ก่อน ทำให้นักวิจัยต้องหาคู่ที่เป็นอุตสาหกรรมในการทำงานวิจัย
เมื่อประเมินสถานการณ์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ นาโนเทคโนโลยี ในปี ค.ศ. 2008 นี้ จะพบว่าทางภาคอุตสาหกรรมไทยกำลังรีบเร่งปรับศักยภาพเพื่อให้ สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ เพราะขณะนี้วัสดุของต่างประเทศที่นำมาใช้ในการภาคการผลิตของไทย เริ่มมีลักษณะเป็นวัสดุผสมที่ใช้นาโนวัสดุมากขึ้น มูลค่าของวัสดุเหล่านั้นล้วนสูงขึ้น ผู้ประกอบการไทยจึงมีความคิดที่จะหานาโนวัสดุที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันหรือดีกว่า ที่สามารถผลิตได้เองในประเทศโดยนักวิจัยไทย เพื่อมาแทนที่ของต่างประเทศ ช่วงหลังๆ นี้พบว่าบริษัทไทยที่มีขนาดอยู่ในระดับ SME ซึ่งส่วนใหญ่รันโดยผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มีหัวก้าวหน้า มีความตระหนักในเรื่องของนวัตกรรมสูงมาก อุตสาหกรรมนาโนวัสดุของไทยจึงเป็นอุตสาหกรรมที่เห็นคุณค่าของการวิจัยและพัฒนา ดังนั้นโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมนาโนวัสดุของไทยให้เป็นที่หนึ่งในย่านนี้จึงมีค่อนข้างสูง เพราะจำนวนนักวิจัยทางด้านนาโนเทคโนโลยีของไทย ทำงานในสาขานาโนวัสดุอยู่ถึง 70% เลยทีเดียว ปี 2008 นี้จึงน่าจะเป็นปีทองของไทย ที่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับนาโนเทคโนโลยีจะถึงเวลา Take Off เสียที